18 ภาพที่สะเทือนต่อประวัติศาสตร์โลก
8 พฤศจิกายน 1923 กบฏโรงเบียร์ หรือ กบฏมิวนิก (Munich Putsch) หรือที่ในเยอรมนีเรียกว่า กบฏฮิตเลอร์ (Hitlerputsch) หรือ กบฏฮิตเลอร์-ลูเดินดอร์ฟ (Hitler-Ludendorff-Putsch) เป็นความพยายามก่อการปฏิวัติอันล้มเหลวโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์–หัวหน้าพรรคนาซี พร้อมกับพลเอกเอริช ลูเดินดอร์ฟ–อดีตเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ และผู้นำหัวหน้าคัมพฟ์บุนด์คนอื่น ๆ -เพื่อยึดอำนาจในมิวนิก รัฐบาวาเรีย ในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 ด้วยจำนวนประมาณ 2 พันคนของเหล่านาซีได้เดินขบวนไปยังใจกลางเมืองของมิวนิก ที่พวกเขาได้ปะทะกับตำรวจซึ่งได้ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยคนของนาซีตายไป 14 คนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย ส่วนฮิตเลอร์เองไม่ได้รับบาดเจ็บในช่วงการปะทะ แม้ว่าเขาจะได้ล็อกแขนซ้ายไว้กับแขนขวาของแม็ก แอร์วิน ชัสเนอร์-ริซเตอร์ (Max Erwin von Scheubner-Richter) ผู้ซึ่งเมื่อเขาได้ถูกยิงและเสียชีวิต ได้ดึงตัวฮิตเลอร์มาที่เท้าของเขา ฮิตเลอร์ได้หลบหนีอย่างกระทันหันและมุ่งมั่นไปยังที่ปลอดภัยในชนบท ภายหลังสองวัน ฮิตเลอร์ได้ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าก่อกบฎ
29 ตุลาคม 1929 ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งลง วิกฤตเศรษฐกิจระอุ
9 พฤศจิกายน 1938 คืนกระจกแตก (Night of Broken Glass) หรือ คริสทัลล์นัคท์ ( Kristallnacht) หรือเรียก โพกรมพฤศจิกายน (November Pogrom(s); Novemberpogrome) เป็นโพกรมต่อยิวที่ดำเนินการโดยชตวร์มอัพไทลุง (SA) กำลังกึ่งทหารและพลเรือนทั่วนาซีเยอรมนีระหว่างวันที่ 9–10 พฤศจิกายน 1938 ทางการเยอรมันไม่ได้เข้าแทรกแซงใดๆ ชื่อ "คริสทัลล์นัคท์" (คืนคริสตัล) มาจากเศษกระจกแตกที่เกลื่อนพื้นถนนหลังหน้าต่างของห้างร้าน อาคารและธรรมศาลายิวถูกทุบทำลาย บริบทของเหตุดังกล่าวมาจากการลอบสังหารนักการทูตชาวเยอรมัน แอร์นสท์ ฟอม ราท โดย แฮร์มัน กรืนชปาน ยิวเชื้อสายเยอรมันและโปแลนด์ที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส
7 ธันวาคม 1941 การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีทางทหารอย่างน่าประหลาดใจของกองกำลังพิเศษทางอากาศแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การโจมตีครั้งนี้ได้เป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการเพิร์ลฮาร์เบอร์ นำไปสู่การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ผู้นำทางทหารญี่ปุ่นได้เรียกการโจมตีครั้งนี้ว่า ปฏิบัติการฮาวายและปฏิบัติการเอไอ และปฏิบัติการแซดในช่วงระหว่างการวางแผน
6 มิถุนายน 1944 การบุกครองนอร์ม็องดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัธ) มายังหัวหาดนอร์ม็องดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมันยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 (เรียก ดีเดย์)
6 สิงหาคม 1945 การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนางาซากิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม
14 พฤษภาคม 1948 อิสราเอลประกาศการก่อตั้งประเทศ
28 สิงหาคม 1963 มาร์ตินลูเธอร์คิงกล่าวสุนทรพจน์ "ฉันมีฝัน"
22 พฤศจิกายน 1963 การลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดีแห่งสหรัฐอเมริกา
4 เมษายน 1968 การลอบสังหาร Martin Luther King
5 มิถุนายน 1968 Robert Kennedy ถูกลอบสังหาร
20 กรกฎาคม 1969 นีลอาร์มสตรองลงจอดบนดวงจันทร์
3 พฤษภาคม 1979 Margaret Thatcher ณ บ้านเลขที่ 10 Downing Street
11 มีนาคม 1985 กอร์บาชอฟได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
9 พฤศจิกายน 1989 ทำลายกำแพงเบอร์ลิน
11 กุมภาพันธ์ 1990 รัฐบาลแอฟริกาใต้ปล่อยตัวแมนเดลาโดยไม่มีเงื่อนไข
31 สิงหาคม 1997 เจ้าหญิงไดอาน่าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
11 กันยายน 2001 เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 (ไนน์วันวัน) เป็นการการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐ ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามจากฝั่งตะวันออกกลางอัลกออิดะฮ์จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนั้นนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าว และไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ
ที่มา: http://www.qulishi.com/news/201605/103233.html