อย่าเพิ่งชะล่าใจ โรงพยาบาลสนามยังจำเป็นอยู่
เมื่อย้อนดูคำทำนาย "หมอปลาย พรายกระซิบ" ที่เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ Woody Live เมื่อเดือนกรกฎาคม พูดถึงสถานการณ์โควิด-19 ในไทย ว่าในเดือนพฤศจิกายนจะมีเชื้ออิมพอร์ตเข้าไทย
โดยหมอปลาย บอกว่า ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม มันควรจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ถ้าไม่เกิดขึ้น คนไทยจะเจอภาวะที่หนักที่สุดสำหรับโรคโควิด ช่วงเดือนพฤศจิกายน อาจจะยืดไปถึงเดือนมีนาคม 2565
การเปลี่ยนแปลง คือเปลี่ยนบริหารจัดการคน เปลี่ยนคน แต่สิ่งที่เห็นมี 2 ทาง ทางหนึ่งเขายอมลง อีกทางเขาไม่ลง ซึ่งทางที่เขาไม่ลง เห็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างเยอะกว่า ถ้าเขาไม่ลง เดือนพฤศจิกายนจะเป็นช่วงที่เชื้อกลับมาอีก เป็นช่วงอิมพอร์ตเชื้อโรคเข้ามา หลังจากนั้นยาวไปถึงเดือนมีนาคม 2565 เครียดเลยคนไทย ถึงแม้จะพยายามใช้ชีวิต แต่ว่าเราไม่มียา เราคุมไม่ได้แล้ว เหมือนจะมีแต่คุมไม่ทัน
ในช่วงปีหน้าหรือปลายปีนี้ ไปตรวจอาจจะไม่รู้ว่านี่คือโควิดก็ได้ อาจจะเป็นอย่างอื่น หรือมันอาจจะไปผสมโรคชนิดอื่น แล้วมันอยู่ในตัวเรา ทำให้ไม่รู้ว่าจะรักษายังไง ซึ่งสำหรับหมอปลายถือว่าเป็นช่วงที่ดำดิ่งที่สุดสำหรับคนไทย
ซึ่งเมื่อดูจากจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็ยังทรงๆ ไม่ได้ขาลงอะไรขนาดนั้น แต่หลายจังหวัดก็ทยอยปิดโรงพยาบาลสนามไปเยอะแล้ว ในความรู้สึกของประชาชาชนอย่างเราก็มองว่า โรงพยาบาลสนามนั้นยังจำเป็นอยู่มาก เพราะหากเกิดระลอก 5 ขึ้นมา เกรงว่า "วิกฤติขาดเตียง" จะกลับเป็นปัญหาใหญ่อีกครั้ง แถมตอนนี้ในบางพื้นที่ก็เริ่มเกิดครัสเตอร์ใหม่แล้ว
ถึงแม้บางจังหวัดจะเริ่มตื่นตัว อย่างนครราชสีมา ก็เพิ่งมีการอนุมัติให้กลับมาเปิด โรงพยาบาลสนามลิปตพัลลภฮอลล์อีกรอบ หรือที่เพิ่งเปิดตัวไปก็เป็นของเครือซีพี ที่ร่วมกับ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ สร้าง “โรงพยาบาลสนามซีพี-ดับบลิวเอชเอ-จุฬารัตน์” เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลือง-ส้ม
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวไว้ว่า "แม้สถานการณ์ในปัจจุบันจะเริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้ป่วยวิกฤตเป็นจำนวนมาก โรงพยาบาลสนามจึงยังคงมีความจำเป็นในการแยกผู้ป่วยติดเชื้อโควิดออกจากผู้ป่วยโรคทั่วไป และเพื่อช่วยให้โรงพยาบาลหลักยังสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปตามปกติเหมือนเดิม เครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะบริษัทเอกชนไทย จึงมีนโยบายสร้างโรงพยาบาลสนาม 3 แห่ง เพื่อสู้ภัยโควิด โดยโรงพยาบาลสนามแห่งแรกจับมือร่วมกับพันธมิตร 2 องค์กร คือ WHA และกลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ สร้างโรงพยาบาลสนามซีพี-ดับบลิวเอชเอ-จุฬารัตน์ รองรับผู้ป่วยโควิดระดับสีเหลืองถึงสีส้ม"
ในเฟสแรกมีจำนวน 405 เตียง ที่ได้จากการปรับเปลี่ยนพื้นที่อาคารคลังสินค้าขนาด 15,294 ตารางเมตร ถือว่าเป็นโรงพยาบาลสนามแห่งแรกในประเทศที่มีความพร้อมด้านระบบการแพทย์เต็มรูปแบบ
ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ทางศบค. เคยแถลงไว้ว่าแม้ตัวเลขจะลดลง แต่ยังขอให้ตรึงกำลังระบบบริการสาธารณสุข เพราะมีมีหลายจังหวัดปิดโรงพยาบาลสนามเพื่อจะคืนพื้นที่ จึงขอให้มีโครงสร้างรองรับไว้หากตัวเลขกลับมาสูงขึ้นอีก
เอาเป็นว่า "อย่าประมาท" เป็นดีที่สุด เหลือดีกว่าขาด และก็หวังไว้ว่า "เวฟ 5" จะไม่เกิดขึ้นในบ้านเรา