เปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ UPOV1991
ประเด็นการเข้าภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991) เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ เพราะเกิดความกังวลเมื่อไทยเข้า UPOV1991 แล้วจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร ทำให้ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองได้ และอาจถูกผูกขาดเมล็ดพันธุ์จนทำให้เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง
จากกระแสดราม่าที่เกิดขึ้นในสังคม สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ฯ จึงจัดเสวนาถกปมร้อน “CPTPP” เกษตรไทยเสียเปรียบจริงหรือ? ได้เชิญในส่วนข้าราชการ เอกชน และนักปรับปรุงพันธุ์ต่างๆ มาถกประเด็นต่างๆ เช่น ไทยจะเสียเปรียบ เกษตรกรจะติดคุก ทำให้ประเทศสู่ความหายนะ เกิดการผูกขาดแมล็ดพันธุ์ และตัดสิทธิเกษตรกรกรเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
หากดูจากข้อเท็จจริงข้างต้น ถ้าไทยเข้าร่วมก็ถือว่าทั้งนักปรับปรุงพันธุ์และเกษตรกรไทยไม่ได้เสียเปรียบอะไรเลย ยกตัวอย่างของเวียดนาม บริษัท Vinaseed ซึ่งเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ของเวียดนาม ได้วิจัยข้าว ข้าวโพด และพืชผักชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ภายในและส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปขายในลาว กัมพูชา ระบุว่า เวียดนามเป็นภาคี UPOV1991 แต่เค้าก็ไม่ได้รับผลกระทบตามที่หลายฝ่ายกังวล เพราะราคาเมล็ดพันธุ์ขึ้นอยู่กับกลไกตลาด เกษตรกรสามารถนำเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อและขายผลผลิตได้ ห้ามเพียงการนำเมล็ดพันธุ์ขายในแบรนด์ของเจ้าของพันธุ์เท่านั้น
ความกังวลเรื่องการละเมิดสิทธิ์นำพันธุ์ไปขึ้นทะเบียนบริษัท Vinaseed กลับไม่พบปัญหานี้ เนื่องจากต่างชาติเค้าไม่ได้มารู้ศักยภาพพื้นที่ ดินฟ้าอากาศ ความต้องการของตลาดมากกว่าเกษตรกรในท้องถิ่นเอง
แต่ทางตรงกันข้ามเวียดนามกลับได้สายพันธุ์ใหม่จากสมาชิก UPOV1991 มาช่วยพัฒนา โดยเฉพาะเงินลงทุนจากต่างชาติ เห็นได้จากสวนส้มโอ Trang Trai Ha Dan ซึ่งเกษตรรายนี้สามารถพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ส้มโอจนสามารถจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่มีลักษณะพิเศษตรงกับที่ตลาดต้องการ มีรายได้ 1 ล้านบาท/ปี ส่วนใหญ่เป็นการขายกิ่งพันธุ์และผลผลิตรองลงมา แถมยังทำให้ราคาของผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 30 บาท เป็น 120 บาท/ลูก
เอาจริงๆ เรื่องนี้ยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาต้นแบบ และพิจารณาการเข้าร่วมกันอีกนาน อย่างมาเลเซียเค้าก็ใช้เวลาเตรียมไป 4 ปี ขณะที่เวียดนามใช้เวลาถึง 5 ปี ดังนั้น จึงถือเป็นจังหวะเหมาะสมที่ไทยเราจะศึกษาเรื่อง UPOV1991 อย่างจริงจัง เพราะจะเป็นโอกาสในการรับพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามา และลดการผูกขาดจากรายใหญ่ได้