“…พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต สมควรเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป
เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ เนื้อความเป็นไปในแบบเดียวกัน
ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2247 สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร)
เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย…
…เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม คลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัด
ระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่าความผิดครั้งนี้ถึงประหาร
ชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสีย
จึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้
แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใด
ครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ตัดศีรษะรูปดิน
นั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8
จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหาร
พันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น
ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล
ภายหลังเหตุการณ์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 ทรงโปรดให้นำศพพันท้ายนรสิงห์มาแต่งกายพระราชทานเพลิงศพ
และพระราชทานเงินทองสิ่งของแก่บุตรภรรยาพันท้ายนรสิงห์เป็นจำนวนมาก แล้วทรงพระราชดำริ ว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ
บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดตัดตรง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง
ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี และจะนำความเสื่อมเสียมาให้พระมหากษัตย์ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้กะเกณฑ์เลกหัวเมือง
จำนวนสามหมื่นคนไปขุดคลองโคกขามให้ลัดตรง กำหนดให้ลึก 6 ศอก ปากคลองกว้าง 8 วา พื้นคลองกว้าง 5 วา ให้พระราชสงครามเป็นแม่กลองอำนวยการขุด
( สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ในชุมนุมพระนิพนธ์ว่า ) พระราชสงครามให้ขุดแต่ปากคลองทางลำน้ำท่าจีนมาจนถึงตำบลโคกขาม แต่การ
ขุดค้างอยู่มาสำเร็จลงในราชกาลต่อมา ปรากฎเป็นคลองตรงและกว้างใหญ่เรียกว่าคลองมหาชัย อยู่ตราบเท่าอยู่ทุกวันนี้
.....นี่คือความจงรักภักดีของพันท้ายนรสิงห์ท้ายนรสิงห์
ที่มีต่อเจ้าเหนือหัวและความซื่อสัตย์ ที่มีต่อกฎหมายบ้านเมือง ยอมตาย
.....เพื่อมิให้กฎหมายบ้านเมืองคลายความศักดิ์สิทธิ์