Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นพ.ยง ตอบ 10 คำถามโควิดสายพันธุ์ใหม่‘โอไมครอน’

เนื้อหาโดย เล่าสู่กันฟัง

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาเกี่ยวกับ โควิด 19 สายพันธุ์ใหม่โอไมครอน (Omicron) ดังนี้...

 

ขณะนี้ทั่วโลกให้ความสนใจมากกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน ทั้งนี้เพราะการกลายพันธุ์เฉพาะในส่วนหนามแหลม สามารถเก็บจาก การกลายพันธุ์ที่เกิดในสายพันธุ์แอลฟา เบต้า และเดลต้า มาแล้ว ยังเพิ่มตำแหน่งการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 30 ตำแหน่ง  

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องตอบคำถามขณะนี้คือ

 

1.ไวรัสนี้ติดง่ายแพร่กระจายง่ายหรือไม่

จากการดูพันธุกรรมไวรัสนี้ พัฒนาเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า ที่แพร่กระจายง่ายอยู่แล้ว อย่างน้อยการแพร่กระจายของโรค ก็ไม่น่าจะน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า

 

2.ความรุนแรงของโรคโควิด 19 

จากข้อมูล ที่ได้มาจากแอฟริกาใต้เบื้องต้น ในหลายครอบครัว พบว่าสายพันธุ์นี้มีอาการไม่มาก ทั้งในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้วและไม่ได้รับวัคซีน โดยธรรมชาติของไวรัสที่แพร่กระจายง่าย ไวรัสเองก็ต้องการมีชีวิตอยู่ยาวนาน หรือแพร่พันธุ์ได้ยาวนาน ในการศึกษาในอดีตสำหรับไวรัสตัวอื่น ที่มีการถ่ายทอดลูกหลานมายาวนาน หรือการเพาะเลี้ยงจากรุ่นต่อรุ่นไปยาวๆ จะพบว่าความรุนแรงจะลดน้อยลง ในอดีตการทำวัคซีนจึงใช้วิธีการเพราะเลี้ยงไปเรื่อยๆ 30-40 ครั้ง ก็จะได้ไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ลง แล้วเอามาทำวัคซีนเช่นการทำวัคซีนโปลิโอชนิดเชื้อเป็น

 

อย่างไรก็ตามสำหรับไวรัสตัวนี้ยังใหม่เกินไป ที่จะบอกว่า อาการของโรคลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้น จะต้องดูจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ผลการรักษา อัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ เช่นสายพันธุ์ เดลต้า

 

3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจหาพันธุกรรมในการวินิจฉัยที่เรียกว่า RT-PCR ยังใช้ได้ดีอยู่หรือไม่

 

แต่จากการที่ได้พิจารณาตามรหัสพันธุกรรม อย่างน้อยการตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จะใช้ N gene อย่างน้อย 1 ยีนส์ ในตำแหน่งของ N gene เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างคงที่ ไม่มีผลกับการตรวจ แต่อาจจะมีผลต่อการตรวจในยีน RdRp ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ใช้กันอยู่

ที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์ ที่ทำอยู่ขณะนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบ ตามรหัสพันธุกรรม ก็พบว่ายังสามารถใช้ได้ดี ส่วนของบริษัทต่างๆ ก็คงต้องมีการตรวจสอบโดยเฉพาะในส่วนของยีนอื่นที่ไม่ใช่ N ยีนส์

 

4.การศึกษาตำแหน่งพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงบนหนามแหลม

มีความน่าสนใจมาก ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น สิ่งที่จะต้องศึกษาอย่างยิ่งก็คือจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดที่ใช้สไปรท์เพียงตัวเดียวลดลงหรือไม่ เช่นไวรัส Vector และ mRNA การตอบสนองต่อ T และ B เซลล์เป็นอย่างไร ต้องมีการศึกษาอย่างเร่งด่วน

 

5.การเตรียมตัวในการพัฒนา ทั้งวัคซีน และ การรักษา

แต่เดิมคิดว่าวัคซีนในเจนเนอเรชั่นที่ 2 จะต้องเป็นสายพันธุ์ Beta แต่ต่อมากลับพบว่าสายพันธุ์เบต้าสู้สายพันธุ์ Delta ที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วไม่ได้เลย

 

สายพันธุ์เดลต้าหลบหลีกภูมิต้านทานที่ใช้อยู่เดิมที่เป็นสายพันธุ์อู่ฮั่นไม่มาก ดังนั้นวัคซีนที่ใช้อยู่จึงสามารถที่จะใช้ได้กับสายพันธุ์เดลต้า วัคซีนไม่มีการคิดที่จะเปลี่ยนสายพันธุ์ แต่ขณะนี้เมื่อเป็นสายพันธุ์ omicron คงต้องรอการศึกษา รวมทั้งประสิทธิภาพของ monoclonal antibodies ที่วางจำหน่ายแล้ว และยาที่วางแผนในการรักษา

 

6.การสื่อสารทางด้านสังคม

ขณะนี้มีการตื่นตัวกันอย่างมาก ดังนั้นข้อมูลที่ให้กับประชาชนทั่วไป จะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส ใช้ความจริง เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึก ในการแพร่กระจายข่าวออกไป ในบางครั้งมีผลกระทบทางจิตใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข่าวที่ไม่เป็นความจริง และการ bully ในสังคม ไม่ได้ช่วยอะไรเลยต่อภาพรวม

 

7.การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และการถอดรหัสพันธุกรรม

ในภาวะเช่นนี้เราต้องการเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และการทดลองมาตอบคำถามทั้งหมด การถอดรหัสพันธุกรรมจะต้องดำเนินการต่อไปและเพิ่มจำนวนขึ้น ให้ได้เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง สำหรับประเทศไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน เกือบ 2 ปีมีการถอดรหัสพันธุกรรมไปทั้งตัว ประมาณ 6,000 ตัว ถือว่าไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยถึง 2 ล้านคน ขณะนี้การถอดรหัสพันธุกรรมหลัก จะอยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์ที่ทำได้เป็นจำนวนมาก ในสถาบันโรงเรียนแพทย์เป็นส่วนเสริม สำหรับที่ศูนย์ จะถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวเพียงเดือนละ 30 ตัว และถอดส่วนของสไปรท์ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การพัฒนาการตรวจจำเพาะหาสายพันธุ์เลยซึ่งทำได้เร็วมาก ก็ได้พัฒนามาโดยตลอด การตรวจหาสายพันธุ์สามารถทำได้ตั้งแต่ตรวจหาจำเพาะ ตรวจหาตำแหน่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม กับการถอดรหัสทั้งตัว ที่ศูนย์ทำมาตลอดในการเฝ้าระวังในประเทศไทย

 

8.สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นถ้าหลบหลีกภูมิต้านทาน

ก็จะทำให้ลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง แต่ไม่ใช่ว่าวัคซีนจะไม่ได้ประสิทธิภาพเลย เช่นวัคซีนเคยได้ประสิทธิภาพ 90% สายพันธุ์ใหม่อาจจะลดลงมาเหลือ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการฉีดวัคซีนก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องทำ ให้ได้มากที่สุด และทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการป่วยและเสียชีวิต เพราะเรารู้อยู่แล้วว่า ไวรัสนี้ไม่หมดไปอย่างแน่นอน ถ้าทุกคนมีภูมิต้านทาน ถึงแม้จะเป็นบางส่วนก็จะลดความรุนแรงของโรคลง ลดการป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิต จะทำให้มองดูว่าการติดเชื้อนี้เหมือนกับโรคทางเดินหายใจทั่วไป

 

9.การเฝ้าระวังด้วยการเดินทาง

ที่ผ่านมาเรารู้อยู่แล้วว่าถ้าเดินทางทางอากาศเรามีมาตรการในการดูแลอย่างดี ในอดีตไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ G หรือสายพันธุ์อังกฤษสายพันธุ์เดลต้า เข้าสู่ประเทศไทยด้วยการเดินเข้ามาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเดินมาทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งตะวันออกของประเทศไทย หรืออาจจะว่ายน้ำมาก็ได้ ส่วนใหญ่จะไม่บินมา เพราะเรามีมาตรการที่เข้มงวดอยู่แล้ว

 

10.ในภาวะที่มีโรคระบาดทุกคนจะต้องช่วยกัน

ทุกคนจะต้องมีระเบียบวินัย เคารพในกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขวางกฎเกณฑ์ไว้ รวมทั้งปฏิบัติตาม และสุขอนามัยจะต้องเข้มงวดเช่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่างยังคงต้องยึดอย่างเคร่งครัด

เนื้อหาโดย: ข่าววันนี้
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เล่าสู่กันฟัง's profile


โพสท์โดย: เล่าสู่กันฟัง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
มาเป็นคนแรกที่ VOTE ให้กระทู้นี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
5 อันดับ ตึกที่สูงที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน!เปิดขุมทรัพย์! สถิติเลขท้าย 2 ตัวมาแรง งวด 1/4/68 ลุ้นโชคใหญ่รับสงกรานต์สิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68บ้านเกือบพันหลังในจีนเสียหายหลังเกิดแผ่นดินไหวที่พม่าSakamoto Days ตอนที่ 12 วันที่และเวลาออกฉายประวัติศาสตร์แผ่นดินไหวในประเทศไทย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68บอสณวัฒน์ คอนเฟิร์ม มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2025 ยังจัดตามกำหนดการเดิม เสาร์ 29 มี.ค.68 นี้เขย่าขวัญทั่วไทย! สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ทรัมป์กับบททดสอบครั้งใหญ่ สหรัฐฯ พร้อมช่วยเมียนมา-ไทย รับมือแผ่นดินไหว แม้ตัดงบ USAID**แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในพม่า: นานาชาติส่งทีมกู้ภัยเร่งบรรเทาทุกข์A star is born มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2025 มงทองลง "กชเบล" 👑 "เฌอเอม" ได้รองอันดับ 1Apple ต้องการเหตุผลใหม่เพื่อให้คุณซื้อ iPhone เครื่องใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง