จากนี้!การล๊อคล้อ จะไม่ใช่ปัญหาอีกกกต่อไป
ต่อไปนี้..การล๊อคล้อ..จะไม่ใช่ปัญหาอีกกกต่อไป
อำนาจในการล็อคล้อของจราจรกำหนดไว้ใน พรบ.จราจรทางบก 2522 ใน ม.59 ซึ่งให้อำนาจจราจรในการดำเนินการกับผู้ขับขี่รถที่หยุดรถฝ่าฝืน ตาม ม.55 และจอดฝ่าฝืนตาม ม.57 โดยจราจรมีอำนาจสั่งให้คนขับเคลื่อนย้ายรถ หรือจะเคลื่อนย้ายเอง(ยกรถ) หรือจะล็อคล้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และการใช้ดุลยพินิจของจราจรผู้พบการกระทำผิด และกรณีมีการตัดสินใจสั่งให้ล็อคล้อ หรือยกรถแล้ว เจ้าของรถต้องไปชำระค่าปรับ รวมทั้งชำระค่าล็อคล้อ หรือยกรถ แก่เจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดก่อน จึงจะสามารถนำรถกลับคืนไปได้
#แต่กรณีเจ้าหน้าที่ที่พบการกระทำผิดไม่ใช้ดุลยพินิจสั่งล็อคล้อ ก็อาจสั่งให้คนขับเคลื่อนรถ พร้อมจะว่ากล่าวตักเตือน หรือออกใบสั่งให้คนขับไปชำระค่าปรับภายหลังก็ได้ ตาม ม.140 เพราะการจอด หรือหยุดฝ่าฝืน มีเพียงโทษปรับสถานเดียวตาม ม.148 ซึ่งปรับไม่เกิน 500 บาท
#ดังนั้นถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องล็อคล้อรถที่หยุด หรือจอดผิดที่ทุกครั้งหรือไม่ ก็น่าจะดูที่สถานการณ์ว่าเจ้าของรถอยู่ตรงนั้นหรือไม่ และการล็อคล้อรถแช่ไว้ตรงที่ห้ามจอดตรงนั้น กับการที่ให้เขาขับออกไปเสียค่าปรับตามใบสั่ง แบบไหนสมควรกว่า ที่นี้ทุกคนน่าที่จะพอเข้าใจกฎหมายข้อนี้กันแล้วนะครับ