รังสี & เครื่องมือตรวจรังสี คืออะไร
รังสี เกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ โดยแหล่งที่ก่อให้เกิดรังสีมากที่สุดได้แก่ รังสีจากธรรมชาติ อาทิเช่น จากสารกัมมันตรังสีที่มีในพื้นดินสินแร่และสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันและการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยเฉพะการนำเอาหนึ่งในเทคโนโลยีและเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาใช้ นั้นก็คือเครื่องมือตรวจรังสีมาใช้ เพื่อการควบคุมดูแลให้ถูกต้องเหมาะสม ในการทำความเข้าใจการป้องกันอันตรายจากรังสีเป็นอย่างดี และยังสามารถใช้ประโยชน์จากรังสีได้อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่สุด
ความหมายของรังสี
รังสี เป็นพลังงานที่แผ่มาจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งซึ่งอาจสามารถทะลุผ่านวัตถุชนิด อยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออนุภาคที่เคลื่อนที่ก็ได้ โดยจะถูกปล่อยออกมาจากต้นกำเนิดรังสีในทุกทิศทุกทาง โดยคำที่ใช้ทั่วไปโดยอาจจะมีสองความหมาย คือ หมายถึงกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) หรือใช้ในอีกความหมายหนึ่งคือรังสี (Radiation) ต่างๆได้
- กัมมันตภาพรังสี
เป็นปรากฏการณ์ที่นิวไคลด์กัมมันตรังสีสลายและมีการปล่อยรังสีออกมา
- รังสี
พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสารในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว พลังงานของรังสีจะขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดนั้นๆ
รังสีสามารถเดินทางผ่านบรรยากาศ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- รังสีไม่ก่อประจุ (non-ionizing radiation)
เป็นรังสีที่มีพลังงานต่ำ อยู่ในช่วงต่ำของแถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น แสงอาทิตย์ แสงอินฟราเรด คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ เป็นต้น
- รังสีก่อประจุ (ionizing radiation)
เกิดจากอะตอมหรือธาตุที่ไม่เสถียร ซึ่งเรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม และทอเรียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการทำปฏิกิริยานิวเคลียร์
เหตุผลในการใช้เครื่องมือตรวจรังสี
การใช้เครื่องมือตรวจรังสี เพื่อควบคุมหรือประเมินความอันตรายเป็นเรื่องที่ซับซ้อน จึงมีหน่วยที่ใช้วัดหลายหน่วยด้วยกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด
งานสำหรับการป้องกันอันตรายที่เกิดจากรังสี
- สำหรับการป้องกันอันตรายจากรังสีภายนอกร่างกาย
- เครื่องสํารวจระดับรังสี (Radiation Monitor)
- อุปกรณ์บันทึกการได้รับรังสีประจําตัวบุคคล (Personal Dosimeter)
- สําหรับการป้องกันอันตรายจากรังสีเข้าสู่ภายในร่างกาย
- เครื่องวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสี (RadioactivityMonitor)
นอกจากนี้ หากต้องการวัดปริมาณรังสีที่แผ่ออกมา จะวัดโดยใช้หน่วยเดิมทีเรียกว่า คูรี (Ci) หรือหน่วยสากลเรียกว่า เบคเคอเรล (Bq) และการวัดปริมาณรังสีที่คนได้รับหรือที่ดูดซับโดยเนื้อเยื่อของร่างกาย จะวัดโดยใช้หน่วยเดิมที่เรียกว่า แรด (Rad: Roentgen absorbed dose) หรือหน่วยสากลเรียกว่า เกรย์ (Gr: Gray)