นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีตรวจ DNA ในอากาศ
การค้นพบนี้ ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร "PeerJ" และ มีการระบุว่าทีมวิจัย ได้ทดลองนำตัวตุ่นทดลอง เข้าไปในห้องเก็บตัวอย่าง "AirDNA" ก่อนจะเปิดระบบปฏิบัติการ "Environmental DNA" (eDNA) เพื่อให้เก็บข้อมูล eDNA คือ DNA ของสิ่งมีชีวิตที่กระจายตัวอยู่โดยรอบ โดยสามารถตรวจจับได้ทั้งใน ดิน น้ำ และ หิมะ
ซึ่งผลการทดลองปรากฎว่า ระบบปฏิบัติการสามารถตรวจจับ DNA ของตัวตุ่นได้อย่างแม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้นยังตรวจพบ DNA ของผู้ดูแลตัวตุ่นด้วย แม้ว่าพวกเขาจะใช้เวลาด้วยกันในระยะหนึ่งก็ตาม ถือว่าเป็นอะไรที่ดีมากๆ เพราะข้อมูลที่สำคัญนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลายอย่าง เช่น ในทางนิติวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา หรือ ใช้ในการแพทย์ ไปจนถึงอาจทำให้เราเข้าใจถึง การแพร่กระจายของโรคทางอากาศ เช่น โควิด19 ได้ดีขึ้นด้วย!!
ในด้านของนิติวิทยาศาสตร์ การสืบสวนสอบสวน เจ้าหน้าที่สามารถนำเทคนิคนี้ มาใช้ตรวจสอบว่าคนร้ายอยู่ในที่เกิดเหตุหรือไม่? โดยการวิเคราะห์อากาศโดยรอบ จะแสดงอัตลักษณ์ของผู้ต้องสงสัยออกมา หรือ แม้แต่ในทางโบราณคดี ก็ยังคาดกันว่าจะสามารถ ใช้เทคนิคนี้ในการตรวจสอบอากาศ รอบๆหลุมฝังศพของมัมมี่ เพื่อระบุสารพันธุกรรมต่างๆ ของฟาโรห์ในอดีตอีกด้วย
ทีมวิจัยร่วมจับมือกับ พาร์ทเนอร์ในภาคอุตสาหกรรม และ รวมถึงบริษัท "NatureMetrics" เพื่อต่อยอดว่าเทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างไรอีกต่อไปบ้าง?
ที่มา: https://www.sciencefocus.com








