โควิดถ่วงเศรษฐกิจโลก พัฒนาล่าช้า 10 ปี
"สหประชาชาติ" กล่าวว่า "การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 อาจทำให้ทั่วโลกพัฒนาล่าช้าไปถึง 10 ปี โดยองค์การระหว่างประเทศ มากกว่า 60 แห่ง ซึ่งร่วมเขียนรายงานนี้ต่างก็เรียกร้อง ให้มีการระดมทุนเพื่อแก้ปัญหา ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ทำให้เศรษฐกิจกลับมา ฟื้นตัวโดยเร็วเท่าที่จะเร็วได้"
การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกประสบกับ ภาวะถดถอยครั้งเลวร้ายที่สุด ในรอบ 90 ปี โดยประชากรกลุ่มเปราะบางที่สุด จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด พร้อมกับคาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานประมาณ 114 ล้านตำแหน่งทั่วโลก และ ประชาชนจะตกอยู่ในภาวะ ยากจนขั้นรุนแรงราวๆ 120 ล้านคน ซึ่งการป้องกันไม่ให้อีกหลายประเทศ เผชิญการพัฒนาที่ล่าช้าไปอีก 10 ปีนั้น มีเพียงการเร่งดำเนินการ อย่างทันท่วงทีเท่านั้น!!"
รองเลขาธิการ ของสหประชาชาติ "อามีนา โมฮัมเหม็ด" กล่าวว่า "โรคระบาดครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นถึง อันตรายจากการที่เราเพิกเฉย ต่อการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างประเทศต่างๆทั่วโลก โลกที่มีแต่ความแตกแยก นับเป็นหายนะสำหรับทุกคน ดังนั้นการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ไม่เพียงแต่จะถูกต้องตามหลักศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจของทุกคนอีกด้วย"
ก่อนการระบาดเกิดขึ้นนั้น ราวครึ่งหนึ่งของประเทศ ที่พัฒนาน้อยที่สุด และ ประเทศที่มีรายได้ต่ำอื่นๆ มีความเสี่ยงสูง หรือ มีปัญหาด้านหนี้สิน โดยระดับหนี้สินของประเทศเหล่านี้ เริ่มทะยานขึ้นไปอีก หลังเกิดการระบาดใหญ่ ซึ่งสถานการณ์ในประเทศยากจนที่สุดในโลกเหล่านี้ อาจมีส่วนทำให้การบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ของ "สหประชาชาติ" ล่าช้าออกไปอีก 10 ปี...
"สหประชาชาติ" แนะนำให้ประเทศต่างๆ ต่อต้านลัทธิวัคซีนชาตินิยม พร้อมจัดหาเงินกู้พิเศษให้ประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด รวมทั้งจัดหาเงินทุนและออกนโยบาย บรรเทาหนี้สินเพื่อช่วยประเทศเหล่านี้ รับมือกับการแพร่ระบาด และ ผลกระทบในเชิงลบได้
รองเลขาธิการ ของสหประชาชาติ "หลิว เจิ้นหมิน" ด้านกิจการเศรษฐกิจและสังคมกล่าวว่า "ช่องว่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจนนั้น จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ขณะที่ภาครัฐและเอกชน จำเป็นต้องลงทุน ในทุนมนุษย์ ประกันสังคม ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน และ เทคโนโลยี"
ที่มา: https://economictimes.indiatimes.com















