หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปวดเมื่อย ..นึกถึงเถาวัลย์เปรียง..

โพสท์โดย lovely art

ปวดเมื่อย ..นึกถึงเถาวัลย์เปรียง..

 

ดอกเถาวัลย์เปรียง

 

เถาวัลย์เปรียงที่เห็นตามร้านขายยาสมุนไพร

 

ชื่อที่เรียก

-เถาวัลย์เปรียง

 

ชื่อที่เรียกตามท้องถิ่น

-เชียงใหม่ เรียกว่า เครือตาปลา เครือไหล

-เลย เรียกว่า เครือดับปลา

-นครราชสีมา เรียกว่า เถาตาปลา เครือเขาหนัง ย่านเหมาะ

-ชุมพร เรียกว่า พานไสน

-ภาคอิสาน เรียกว่า เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เครือตาปลาโคก(หากเกิดบนบก) เครือตาปลาน้ำ(หากเกิดในที่ลุ่ม)

-ภาคกลาง เรียกว่า เถาวัลย์เปรียงขาว เถาวัลย์เปรียงแดง

-ภาคใต้ เรียกว่า ย่านเหมาะ ย่านเมระ

       

       เถาวัลย์เปรียง จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นของประเทศไทย พบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป 

 

ลักษณะของเถาวัลย์เปรียง

ต้นเถาวัลย์เปรียง

-เป็นเถาไม้เลื้อยขนาดใหญ่ เลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกสีน้ำตาลอ่อนๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง (เนื้อไม้มีรสเฝื่อนและเอียน) ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธ์ุด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี หากปลูกในที่แล้งจะออกดอกดก แต่จะมีขนาดเล็กกว่าปลูกในที่ชุ่มชื้น พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่่โล่งทั่วไป เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทย และใช้กันทุกจังหวัด

 

ใบเถาวัลย์เปรียง

-ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 4-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ

 

ดอกเถาวัลย์เปรียง

-ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวห้อยลง ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วงอ่อน คล้ายกับดอกถั่ว กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีขนาดไม่เท่ากัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สีม่วงแดง

 

ผลเถาวัลย์เปรียง

-ออกผลเป็นฝักแบน โคนฝักและปลายฝักมน ฝักเมื่อแด่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด

 

การขยายพันธ์ุเถาวัลย์เปรียง

-ชอบดินเหนียว ไม่ชอบดินทราย ชอบสภาพชื้นแต่ไม่แฉะ

 

การปลูกและการดูแลรักษา

-ใช้เมล็ดแก่ที่มีสีน้ำตาล (เมล็ดแก่ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) แกะเปลือกนอกของเมล็ดออก นำไปเพาะในถุงชำ ถุงลุ 2-3 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่ม

-เมื่อตัดต้นสูงประมาณ 1 คืบ นำลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ถ้าหากไม่เพาะลงถุงจะปลูกตรงจุดที่ต้องการเลยก็ได้ พร้อมทำซุ้มบริเวณที่ปลูกเถาวัลย์เปรียงได้เลื้อยเกาะด้วย

 

การเก็บเกี่ยวเถาวัลย์เปรียง

-เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 3-5 ปี

-เลือกเถาวัลย์แก่ซึ่งจะมีสีเทา และมีจุดคล้ายเกล็ดสีขาวๆ เถามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ขึ้นไป

-ตัดให้เหลือเถาไว้ 1-2 ศอก เพื่อให้แตกขึ้นใหม่ ตัดได้ประมาณ 2 ปี ต่อครั้ง

-นำเถาวัลย์เปรียงมาสับเป็นแว่นๆ หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ตากแดด 3-5 วัน หรืออบให้แห้ง

 

สรรพคุณของเถาวัลย์เปรียง

-เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย(เถา)

-รากมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ(ราก) ใช้เป็นส่วนประกอบของยาอายุวัฒนะ เพื่อช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง

-ตำรับยาไทย ใช้รากเป็นยารักษาอาการไข้(ราก)

-ช่วยแก้หวัด แก้ไอ(เถา)

-เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเสมหะลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะพิการโดยไม่ทำให้ถ่ายอุจจาระ จังเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคบิด โรคหวัด โรคไอ และใช้ได้ดีในเด็ก(เถา)

-ช่วยแก้บิด(เถา)

-เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ แก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ส่วนรากมีรสเฝื่อนเอียน มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน(ราก , เถา) และยังมีข้อมูลระบุว่าการใช้สมุนไพรชนิดนี้จะทำให้ปัสสาวะได้บ่อยกว่าปกติ จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตด้วย

-เถาใช้ดองกับเหล้าเป็นยาขับระดูของสตรี(เถา)

-คนโบราณจะนิยมใช้เถาของเถาวัลย์เปรียงเพื่อเป็นยารักษาอาการตกขาวของสตรี (อาการตกขาวชนิดที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคัน ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว)(เถา)

-เถามีสรรพคุณในการบีบมดลูก(เถา)

-ช่วยขับโลหิตเสียของสตรี ด้วยการใช้เถาวัลย์เปรียงทั้งห้าแบบสดๆ นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มา ใช้ดื่มต่างน้ำ(ทั้งห้า)

-ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ด้วยการใช้เถาสดนำมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบลงบนหน้าท้อง แล้วนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงไปบนเถาวัลย์เปรียง จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น(เถา)

-บางตำรากล่าวว่า เถามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้มีกำลังดี แข็งแรง สู้ไม่ถอย(เถา)

-เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเส้น ทำให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนดี ช่วยรักษาเส้นเอ็นขอด เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวด เมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แก้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือจะใช้เถานำมาหั่นตากแห้ง คั่ว ชงน้ำกินต่างน้ำชา เป็นยาทำให้เส้นหย่อน แก้อาการเมื่อยขบตามร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อย แก้เหน็บชา(เถา)

-มีการใช้เถา เพื่อรักษาโรคอัมพฤกษ์และกระดูกหัก โดยการนำเถามาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหัวครำ แล้วใช้เป็นยาทา นวด บริวเณที่เป็นทุกวันจนหาย(เถา)

 

ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง

-ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนของต้นเถาวัลย์เปรียง สามารถนำมารับประทานเป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริกได้ โดยมีรสมัน

-ราก มีรสเฝื่อนเบา มีสารจำพวก Flavonol ที่มีชื่อว่า สคาเดอนิน(Scadeninm) และนันลานิน(Nallanin) ใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ แต่มีมีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง แต่บ้างก็ว่าใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้

-เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง

-สมุนไพรเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "ไดโคลฟีแนค" (Diclofenac) ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "นาโพรเซน" (Naproxen) ในการรักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมความปลอดภัยสูง และมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย

 

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง

-สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

-ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ ยังไม่ควรรับประทานจนกว่าจะมีรายงานความปลอดภัยอย่างแน่ชัด รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคความดันที่รับประทานยาแผนปัจจุบันอยู่ก็ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจจะมีผลไปยับยั้งหรือเสริมฤทธิ์ของยาก็เป็นได้ นอกจากจะมีการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เจ้าของไข้

-เถามีสารที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้น จึงควรระมัดระวังหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

-ควรระมัดระวังการใช้ในสมุนไพรชนิดนี้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงมีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) และการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร

-อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาผงจากเถาวัลย์เปรียง คือ คอแห้ง ใจสั่น ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นจากการแพ้

-อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียงที่สกัดด้วย 50% เอทิลแอลกอฮอล คือ มีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และอุจจาระเหลว

 

โพสท์โดย: lovely art
อ้างอิงจาก: https://www.disthai.com
https://medthai.com
https://www.taraherb.com/lavish
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
lovely art's profile


โพสท์โดย: lovely art
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: lovely art
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568เคล็ดลับ บำรุงผิวหน้าหนาว แก้ปัญหา “ผิวแตก” ดูแลผิวให้ชุ่มชื้นตลอดวันชั่วขณะสุดท้ายของชีวิต หากถูกประหารด้วยกิโยติน เราจะรู้สึกอย่างไร?โบสถ์เซนต์แมรี่แห่งไซออน, เอธิโอเปียเพจดังเปิดภาพพระสงฆ์ ควงแขนผู้ชาย ชาว เน็ตวิจารณ์ยับ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
วิธีล้างผักให้สะอาดปราศจากสารพิษตกค้างจริงไหมที่คำว่า ‘Salary’ มาจาก ‘Salt’ เพราะทหารโรมันรับค่าจ้างเป็นเกลือ?อยากโกอินเตอร์? เจาะลึกวิธีหางานต่างประเทศ 2567 แบบถูกกฎหมาย ได้สิทธิเต็มที่ ไม่มีโดนหลอก!ชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสีย
ตั้งกระทู้ใหม่