ความตื่นตัวของโลกต่อการเลือกซื้อครีมกันแดด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่ได้มีแค่ประเทศไทย ที่แบนสารเคมีอันตรายในครีมกันแดด แต่เป็นนโยบายที่กำลังเริ่มใช้กันทั่วโลก
เพราะสารเคมีอันตรายจากผลิตภัณฑ์กันแดด เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล สร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั่วโลก หลายๆพื้นที่ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย จึงได้ออกกฏ ห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยว ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีอันตรายต่อปะการัง
รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา : Hawaii
ถือเป็นรัฐแรกในอเมริกา ที่ผ่านกฏหมายแบนผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง โดยกฏที่ว่า ไม่ได้แค่ห้ามใช้หรือนำเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวนะครับ แต่ห้ามวางจำหน่ายในร้านค้าเลย มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม 2564 นี้
เกาะเวอร์จิ้น สหรัฐอเมริกา : Virgin Island
ตามมาด้วยพื้นที่ลำดับที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา ก็เพิ่งออกกฏห้ามใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีอันตราย ไปเมื่อเดือน มีนาคม 2564 หลังจากที่มีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติเกาะเวอร์จิ้นมานานหลายปี
เป็นเกาะขนาดเล็ก ความยาว 32 กิโลเมตร ในทะเลแคริบเบี้ยน โซนทวีปอเมริกาใต้ และเป็น 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบที่อยู่ภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ที่นี่ออกกฏหมายห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย ใช้ ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีอันตรายไปเมื่อ เดือน กรกฏาคม 2563 ครับ
อีกหนึ่งเกาะในทะเลแคริบเบี้ยน ที่มีสถานะเป็นเขตเทศบาลพิเศษ ภายใต้ราชอาณาจักร์เนเธอร์แลนด์ เป็นอีกหนึ่งจุดดำน้ำชมปะการังที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในเรื่องของสีสันที่สวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพ ก็ประกาศแบนผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารอันรรายต่อปะการัง ไปเมื่อ เดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมาครับ
ประเทศหมู่เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิค อยู่ห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 500 กิโลเมตรครับ ที่นี่ผ่านกฏหมาย แบนผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารเคมีอันตราย 10 ชนิด ห้ามใช้ ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามวางจำหน่าย ไปเมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา ทำให้ปาเลา มีสถานะเป็นประเทศแรกในโลก ที่แบนสารเคมีอันตรายในครีมกันแดดแบบ 100% ครับ
อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไทย ที่เดินทางไปดำน้ำชมฝูงฉลามวาฬกันปีละหลายแสนคน ที่เกาะเซบูแห่งนี้ แม้จะยังไม่ผ่านเป็นกฏหมาย แต่ถือเป็นกฏเหล็ก ที่ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ บริษัททัวร์ โรงแรม รวมถึงตัวนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือน ต่างยึดถือปฏิบัติและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ว่าห้ามทาครีมกันแดดลงไปดำน้ำชมฉลามวาฬเด็ดขาด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับฝูงฉลามวาฬครับ
สำหรับประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ประกาศห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีสารอันตราย 4 ชนิด ได้แก่
Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3)
Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate)
4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)
ซึ่งนักท่องเที่ยว สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี 4 ชนิดนี้ได้ เพียงเลือกใช้แบรนด์ที่มีสัญลักษณ์ Reef Safe หรือ Ocean Friendly แทนครับ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่
(1)https://www.facebook.com/674202746364334/posts/1307251506392785/
(2)https://www.facebook.com/674202746364334/posts/1308358172948785/