"มะเดี่ยว" รีวิวหนัง "Ghost Lab"
เป็นที่พูดถึงกระแส Ghost Lab ใน Netflix มีทั้งด้านบวก และด้านลบ เพราะอาจตั้งความหวังไว้สูงกับ GDH เรามาฟังรีวิวจากผู้กำกับระดับตำนาน มะเดี่ยว ชูเกียรติ โพสต์รีวิวในเฟ๊สบุ๊คส่วนตัว
แมวโพงดูหนัง
จะว่าไปมันก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น ด้วยความที่บ้านมีโรงหนังส่วนตัวเลยได้รับชมอรรถรสทั้งภาพและเสียงอย่างที่ผู้สร้างอยากจะให้เปน ซึ่งหนังผีต้องการอะไรแบบนี้นะ ภาพที่ถ่ายทอด Ratio แสงแบบ Low Key และเสียงที่ออกแบบมาเพื่อทิศทางที่เหมาะสมด้วยความดังเบาที่แม่นยำในจังหวะ และต้องขอชมว่านี่เปนหนังไทยที่ออกแบบเสียงได้ละเอียดและดีที่สุดเรื่องนึงที่เคยมีมาเลย เสียดายที่มันไม่ได้เข้าโรง ส่วนใครอยากสัมผัสบรรยากาศที่ใกล้เคียงมักหลังไมค์มาได้ เดี๋ยวจะชวนมา #NetflixAndChill ที่บ้าน 😘
ในส่วนของเนื้อหาสำหรับนี่ไม่ติดเรื่องผีสาง เรื่องฉาก Design ต่างๆ เลยทุกอย่างทำได้ดีแต่เสียดายที่มันไม่ได้ผล และที่มันไม่ได้ผลเพราะบทมันไม่ดี ในฐานะที่เคยทำงานกับทีมสร้างเรื่องนี้รู้สึกว่าน่าจะเสียรังวัดไปหลายเอเคอร์อยู่ ไม่รู้เปนเพราะอย่างที่เด็ก ๆ มันเคยวิพากษ์ไว้ว่าคนรุ่นเก่าไม่เปิดรับไอเดียจากคนรุ่นใหม่หรือเปล่า งานมันเลยออกมามั่นใจในตัวเองแปลก ๆ ทิศทางหนังมันเลยเบียวขนาดนี้
ยกเปนกรณีศึกษาในคลาสเรียนเขียนบทได้หลายประเด็นเลย จริงๆ หนังเรื่องนี้พร้อมจะกลายเปนงานที่ดีและแปลกใหม่ได้ถ้าใส่ใจในเรื่องต่อไปนี้
1. แรงจูงใจของตัวละครมันไม่เมคเซนส์พอสำหรับคนดู ง่าย ๆ มึงอยากขึ้นปกนิตยสารวิจัยระดับโลก มันคุ้มพอเหรอกับการฆ่าตัวตายตกไปตามกัน คนดูเกิดคำถามนี้เพราะ ข้อต่อไปคือสิ่งที่หนังละเลยไปโดยสิ้นเชิง นั่นคือ…
2. เดิมพันของตัวละครมันไม่สูงพอที่เราจะคล้อยตาม หรือแทบไม่มีเลย คือเราไม่เห็นว่าถ้านงานวิจัยนี้ล้มเหลว อะไรจะเกิดแก่ชีวิตของตัวละคร? อาชีพการงานพังทลาย? ก็ไม่ คนที่รักมีอันเปนไป? ก็ไม่ สังคมรุมประนามจนเสื่อมเสียเกียรติภูมิหมอ? ก็ไม่ วิญญาณร้ายที่summonออกมาจากโลกผีจะถูกปลดปล่อยออกมาทำลายล้างโลกนี้? ก็ไม่ แถมตัวละครยังดื้อด้านทำการทดลองไปจนเกิดความฉิบหายต่อเนื่อง ถึงตอนนี้คนดูก็ได้คิดและพูดในใจเหมือนแม่ของต่อ ธนภพ ในเรื่องนั่นแหละ
3. การลงมือกระทำ (Execution) ของตัวละครมันถูก Design ไว้โดยบทว่าอยากให้คนดูเห็นสิ่งนั่นสิ่งนี้ ไม่ได้เกิดจากที่ตัวละครคิดจากเหตุและผลของตัวเอง เอาง่าย ๆ คลิปผีที่ถ่ายติดจะ ๆ ทำไมไม่เอาไปออกรายการที่มีอยู่มากมายบนจอ ทุกคนพร้อมจะมาช่วยพิสูจน์อยู่แล้ว ไหนจะหมอปลา หนุ่มกรรชัย ไอซ์สารวัตร และไทยรัฐทีวี อันนี้คิดแบบคนดูที่เค้าเห็นสิ่งเหล่านี้ในทีวีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หรือเพราะปัญหาของบทอันต่อมานั่นคือ
4.โลกของหนังที่ไม่ยึดโยงกับคนดูได้เลย ตอนเขียนบทไม่มีใครคิดมุมของคนดูเลยมั้ง ว่าเรากำลังทำหนังให้ใครดู เค้าจะมีประสบการณ์ร่วมกับตัวละครตัวไหนพอจะเอาความรู้สึกไปแทนที่ตัวนั้นได้หรือเปล่า แน่นอนเล่นเรื่องหมอ ท่ายาก แต่ก็เห็นชอบเล่น เอาจิง เปนคนทำอาชีพอื่น เปนเด็กช่างกิ๊กก๊อก แล้วบังเอิญไปเจอการพิสูจน์วิญญาณ เลยพยายามทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ให้ได้แล้วผลงานชิ้นนี้จะทำให้เขาหลุดพ้นจากชีวิตเส็งเคร็งห่วยแตก จนเลยเถิดแล้วชีวิตฉิบหาย เปนเราจะไปทางนี้มากกว่า
5. สิ่งสำคัญของ Sci-fi ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว สำคัญกว่าคือจินตนาการครับ เราว่าหนังมันขาดจินตนาการว่าถ้าเราติดต่อกับผีได้มันสำคัญกับเราอย่างไร ผีที่ร่อนเร่พเนจรมันทำไมเปนแบบนั้น แล้วทำไมคนที่เรารักถึงไม่กลับมา แล้วบลาๆๆๆ คือสิ่งที่ควรจะกระตุ้นให้เกิดในกระบวนการเขียนตั้งแต่แรก ทั้งนี้หนังมันเลยเดินไปด้วย Plot โดยไม่สนใจความเปนมนุษย์ของตัวละคร ขาดการเติมเต็มทางจินตนาการให้กับคนดูไปสานต่อ ซึ่งจินตนาการของคนดูคือเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนหนังแนวนี้นะครับ
โดยสรุปคือคุณทำหนังพลอต Icarus แต่ตัวเอกของคุณคือ Icarus ที่มันไม่ได้ถูกกุมขังไง คุณเล่าแค่ตอนมันโบยบินแล้วไปโดนพระอาทิตย์ทำปีกละลายร่วงลงมา มันเลยไม่มีใครสงสารเห็นใจเพราะมันเบียว ลองเอาบทนี้ไปแก้ใหม่นะ… อ่าวลืมหนังฉายแล้ว
คนทำมาอ่านแล้วอย่าเกลียดกันเลย เขียนมาตั้งยาวนี่ก็แอดติจูดเดียวกับเวลาเม้นบนกันในทีม ถ้าไม่รักก็ไม่เม้น เพราะปกติเม้นแล้วได้ตัง นี่เม้นฟรีแต่คงสายไปแล้ว ไม่เปนไรถือว่านี่คือวิทยาทานกับใครก็ตามที่เขาสนใจเรื่องเขียนบท ถือว่าเราได้กุศลไปด้วยกัน 😀
ขอบคุณที่อ่านพบกันใหม่เรื่องหน้า
แมวโพง