บันทึกการเดินทางศึกษาวิชา "ไวโอลิน" อาชีพสำคัญของผม
ในช่วงปี ๒๕๑๕ ขณะที่ผมกำลังอยู่บนเครื่องบินจัมโบเจ็ต ซึ่งบินจากกรุงบรัสเซล ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคมุ่งหน้าสู่มหานครนิวยอร์คเพื่อไปศึกษาวิชาการเล่นไวโอลินเพิ่มเติมนั้น และมองหาลู่ทางเผื่อที่จะหางานเล่นไวโอลินอยู่ที่เมืองนอกไปพร้อมๆกัน ผมได้มีโอกาสรู้จักนักไวโอลินมือเยี่ยมของโลกหลายท่านซึ่งเพิ่งเสร็จภารกิจการแสดงตามนครหลวงของ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป บ้างก็เป็นศิลปินจากยุโรปกำลังจะไปแสดงในอเมริกาตามหมายกำหนดการ ด้านธุรกิจการแสดง นอกจากเรื่องอาชีพของนักไวโอลินแล้ว เราได้มีเวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติหลาย ๆ ด้านต่อกัน ศิลปินเหล่านี้ได้ให้ ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเล่นไวโอลินให้ได้ฝีมือระดับสูงสุด ของในสายอาชีพนี้ ดังที่ผมจะนำมาถ่ายทอด ในหนังสือพาอาชีพ ให้ท่านทราบตามควร ดังนี้
นักไวโอลินทุกคนที่ได้ฝึกฝนมาถึงขั้นเป็นโซโล่อิสม์ (นักแสดงเดี่ยว) จำเป็นต้องเล่นเปียโนเป็นถึงระดับสูงขั้นที่ ๘ เป็นอย่างน้อย ซึ่งก็ควรจะเล่นเพลงวอลทซ์ของโชแบ่ง ทูพาท อินเว้นชั่น หรือแม้แต่ทีพารา-ของ บาค ก็ยิ่งดี และจำเป็นต้องเรียน วิชาประสานเสียง ทั้ง แบบสมัยเก่าและสมัยใหม่ด้วย เพราะทั้ง 6 วิชามันช่วยให้การเล่นไวโอลินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น ถ้าจะเล่นไวโอลินให้ดีจริง ๆ จะละเลยเสียมิได้
สิ่งที่ศิลปินเอก ๆ ท่านกล่าวแนะนำผมบนเครื่องบินนั้น ผมยอมรับว่าเป็นความจริงอย่างที่สุด การฝึกเปียโนมาจนถึงระดับสูงจะช่วยให้ประสาทหูเคยชินกับเสียงประสาน ของเพลงยุคและสไตล์ต่าง ๆ แถมกำลังนิ้วก้อยและนิ้วนางของมือซ้ายจะเพิ่มพลังขึ้นได้จนพอเพียง โดยอาศัยผลพลอยได้จากการหัดแบบฝึกหัดเปียโนของ ฮานอง, เซอน ฯลฯ ซึ่งเท่ากับยิงนกสองตัว โดยใช้กระสุนนัดเดียวนั่นเอง การหัดเปียโนจึงมีประโยชน์มหาศาลจริง ๆ
นอกจากนั้นความรู้ทางเปียโนของนักไวโอลินที่ฝึก เอาไว้ จะทำให้นักไวโอลินนั้น ๆ สามารถพยากรณ์ฝีมือ ของผู้ร่วมงานได้อย่างถูกต้อง ! นักเปียโนทั่ว ๆ ไปมัก ไม่มีฝีมือที่ดีพอที่จะเล่นเพลงโซนาต้ายาก ๆ คลอให้นัก ไวโอลินได้ ซึ่งถ้านักไวโอลินคนใดเล่นเปียโนไม่เป็นโดย ชั้นเชิงก็คงถูกหลอกมั่วเล่นสุกเอาเผากิน ซึ่งเป็นผลเสียหาย แก่นักไวโอลินอย่างมากมาย อาจถึงกับลม บนเวที และการเล่นได้รับความล้มเหลวจนถูก น.ส.พ. ประจำถิ่นวิจารณ์เสียหายย่อยยับเสียมวยไปเลยก็เป็นได้ เว็บไซต์เจ้าถิ่นเองก็ไม่น้อยหน้า ลงข่าววิจารณ์รุนแรงถึงขั้นอ่านแล้วต้องลมจับได้เลย ดังนั้นผมขอเขียนยืนยันว่านักไวโอลินระดับโลกจำเป็นต้องเล่นเปียโนให้เป็น เพื่อความก้าวหน้าทางศิลปะแขนงที่ตนประกอบอยู่ และป้อง กันการถูกนักเปียโนฝีมือสวะหลอกลวงท่านดังกล่าวแล้ว
อนึ่งสำหรับ ทฤษฎีการดนตรี และ ฮาร์โมน (การเรียบเรียงเสียงประสาน) นั้น จากประสบการณ์ของผม และตามที่อาจารย์ชั้นเยี่ยม ๆ ของนิวยอร์ค, สวีเดน, เดนมาร์คได้แนะนำให้ใช้ก็คือ หลังจากที่ท่านมีความรู้ ฮาร์โมนี่ขั้นมูลฐานถึงขั้น ดอมินันต์ ๗, 4 และ ๑๑ แล้ว ก็ควรศึกษาพวก โครมาติค ฮาร์โมนเพิ่มเติมโดยมิชักช้า และขอแนะนำหนังสือตำราต่อไปนี้คือ “ซุปเป้อร์ ซาวนด์ ซิมปริโฟด์” โดย ดร. เมารี ดอยทช์ “โมเดิร์น คีย์บอต ฮาร์โมนี้ โดย โจเซป พอลสัน/ ซูปเป้อร์ คอร์ด โดย ดร.เมารี ดอยทช์ หนังสือทั้ง ๓ เล่มนี้ผู้ ใช้จะต้องเล่นเปียโนเป็นจึงจะเล่นฟังเสียงออกมาเพื่อ การศึกษาได้ นี่แหละครับศิลปินเอกของโลกท่านจึงย้านัก ย้ำหนาว่า จะเป็นนักไวโอลินระดับโลกต้องรู้เรื่องเปียโน เทคนิค, เล่นได้ดีและ ฮาร์โมนี่ ต้องศึกษาสูงมาก ๆ ด้วย จะเอาแต่สีไวโอลินตะบี้ตะบันไปไม่ได้ ถ้าขึ้นทำอย่างนั้น ทางมันจะตัน โง่ไม่ทันเขาและแต่งเพลงไวโอลินเล่นเอง
อ้างอิงจาก: website