เพราะการป้องกันดีกว่าการรักษา โรงพยาบาลนนทเวชเชิญชวนคุณสุภาพสตรีเข้ารับการตรวจัดกรองมะเร็งเต้านม ตลอดเดือนตุลาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้าน “มะเร็งเต้านม”
ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอได้ยินก็กลัวกันทั้งนั้น ยิ่ง “มะเร็งเต้านม” ถือเป็นภัยเงียบภัยร้ายใกล้ตัวคุณผู้หญิงที่น่ากลัวและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 เพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือนและที่สำคัญยังไม่มีวัคซีนป้องกันมะเร็งเต้านมเหมือนกับมะเร็งปากมดลูก วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้คือการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์เต้านม (Digital Mammogram with Breast Ultrasound) เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงมีความสำคัญเพราะการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอลคืออะไร สามารถบอกความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ระดับไหน
BIRADS 1 : ปกติ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี
BIRADS 2 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี
BIRADS 3 : พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยกว่า 2% ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน
BIRADS 4 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยง 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม
BIRADS 5 : พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงสูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม
มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยุคใหม่มีความตื่นตัวในการตรวจสุขภาพมากขึ้น และมีการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือการตรวจที่ทันสมัยขึ้นทำให้เราสามารถพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้เปอร์เซ็นต์การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมีมากขึ้น การรักษาให้หายจึงมีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมแท้จริงแล้วยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ไม่ทราบวิธีที่ป้องกัน ยกเว้นในกรณีที่เป็นกรรมพันธุ์ซึ่งทราบสาเหตุแน่ชัดซึ่งเราสามารถป้องกันได้
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
1.ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
- เพศหญิงจะเป็นมากกว่าชาย
- เชื้อชาติ ยุโรป ยิว จะเป็นมากกว่าคนเอเชีย
- อายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมสูงขึ้น
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือรู้ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดได้
- ประวัติการมีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้าจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
- ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง
- ความอ้วน
- การได้รับยาทดแทนฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
เราสามารถเลี่ยงการเป็น “มะเร็งเต้านม” ได้ คือ ควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมที่เลี่ยงได้ และหมั่นตรวจค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นให้ได้เร็ว โดยทั่วไปจะแนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง แต่มีการศึกษาจากต่างประเทศพบว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองพบมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นได้น้อย แต่ถูกนำมาแนะนำให้ใช้ในประเทศเรา เนื่องจากมีอุบัติการณ์การเกิดโรคยังต่ำ คือ 30 ต่อแสนเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกซึ่งพบมากถึง 100 ต่อแสน อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ การตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะทำให้โอกาสที่จะรักษาโรคระยะแรกให้หายขาดได้มากขึ้น
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีมาตรฐาน ประกอบด้วย
- การตรวจด้วยแพทย์หรือบุคลลากรที่ได้รับการอบรมโดยเฉพาะด้วยการคลำเต้านม
- การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ หรือตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น เช่น เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอกซ์เรย์แมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์ มักจะแปลผลเป็นศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก และมักจะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิด โดยเฉพาะเมื่อแปลผลเป็น BIRADS 1-5 มักจะทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ง่ายเพราะเป็นมาตรฐานการอ่านเพื่อสื่อความหมายให้แพทย์แต่ละสาขาเข้าใจกันได้ง่าย ไม่ใช่ระยะโรค
BIRADS 1 หมายถึง ไม่พบสิ่งผิดปกติเลย ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมติดตามทุกปี
BIRADS 2 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามทุกปี
BIRADS 3 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 2% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน
BIRADS 4 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ 20-50% ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม
BIRADS 5 หมายถึง พบสิ่งผิดปกติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้สูง ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อเพิ่มเติม
- การตรวจด้วยชิ้นเนื้อหรือเซลล์ สำหรับบางคนที่ตรวจพบโดยการคลำหรือพบสิ่งผิดปกติที่พบโดยเครื่องเอกซ์เรย์ แมมโมแกรมและ/ หรืออัลตร้าซาวด์ ในบางรายจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการนำชิ้นเนื้อไปส่งตรวจ การตรวจที่แม่นยำควรประกอบด้วยการตรวจทั้ง 2-3 อย่าง คือ ตรวจด้วยแพทย์ร่วมกับแมมโมแกรมและ/หรืออัลตร้าซาวด์หรือบางรายจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อร่วมด้วย จึงจะให้ความแม่นยำสูง
การนำชิ้นเนื้อไปตรวจสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถ้าก้อนที่คลำได้มักจะทำโดยการเจาะด้วยเข็ม มีทั้งเข็มขนาดเล็กที่สามารถทำได้เร็ว ง่าย ถูกต้อง แม่นยำ แต่แปลผลได้ยากเนื่องจากเป็นการอ่านด้วยเซลล์ ดังนั้นการใช้ต้องเลือกให้เหมาะสม หรืออาจใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อซึ่งได้เนื้อชิ้นใหญ่กว่าแต่ความแม่นยำต่ำกว่า ดังนั้นมักจะทำร่วมกับการใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือเข็มเจาะตรวจให้สามารถตัดชิ้นเนื้อที่คลำไม่ได้ร่วมกับเทคนิคการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้อัลตร้าชาวด์ ทำให้สามารถตัดก้อนโดยใช้แผลเล็กได้ นับเป็นความก้าวหน้าในการรักษาอีกทางหนึ่งด้วย
คุณผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน พราะการป้องกันดีกว่าการรักษา การค้นหาความผิดปกติได้เร็ว รีบรักษา มีโอกาสหายสูง และเพื่อเป็นการต้อนรับเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนแห่งการต่อต้านมะเร็งเต้านม ทางโรงพยาบาลนนทเวชได้จัดโปรดี ๆ มาดูแลผู้หญิงด้วยโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล พร้อมอัลตร้าซาวด์เต้านม ในราคาเพียง 3,039 บาทเท่านั้น คุณผู้หญิงท่านใดที่สนใจสามารถแวะมาใช้โปรของเราได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี 2563 ศูนย์รักษ์เต้านม โรงพยาบาลนนทเวช เวช พร้อมให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม พร้อมพยาบาลวิชาชีพ และเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้มาตรฐาน JCI ที่ทั่วโลกยอมรับ
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.nonthavej.co.th/Breast-Cancer-Screening.php
ขอบคุณข้อมูล : นายแพทย์ชนินทร์ อภิวาณิชย์
ศัลยแพทย์เฉพาะทางมะเร็งเต้านมและเสริมสร้างเต้านม
โรงพยาบาลนนทเวช https://www.nonthavej.co.th/Breast-Cancer.php