จป.หัวหน้างาน หมายถึง ใคร และมีความสำคัญอย่างไรในการทำงานให้ปลอดภัย
จป.หัวหน้างาน หมายถึง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างานที่คอยกำกับดูแลพนักงานตนเองให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยการที่จะมาเป็น จป หัวหน้างานได้นั้นจะต้องทำการอบรม จป หัวหน้างานในหลักสูตรตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดตามประกาศกฎหมายกระทรวงแรงงานได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งบังคับให้ประเภทสถานประกอบกิจการ 14 ประเภทต้องปฏิบัติตาม ได้แก่
๑. การทําเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
๒. การทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทําให้เสีย หรือทําลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กําเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
๓. การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เ รือ สะพานเทียบเรือทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
๔. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
๕. สถานีบริการหรือจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
๖. โรงแรม
๗. ห้างสรรพสินค้า
๘. สถานพยาบาล
๙. สถาบันทางการเงิน
๑๐. สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
๑๑. สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
๑๒. สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
๑๓. สํานักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๒
๑๔. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด
บทบทหน้าที่ของ จป หัวหน้างาน
- กำกับดูแลให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
- วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นโดยอาจร่วมดำเนินการกับ จป.ระดับเทคนิค/เทคนิคขั้นสูง/ระดับวิชาชีพ
- สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
- ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
-
กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้าง
-
รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจาการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง
-
ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง
-
ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
-
ปฏิบัติงานตามที่ จป.บริหาร มอบหมาย
การเป็น จป หัวหน้างานโดยส่วนใหญ่นั้จะมาพร้อมตำแหน่งหัวหน้าซึ่งจะบอกว่าควบภาระกิจทั้ง 2 อย่างเลยก็ไม่ผิดบางคนอาจมองว่าเป็นภาระซึ่งหากดูให้ดีแล้วการที่ หัวหน้าได้ดูแลลูกน้องหรือทีมงานของเราให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยถือว่าหัวหน้างานคนนั้นเป็นหัวหน้าที่สมบูรณ์แบบอย่างยิ่งในปัจจุบันเราต้องพบกับความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและการบาดเจ็บที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ยิ่งถ้าคนๆนั้นเป็นหัวหน้าครอบครัวด้วยแล้วก็จะยิ่งทำให้เหตุการณ์นั้นสะเทือนใจมากขึ้นไปอีกหัวหน้างานที่ดีจึงควรดูแลทั้งการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพและควบคู่ไปกับความปลอดภัย
ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่เพิ่มเติมที่ จป หัวหน้างาน นั้นจะต้องค่อยดูแลเช่น
- การประเมินความเสี่ยงอันตรายในกิจกรรมการทำงาน
- การปรับปรุงให้พื้นที่การทำงานเกิดความปลอดภัย
- จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้กับพนักงาน
- สั่งหยุดการทำงานเมื่อพบเหตุที่ไม่ปลอดภัย
- กำหนดระเบียบการทำงานในส่วนงานที่ตนเองรับผิดชอบเป็นต้น