กฎหมายคุ้มครองสถาบัน
1 ราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญ มาตรา 88 พระมหากษัตริย์จะเป็นบุคคลที่ละเมิดมิได้ ต้องพึงเคารพและจะละเมิดกล่าวหาฟ้องร้องมีได้
2 ราชอาณาจักรภูฐาน ตามร.ธ.น. กล่าวไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงเกินจาบจ้วงและจะละเมิดกล่าวหาฟ้องร้องมิได้
3 ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญเดนมาร์ก พระมหากษัตริย์และสมเด็จราชินี จะถูกล่วงเกินจาบจ้วงมิได้ และจะถูกละเมิดฟ้องร้องกล่่าวหามิได้
4 ราชวงศ์ ญี่ปุ่น ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยว่า ศาลใดๆไม่มีอำนาจทางกฏหมาย เหนือองค์พระจักพรรดิ เพราะว่า พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
5 มาเลเซีย ตามอำนาจศาลพิเศษมีคำวินิจฉัยว่า สมเด็จพระราชาธิบดี ได้รับการปกป้อง ใครจะล่วงละเมิดมิได้ และไม่มีอำนาจใดๆเอาผิดทางกฏหมายได้
6 ราชอาณาจักรนอร์เวย์ รธน. มาตรา 5 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ จะถูกล่วงเกินจาบจ้วงล่วงเกิน และจะล่วงละเมิดฟ้องร้องกล่าวหามิได้ ( ยกเว้นคดีแพ่ง )
7 ราชอาณาจักรสเปน รธน. มาตรา 2 หมวด 56 กำหนดไว้ว่า พระ มหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพ จะละเมิดกล่าวหาฟ้องร้องมีได้ และมิต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เพราะรัฐบาลต้องรับผิดชอบตามกฏหมาย
8 ราชอาณาจักรสวีเดน ตาม รธน. บทที่ 5 มาตรา 8 กำหนดไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์และสมเด็จราชินีเป็นประมุขของประเทศ จะถูกล่วงเกินจาบจ้วงล่วงเกินและจะล่วงละเมิดฟ้องร้องกล่าวหามิได้ รวมถึงผู้สำเร็จราชการแทน
9 สหราชอาณาจักร ( บริเตนใหญ่ อังกฤษและไอร์แลนด์ ) ใช้กฏหมายสามัญ อันเกิดจากกฏหมายขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ใดจะละเมิดพระมหากษัตริย์และสมเด็จราชินีมิได้ จนถึงปี ค.ศ. 1947 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเกิด พ.ร.บ. ว่าด้วยการปฏิบัติต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินีและองค์รัฐทายาท ในคดีเกี่ยวกับทางแพ่งเท่านั้น
















