5 วิธีที่มีประสิทธิภาพในการหยุดยั้งความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตอันดับหนึ่งในอเมริกา และโรควิตกกังวลโดยทั่วไปส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ซึ่งจำนวนยังคงเพิ่มมากขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ
ความวิตกกังวลคือความกลัวแห่งอนาคต มนุษย์พัฒนาความสามารถในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต และเครื่องมือวิวัฒนาการนี้ทำให้เราได้เปรียบเหนือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ และช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ตามความสามารถเหล่านี้สามารถเล่นงานเราได้ เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกกังวล และจิตใจจดจ่อกับอนาคตอยู่ตลอดเวลา โดยรวมแล้วผู้คนมักจะประสบกับความวิตกกังวลในตอนกลางคืน ก่อนนอน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ความคิดที่ไม่ต้องการที่เราฝังไว้ตลอดทั้งวันมาอยู่หน้าสุด เรามักชอบคิดไปหน้า อาทิ “พรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น?” และ “ฉันจะทำอย่างไรเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้” เมื่อความคิดนี้เข้าสู่จิตใจจึงทำให้เราหลับได้ยากมากขึ้นแน่นอน
มาดูกันครับว่าเราจะหยุดยั้งความวิตกกังวลเหล่านี้ได้อย่างไร
1. ต่อสู้กับความคิดวิตกกังวลที่ว่า
ความวิตกกังวลเกิดขึ้นในตัวเอง หากคุณปล่อยให้ความคิดเชิงลบเติบโตขึ้นคุณจะเป็นบ้า ความวิตกกังวลสามารถก่อตัวขึ้นได้เหมือนก้อนหิมะที่กลิ้งลงมาจากเนินเขา และคุณเป็นคนเดียวที่มีอำนาจหยุดยั้งมันได้ ก่อนอื่นคุณควรเรียนรู้ที่จะสกัดกั้นความคิดเชิงลบ ซึ่งหมายถึงการระบุตัวตนเมื่อเกิดขึ้น เมื่อคุณพบว่าตัวเองให้อาหาร และเติมพลังให้กับความวิตกกังวลนั้น ให้ถามตัวเองว่า “สิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่?” หยุดคิดถึงอดีต และอนาคต แล้วลองนึกภาพว่าชีวิตของคุณจะเป็นอย่างไรหากคุณไม่มีความกังวลมารบกวน
หากไม่ได้ผลให้สร้างรายการ จดสิ่งที่คุณคิด และสิ่งที่คุณกำลังทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ แบบฝึกหัดการเขียนนี้จะช่วยในการหาเหตุผลเข้าข้างตนเองเมื่อเจอปัญหา และค้นหามิติที่แท้จริงเหล่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเราจะไม่อนุญาตให้ความวิตกกังวลเติบโต และหันกลับเข้ามาในหัวของคุณอีกต่อไป ทั้งนี้คุณยังสามารถเขียนเป้าหมายของคุณ และวิธีที่คุณจะบรรลุเป้าหมายได้อีกด้วย
2. นั่งสมาธิ และหายใจ
นี่เป็นคำแนะนำที่พบบ่อยที่สุดในการต่อสู้กับความวิตกกังวล และเป็นหนึ่งในคำแนะนำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หากคุณมีอาการวิตกกังวลเป็นประจำให้ลองทำสมาธิ การทำสิ่งนี้จะช่วยให้คุณลดความเครียด และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคุณได้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก แต่หากคุณมีอาการวิตกกังวลไม่บ่อยนัก และการทำสมาธิไม่ใช่ทางที่คุณถนัด ก็ให้ลองใช้เทคนิคการหายใจดู สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์มากสำหรับการผ่อนคลายก่อนนอนหลับ ทั้งยังสามารถใช้ได้กับทุกที่ทุกเวลาเมื่อคุณรู้สึกเครียด แล้วร่างกายของคุณจะขอบคุณสำหรับสิ่งนี้
3. ปล่อยสารเคมีที่ให้ความรู้สึกดีออกมาจากสมอง
เมื่อคุณออกกำลังกายร่างกายของคุณจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน และเซโรโทนินซึ่งเป็นเอนไซม์สองชนิดจากสมอง ซึ่งมีหน้าที่เชื่อมโยงความรู้สึกมีความสุข และความเป็นอยู่ที่ดีเข้าด้วยกัน ทำให้ร่างกายร้อนขึ้นทั้งตัว และช่วยให้ความตึงเครียดในกล้ามเนื้อคลายตัวลง ดังนั้นการออกแรงก็เป็นวิธีที่ดีในการมุ่งเน้นที่คุณควรจะทำอย่างเร่งด่วนแล้วล่ะ
4. ลองใช้วิธีการรักษาแบบธรรมชาติบ้าง
การรักษาด้วยสมุนไพรโดยเฉพาะชาสมุนไพร เช่นชารากวาเลอเรียนลาเวนเดอร์ และคาโมมายล์ จะช่วยลดความวิตกกังวล และความหงุดหงิด รวมทั้งช่วยทำให้คุณนอนหลับได้เร็วขึ้น ลองดูครับ
5. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน
จากการศึกษาพบว่าคาเฟอีนนั้นเพิ่มระดับความวิตกกังวล และกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนกในผู้ที่เป็นโรคแพนิค เพราะคาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่อาจนำไปสู่ความกังวลใจ รวมทั้งทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และปั่นป่วน นอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นตัว ซึ่งนำไปสู่ความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะหยิบเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนด้วยนะครับ