คำนวณ BTU ก่อนไปซื้อแอร์
จะซื้อแอร์แล้วจะซื้อกี่ BTU จะรู้ได้อย่างไร?
เราลองมาหัดคำนวณกันนะครับ
🔻 BTU คือ อะไรกันนี่??🔻
BTU เป็นหน่วยวัดปริมาณความร้อนที่ใช้กับระบบเครื่องปรับอากาศ ย่อมาจากคำว่า British Thermal Unit
1 BTU หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำที่มีน้ำหนัก 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป(+/-) 1 ° ฟาเรนไฮด์ เทียบได้กับหน่วยจูลหรือแคลอรี่ในระบบสากล
ถ้าเราใช้แอร์ 9,000 BTU ต่อชั่วโมง ก็หมายความว่า แอร์เครื่องที่เราใช้นั้นมีประสิทธิภาพในการดึงเอาความร้อนออกจากห้องได้ 9,000 BTU ในเวลา 1 ชั่วโมงนั่นเอง
การคำนวณหาขนาดแอร์ที่เหมาะสมกับขนาดห้องจำเป็นอย่างไร
การใช้แอร์ที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็นไม่ใช่เรื่องที่ดีและเราไม่ควรเผื่อในลักษณะนั้นด้วย เพราะแอร์ที่ขนาดใหญ่เกินไปทำให้เกิดความชื้นในห้องมากเกินความพอดีและคอมเพรสเซอร์แอร์ก็ทำงานยังไม่ทันเต็มประสิทธิภาพ ก็จะถูกตัดก่อนบ่อยๆ
แต่ถ้าเราใช้แอร์ขนาดเล็กเกินไปไม่พอดีกับห้องแอร์และคอมเพรสเซอร์แอร์ก็จะทำงานหนักเกินตัวอยู่ตลอดเวลาและอาจเสียได้โดยง่าย ดังนั้นการใช้แอร์ที่มีขนาดพอดีกับขนาดของห้องจึงเป็นการดีที่สุด
สูตรการคำนวณหาขนาดBTUแอร์ที่เหมาะสมสำหรับห้องที่ต้องการติดตั้งแอร์
สูตรที่ 1 สำหรับห้องที่มีความสูงฝ้าเพดานไม่มาก
BTU = [ความกว้างxความยาว] x (n)ค่าแปรผันเงื่อนไขตามการใช้งานของห้อง
(หน่วยที่ใช้เป็นเมตรทั้งหมด)
n = ค่าแปรผันตามเงื่อนไขการใช้งานของห้องซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของห้องและกิจกรรมที่ทำในห้องมีการสร้างความร้อนมากน้อยเพียงใด
ค่า n ที่ใช้คำนวณมีดังนี้คือ
n=750 ห้องนอนปกติ ที่แดดส่องไม่ถึง
n=800 ห้องนอนปกติ ที่แดดส่องถึง
n=850 ห้องทำงาน ที่แดดส่องไม่ถึง
n=900 ห้องทำงาน ที่แดดส่องถึง
n=950-1,100 ถ้าเป็นร้านอาหาร ร้านทำผม ร้านค้า หรือสำนักงาน ที่แดดส่องไม่ถึง
n=1,000-1,200 ถ้าเป็นร้านอาหาร ร้านทำผม ร้านค้า หรือสำนักงาน ที่แดดส่องถึง
n=1,100-1,500 ถ้าเป็นห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารที่มีหม้อต้มหรือการก่อเตาไฟ หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่มากกว่าปกติ
สมมุติว่าเราต้องการจะติดตั้งแอร์ในห้องนอนที่แดดส่องไม่ถึง ที่มีด้านกว้างยาว 4 เมตร และด้านยาว 5 เมตร
ใช้ค่า n=750
BTU = [4 x 5 ] x 750 = 15,000
เพราะฉะนั้น แอร์ที่ใช้ควรมีขนาด 15,000
(+/-)1,000 BTU
สูตรที่ 2 กรณีฝ้าเพดานห้องมีความสูงมาก เช่น เกิน 3 เมตรขึ้นไป เป็นต้น
BTU = [[ความกว้างxความยาวxความสูงของฝ้าเพดาน] x n(ค่าแปรผันเงื่อนไขตามการใช้งานของห้อง)] / 3
(หน่วยที่ใช้เป็นเมตรทั้งหมด)
กรณีเดียวกับห้องนอนที่เราต้องการติดตั้งแอร์ในตัวอย่างด้านบน แต่ต่างกันที่ฝ้าเพดานสูง 4 เมตร
BTU = [[4 × 5 × 4 ] x 750] / 3 = 20,000
เพราะฉะนั้น แอร์ที่ใช้ควรมีขนาดขนาด 20,000 (+/-)1,000 BTU
ตารางการเลือกใช้ขนาดของเครื่องปรับอากาศตามขนาดของห้องแต่ละประเภทของการใช้งาน
สำหรับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่ต้องคำนึงถึงนอกจากความสูงของฝ้าเพดานแล้ว ยังต้องดูเรื่องแสงแดดและตำแหน่งของห้อง รวมถึงทิศทางลมด้วย
ถ้ามีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนช่วยก็อาจไม่ต้องเผื่อค่า BTU มากนัก แต่ถ้าประตูหน้าต่างมีการปิดเปิดบ่อยครั้ง ก็ควรต้องเผื่อค่า BTU เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนจำนวนคนที่เข้ามาใช้งานในห้องนั้น และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องที่มีการผลิตความร้อนออกมาก็ต้องนำมาพิจารณาเผื่อด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความร้อนภายในตัวบ้านซึ่งมีผลต่อค่า BTU ที่เราต้องนำมาพิจารณาด้วย
เครดิตข้อมูล: https://www.nuanamair.com/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2btu
เครดิตข้อมูล: https://www.teddyaircond.com/th/articles/31466-btu
ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
อ้างอิงจาก: https://www.teddyaircond.com/th/articles/31466-btu
https://www.nuanamair.com/คำนวณค่าbtu