ย้อนยุคเส้นทาง คสช. เข้าแก้ไขปัญหาชาติ!! “นี่ไม่ใช่การปรองดอง แต่เป็นการบังคับให้ปรองดอง”?
ในปี ก.ค. 2560 เป้าหมายใหญ่ของ คณะทำงานปรองดองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของประเทศ และนำประเทศไปสู่ความปรองดอง ซึ่งได้มีการนำเสนอ "ร่างสัญญาประชาคม เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง" ต่อผู้แทนส่วนราชการ พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง และภาคประชาชนใน 26 จังหวัดภาคกลาง รวม 300 ชีวิต
ร่างสัญญาประชาคมปรองดองถือเป็นผลิตผลที่ได้จากการทำงาน 5 เดือน นับจากรัฐบาล คสช. โดยคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ชวนนักการเมืองและกลุ่มการเมืองตบเท้าเข้าศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อร่วมทบทวนปัญหาความขัดแย้งในอดีต-เสนอสูตรปรองดองในอนาคต
หนึ่งใน 10 ข้อ “สัญญาประชาคมฉบับสมบูรณ์” ...
ในที่สุดศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รายงานว่ามีการลงพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ 80,944 ครั้ง ทำกิจกรรมสร้างบรรยากาศปรองดอง 91,977 ครั้ง รวมไปถึงแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 7,927ครั้ง แต่หลายฝ่ายก็มองว่าผลที่ออกมาก็ยังไม่เป็นรูปธรรม
จนมีบางสื่อวิเคราะห์เรื่องนี้ว่า "ปรองดองในมือทหารจะสลายความขัดแย้งยาวนานนับสิบปีได้จริงหรือ?" ... “นี่ไม่ใช่การปรองดอง แต่เป็นการบังคับให้ปรองดอง”