(ประวัติที่อาจลืม) สถานีกลางบางซื่อ เซ็นสัญญาสร้างสมัยอภิสิทธิ์ เริ่มก่อสร้างสมัยยิ่งลักษณ์
สถานีกลางบางซื่อ เป็นโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย เพื่อทดแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยตั้งอยู่ใจกลางศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564-2565 พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง
*** ประวัติที่คนไทยอาจลืม ***
ในคราวการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เมื่อ พ.ศ. 2552 ได้ออกแบบให้มีการก่อสร้างทางยกระดับบางส่วนสำหรับเข้าสถานีกลางบางซื่อ แต่ครั้งนั้นยังไม่อนุมัติให้มีการก่อสร้างตัวสถานี เนื่องจากปัญหาการบุกรุกพื้นที่ และความไม่ชัดเจนในการออกแบบตัวสถานี ทำให้มีการโยกงานติดตั้งเสาจ่ายไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า (OCS) ทั้งหมดไปรวมกับสายสีแดงเข้ม เพื่อเปลี่ยนระบบเป็นระบบไฟฟ้าในคราวเดียว จึงทำให้โครงการถูกทิ้งร้าง ไม่ได้มีการใช้งานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในคราวการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เมื่อ พ.ศ. 2552 ได้ออกแบบให้มีการก่อสร้างทางยกระดับบางส่วนสำหรับเข้าสถานีกลางบางซื่อ แต่ครั้งนั้นยังไม่อนุมัติให้มีการก่อสร้างตัวสถานี เนื่องจากปัญหาการบุกรุกพื้นที่ และความไม่ชัดเจนในการออกแบบตัวสถานี ทำให้มีการโยกงานติดตั้งเสาจ่ายไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า (OCS) ทั้งหมดไปรวมกับสายสีแดงเข้ม เพื่อเปลี่ยนระบบเป็นระบบไฟฟ้าในคราวเดียว จึงทำให้โครงการถูกทิ้งร้าง ไม่ได้มีการใช้งานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2553 ในสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติโครงการสถานีกลางบางซื่อ โดยถูกเสนอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง
ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ชั้นที่ 1 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟทางไกล ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link)ส่วนต่อขยาย (ช่วงพญาไท-บางซื่อ) แต่ในปีเดียวกันเกิดการยุบสภา โครงการจึงหยุดชะงักลง
ต่อมาในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เริ่มการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสถานีกลางบางซื่อ โดยเริ่มการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อใน "วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556"
*โดยมีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560*
โดยหลังจากการก่อสร้างได้ไม่นาน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อโดยปรับแบบความยาวชานชาลาเดิมจาก 250 เมตรเป็น 400 เมตร และเพิ่มชั้นที่ 3 เพื่อรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ส่วนต่อขยาย (ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ตามนโยบายประเทศไทย 2020 และงบประมาณสองล้านล้านบาท รวมถึงปรับแบบทางวิ่งรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต จาก 3 รางเป็น 4 ราง เพื่อให้รถไฟทางไกลสามารถวิ่งสวนกันได้โดยไม่ต้องจอดรอหลีก
แต่หลังจากนั้นไม่นานได้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 (ม็อบ กปปส.) การก่อสร้างจึงล่าช้าลงอีกครั้ง
ในปี พ.ศ. 2563 กรมการขนส่งทางบกได้พิจารณาเส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อกับสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) และสถานีหมอชิต ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท โดยเปิดเป็นสัมปทานการเดินรถในรูปแบบรถโดยสารไฟฟ้า โดยอาจจะนำรูปแบบของรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษมาใช้