หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

EUROPEAN GREEN DEAL คืออะไร ทำไมคนไทยต้องรู้

โพสท์โดย หลานป้าพริก

จากเป้าหมายที่ทุกประเทศจะช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อทำให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2.0 องศาเซลเซียส ภายในศตวรรษนี้ และในปี 2050 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือที่เรียกว่า "Net Zero" 
ในเดือน ก.ค. 2021 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จึงมีแผนการทำงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว และเกิดเป็น "European Green Deal" หรือมาตรการลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 55 ในปี 2030 หรือ Fit for 55 Package ซึ่งเป็นร่างกฎหมายเพื่อรับรองเรื่อง

ทั้งนี้ EU ไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ออกมาตรการและนโยบายด้าน Green และ Climate Change ปัจจุบันหลายประเทศให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน อาทิ นโยบาย Green Plan ของสิงคโปร์ Green New Deal ของเกาหลีใต้ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเองก็หันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมาก โดยมาตรการ European Green Deal อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการสินค้าส่งออกของไทย ทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ EU ลดลง จึงเป็นความท้าทายที่ภาคเอกชนไทยและภาครัฐต้องทำงานร่วมกัน เพื่อเตรียมการรับมือนโยบายและมาตรการ "European Green Deal" ผลักดันวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส

"Carbon Neutrality" คือ แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์   ซึ่งมีกฎหมายและกฎระเบียบ 6 ข้อประกอบด้วย

  1. Renewable Energy หรือกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน มีสาระสำคัญ คือ ปรับปรุงกฎหมายเพิ่มอัตราการใช้พลังงานทดแทนให้เป็น 40 % ของพลังงานทั้งหมดในปี 2030 (ปัจจุบัน 20%) และมาตรการปรับลดอัตราภาษีในกลุ่มพลังงานทดแทนโดยปรับเพิ่มอัตราภาษีในกลุ่มพลังงานประเภทอื่นที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง รวมทั้งมาตรการปรับปรุงอาคารสำนักงานในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ให้ลดการใช้พลังงานลงอย่างน้อย 3% ต่อปี ซึ่งอาจเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทย ที่สามารถสร้างนวัตกรรมอุปกรณ์สำนักงานที่ช่วยประหยัดพลังงานส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยัง EU ได้เพิ่มขึ้น 
  2. Sustainable / Smart Mobility หรือกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งอัจฉริยะและยั่งยืน มีสาระสำคัญ คือ ยกระดับมาตรฐานยานพาหนะที่ใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิก EU โดยอนุญาตให้ใช้ยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์เท่านั้น ภายในปี 2035 ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการส่งออกอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ และอุปกรณ์การชาร์จพลังงานสำหรับรถไฟฟ้า และรถไฮโดรเจน จากประเทศไทย  รวมทั้งการปรับปรุงมาตรฐานการควบคุมมลพิษ Euro-7 ส่งผลกระทบกับธุรกิจระบบเครื่องยนต์ดีเซล และเบนซิน และ ปรับปรุงกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบิน และการเดินเรือ  โดยจะเริ่มในปี 2026 อันจะส่งผลกระทบกับเครื่องบินไทย การเดินเรือไทยที่เข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ซึ่งต้องมีการเตรียมพร้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง
  3. Forestry / Biodiversity หรือกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ มีสาระสำคัญ คือ มาตรการการปกป้องป่าที่เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก อาทิ การไม่ใช้พลังงาน Biofuel เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย และข้าวโพด ที่มาจากการรุกพื้นที่ป่า หรือสร้างผลลัพธ์ทำให้ขาดแคลนอาหาร และทำให้ราคาอาหารแพงขึ้น รวมถึงการไม่ซื้อสินค้าทุกประเภทที่มาจากการรุกพื้นที่ป่า เช่น กาแฟ 
  4. Taxonomy หรือกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว คือการกำหนดนิยามกิจกรรมของธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศสมาชิก EU มากขึ้น เช่น การระดมทุนใน Green Bond   หรือได้สิทธิพิเศษทางสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ Soft Loan
  5. Due Diligence หรือกฎระเบียบความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ คือการกำหนดกรอบการทำธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล Sustainable Corporate Governance  ธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบและดูแลสิ่งแวดล้อม และธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจากกฎระเบียบข้อนี้นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัว โดยให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลัก (Environmental, Social, Governance: ESG) ที่ไม่ได้ทำธุรกิจเพียงแค่แสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและผนวกอยู่ในยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการดำเนินกิจการด้วย
  6. CBAM หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งมาตรการนี้มีการปรับราคาสินค้านำเข้าบางประเภท เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิก EU และปกป้องธุรกิจภายในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ที่ต้องแบกภาระต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องปฏิบัติตามมาตรการ European Green Deal เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทำให้การแข่งขันเป็นธรรม เมื่อเทียบกับสินค้านำเข้าจากประเทศที่ 3 นอก EU ที่ราคาสินค้าถูกกว่าเพราะการผลิตไม่มีต้นทุนการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกเข้าสินค้าเข้าไปในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ต้องถูกใช้มาตรการ European Green Deal เช่นเดียวกัน

จากข้อมูลทั้งหมดที่เขียนมา โดยเฉพาะข้อที่  6  มาตรการว่าด้วยเรื่อง CBAM กับการปรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทย สำหรับประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมสำหรับ CBAM หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรปไว้พอสมควรแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรามาทำความรู้จัก  CBAM และการเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทยให้มากขึ้นกว่านี้อีกนิดหนึ่งเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น

สำหรับใน 5 กลุ่มสินค้าแรกที่ถูกพิจารณาตามระเบียบของ CBAM โดยแต่ละกลุ่มสินค้าจะมีข้อกำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และวิธีการเรียกเก็บค่าคาร์บอน ได้แก่

(1) บริการไฟฟ้า

(2) ซีเมนต์

(3) ปุ๋ย

(4) เหล็กและเหล็กกล้า

(5) อะลูมิเนียม

ระเบียบของ CBAM เริ่มบังคับใช้เต็มที่ในวันที่ 1 มกราคม 2569 และจะมีกลุ่มสินค้าอื่นๆ ถูกพิจารณาตามระเบียบของ CBAM เพิ่มขึ้น โดยระหว่างนี้ภาคเอกชนไทยต้องเตรียมพร้อมทั้งการขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมธิการยุโรปภายใต้ CBAM การซื้อขายคาร์บอน การรายงานและการตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรายงานการจ่ายค่าคาร์บอนสินค้านำเข้าและส่งออก เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจไทย
กลไกและมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) ที่ผู้ส่งออกไทยต้องศึกษา  

          การปรับใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของไทยกับมาตรการ CBAM

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ TGO จะพัฒนาระบบการรายงานในระบบ Embedded Emissions ซึ่งเน้นการวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉพาะในกระบวนการผลิต ทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้สอดคล้องกับมาตรการ CBAM เพราะหากในประเทศไทยมีกระบวนการ CBAM Certificates ของตนเอง ผู้ส่งออกไทยจะสามารถเสียค่าคาร์บอนที่ต้นทางหรือในประเทศไทย แทนการที่ต้องไปเสียให้ต่างประเทศ  TGO เห็นว่าปัจจัยสำคัญในการรับมือกับมาตรการ CBAM คือการพัฒนาให้เกิดผู้ทวนสอบค่า Embedded Emissions ตามมาตรฐาน EU  และพัฒนาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม  เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการชดเชยการปล่อยคาร์บอนที่เกินมาตรฐานของ CBAM รวมทั้งการเจรจาทำความตกลงกับสหภาพยุโรปให้ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้คาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VERs หรือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย เพื่อทดแทนหรือลดภาระการซื้อค่าคาร์บอน หรือ CBAM Certificate โดย TGO จะปรับปรุงมาตรฐานการรับรองของโครงการ T-VERs บางประการให้สอดคล้องกับมาตรการ CBAM มากขึ้น

ส่วนมาตรการ CBAM กับการปรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทย จะส่งผลอย่างไรกับประเทศไทย ดังนี้ มาตรการ CBAM กับการปรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทย อย่างที่เราทราบกันดีว่ากลุ่มประเทศสหภาพยุโรปนั้นมีความตื่นตัวเป็นอย่างมากกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็เป็นผลมาจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทุกประเทศมีความจำเป็นจะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้มากที่สุด เพื่อหยุดผลกระทบที่เลวร้ายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยเองก็เป็น 1 ในประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างมาก โดยตั้งแต่ปี 2559 ประเทศไทยของเราตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและการขนส่งลง 7-20 % ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่เราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 17% ในปี 2563  และเรากำลังอยู่ในช่วงของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในขั้นต่อไป โดยเราตั้งเป้าหมายจะลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 20-25% ในทุกอุตสาหกรรมภายในปี 2573

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่ากลุ่มประเทศสหภาพยุโรปนั้น เป็นผู้นำในการเพิ่มการตื่นตัวในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะเห็นได้จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) ได้ได้ออกแผนการปฏิรูปสีเขียว (European Green Deal) ในปี 2019 โดยตั้งเป้าให้ EU ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 60% ภายในปี 2030 และให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Climate Neutral) ภายในปี 2050 นอกจากนี้ยังมีการกำหนดมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ Carbon border Adjustment Mechanism (CBAM) อีกด้วย โดยมาตรการ CBAM นั้นเป็นการขยายระบบ “ตลาดการค้าคาร์บอนภายในของสหภาพยุโรป” หรือ EU Emission Trading System (EU ETS) ให้ครอบคลุมสินค้านำเข้าบางประเภทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ปุ๋ย และไฟฟ้า ซึ่งผู้ที่จะส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปจะต้องซื้อ “ใบรับรองการปล่อยก๊าซคาร์บอน” หรือ “CBAM certificates”เพื่อเป็นการจ่ายค่าธรรมเนียม หรือ “ค่าปรับ” ในการปล่อยก๊าซฯ โดยราคาของใบรับรองฯ จะคำนวณจากราคาประมูลเฉลี่ยรายสัปดาห์ของ EU ETS allowances ที่คณะกรรมาธิการยุโรปจะเป็นผู้กำหนด

แม้ว่าในเบื้องต้นประเทศไทยของเราอาจจะไม่ใช่กลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบกับการส่งออกจากมาตรการ CBAM มากที่สุด แต่ด้วยมาตรการด้านค่าปรับ และภาษีที่เกิดขึ้น ก็จะส่งผลทำให้การแข่งขันและการส่งออกสินค้าจากประเทศที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และการควบคุมก๊าซเรือนกระจกต่ำ ไปยังสหภาพยุโรปได้รับผลกระทบมากขึ้น

ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ประกอบการของไทย ได้คำนึงถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาธุรกิจและอุตสาหกรรมของพวกท่านด้วย เพื่อให้ผู้ที่ทำธุรกิจส่งออกไม่ต้องได้รับผลกระทบจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งยังเป็นการทำให้ประเทศไทยของเรามีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Green Economy ด้วย

#EUROPEANGREEN DEAL #CBAM #สิ่งแวดล้อมโลก #สิ่งแวดล้อมไทย

#ก๊าซเรือนกระจก #ลดโลกร้อน #กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 (ขอบคุณแหล่งที่มา https://bit.ly/2ZwnHZg, https://www.setsustainability.com/libraries/1035/item/european-green-deal, )

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
หลานป้าพริก's profile


โพสท์โดย: หลานป้าพริก
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (5/5 จาก 4 คน)
VOTED: มยุรี สวยงาม, ธรรมชาติบำบัด, อัศวิน ดีนะยานะ, หลานป้าพริก
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568สาวขึ้นรถไฟฟ้าไม่ทัน ประตูหนีบมือ ก่อนโดนลากไปกับรถเภสัชกรเผย!..อาหารเสริมวิตามิน 3 ชนิดที่คุณควรหยุดกิน!10 ฉายาดารา 2567 เชยจนต้องขยี้ตา หรือเสน่ห์ย้อนยุคที่ยากจะปฏิเสธ?เรือนจำที่น่ากลัวที่สุดในโลกทำไมเราถึงทะเลาะกับแฟนบ่อยชายคนหนึ่งเข้าพักโรงแรม เกิดเหงาเรียกสาวบริการ พบเป็นเมียของตนเองสุดยอดสายรุ้ง 360 องศา มหัศจรรย์จากธรรมชาติที่คุณอาจไม่เคยเห็นเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์พยาบาล พุ่งชนอาคารโรงพยาบาลในตุรกีฉลามหัวบาตรลากจระเข้ลงน้ำ การเผชิญหน้าของนักล่าแห่งนูลุนบายจักรยานปั่นขึ้นสะพานตากสิน มอเตอร์ไซต์จี้ท้าย.เรื่องนี้ต้องโทษใคร?ด่วน ใครยังไม่ยืนยันตัวตนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รีบเลย! หมดเขต 26 ธ.ค. นี้แล้วนะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สุดยอดสายรุ้ง 360 องศา มหัศจรรย์จากธรรมชาติที่คุณอาจไม่เคยเห็นทำไมเราถึงทะเลาะกับแฟนบ่อยจักรยานปั่นขึ้นสะพานตากสิน มอเตอร์ไซต์จี้ท้าย.เรื่องนี้ต้องโทษใคร?เปิดตัวเลขจริง! เอวาและ 4 สาวหมื่นล้าน มีเงินในบัญชีคนละเท่าไหร่?เรือนจำที่น่ากลัวที่สุดในโลกผักที่มีแคลเซียมมากกว่านม 4 เท่า! ค้นพบแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ขายดีตามตลาดแต่ยังน้อยคนรู้จัก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สุดยอดสายรุ้ง 360 องศา มหัศจรรย์จากธรรมชาติที่คุณอาจไม่เคยเห็น4 ช่องทางโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่จำเป็นต้องมีเซ็กส์ก็ติดได้วิธีทำให้ถุงร้อน ร้อนเร็วขึ้น(20+) ความลับในความคิดผู้หญิง จะนึกถึงคนที่ชอบเวลาช่วยตัวเองจริงหรือ?
ตั้งกระทู้ใหม่