ดราม่าปะทุอีกครั้งในแอป TIKTOK เมื่อชาวกัมพูชาทวงคืนโขนว่าเป็นสิทธิ์ของกัมพูชา
ดราม่าปะทุอีกครั้งในแอปปริเคชั่น TIKTOK เมื่อชาวกัมพูชาทวงคืนโขนว่าเป็นสิทธิ์ของกัมพูชา
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 กระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทยได้ประกาศขอขึ้นบัญชีโขนเป็นมรดกโลก ทำให้ประชาชนในประเทศกัมพูชาไม่พอใจ และพากันแสดงความคิดเห็นว่าโขนเป็นวัฒนธรรมของคนกัมพูชาเท่านั้น
พอล เชมเบอร์ (Paul Chamber) จากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าเป็นการปลุกกระแสชาตินิยมกัมพูชามากกว่าจะการโต้เถียงเกี่ยวกับมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
ละโคนโขล กัมพูชา
ยูเนสโกได้พิจารณาขึ้นทะเบียน ละโคนโขลคณะวัดสวายอัณแดต (ល្ខោនខោល វត្តស្វាយអណ្ដែត) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
และกัมพูชาได้เขียนคำร้องแก่ยูเนสโกว่า "ขอแลกเปลี่ยนครูโขนจากประเทศเพื่อนบ้านไปช่วย รวมถึงบทละครที่กัมพูชายังไม่ครบสมบูรณ์"
ป.ล. สาเหตุที่ละครโขล (Lkhol Khol) ของประเทศกัมพูชา ถูกประกาศก่อนโขน (Khon) ของประเทศไทย ก็เพราะว่า องค์การยูเนสโก (UNESCO) พิจารณาเรียงตามอักษรขึ้นต้นของประเทศนั้น ๆ เช่น ประเทศกัมพูชาขึ้นต้นด้วยอักษร C (Cambodia) ก็ต้องถูกพิจารณาก่อนประเทศไทยที่ต้นด้วยอักษร T (Thailand)
ประวัติ
สุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์ชาวไทยให้ข้อมูลว่ามีการแสดงเรื่องรามายณะครั้งแรกในราชสำนักขอมแถบโตนเลสาบ ก่อนแพร่หลายมายังราชสำนักละโว้-อโยธยาและตกทอดสู่อาณาจักรอยุธยา โดยได้ปรับปรุงให้ต้องกับรสนิยมของตน อย่างเช่นเครื่องแต่งกายที่รับจากอินเดียและเปอร์เซียเป็นอาทิ
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักโบราณคดีชาวไทย ยกตัวอย่างตัวละครจากรามายณะตัวหนึ่งคือราวณะ ซึ่งมีสิบหน้าขยายออกมาด้านข้าง แต่หัวโขนทศกัณฑ์ของไทยมีสิบหน้าต่อขึ้นไปด้านบนซึ่งเป็นอิทธิพลจากขอมโบราณ ตามหลักฐานที่พบตามปราสาทหินของขอมต่างๆแต่กระนั้นก็ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าภาพแกะสลักดังกล่าวเป็นภาพการแสดงละโคนโขล
สุจิตต์อธิบายเพิ่มเติมว่าทั้งโขนและละโคนโขลใช้เครื่องดนตรีปี่พาทย์เป็นของพื้นเมืองของอุษาคเนย์อยู่แล้ว ส่วนกาพย์เป็นแบบแผนของขอม และบทเจรจาเป็นร้อยกรองดั้งเดิมของไทยและลาว
สัน พัลลา และชาย ดาวิน นักวิชาการของกระทรวงวิจิตรศิลป์และวัฒนธรรมกัมพูชา ระบุว่าละโคนโขลพัฒนาจากละครภาณีซึ่งเป็นการขับเรื่องมีแต่ยุคพระนครและแพร่หลายไปทั่ว
อย่างไรก็ตาม... ฮิเดโอะ ซาซางาวะ จากสถาบันวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยโซเฟีย ให้ข้อมูลว่า หากไทยรับโขนไปตั้งแต่ยุคนครวัดจริง ก็คงถูกปรับปรุงให้มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไปแล้ว ครั้นกัมพูชาตกอยู่ภายใต้อำนาจของสยาม สยามก็เอานาฏศิลป์ของตนเข้าไปเผยแพร่ และยุคที่กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส ในราชสำนักเขมรเองก็ยอมรับว่ามีนาฏศิลป์ไทยเป็นต้นแบบ
ปฐมพงษ์ สุขเล็ก อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ให้ข้อมูลว่า "...กษัตริย์เขมรได้เห็นการแสดงโขนไทย แล้วอาจหยิบเอาการแสดงโขนของไทยบางส่วน ไปปรับประยุกต์ฟื้นฟูโขนเขมรที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดยโขนของเขมร มีชื่อเรียกว่า ละโคนโขน อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยในช่วงนี้ มีแนวโน้มว่า ได้แพร่ขยายไปสู่เขมรค่อนข้างมาก"
จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่ากัมพูชานั้นรับโขนกลับจากไทยยุคต้นรัตนโกสินทร์และนำไปเผยแพร่ในชั้นหลัง
รองศาสตราจารย์ ศานติ ภักดีคำ อาจารย์ภาษาเขมร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่าบทพากย์เรียมเกร์ของเขมรซึ่งต้องใช้ประกอบในการแสดงละโคนโขลนั้นมีอายุน้อยกว่ารามเกียรติ์ฉบับภาษาไทย น่าจะได้ไปจากบทพากย์สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอย่างแน่นอน เพราะสำนวนมีความคล้ายกันอย่างมาก
ยุคหลัง
นางละครช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ที่นครวัด
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีได้ครูละครจากกรุงเทพฯ ไปเป็นละครนอก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีคณะละครผู้หญิงชาวสยามของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปเมืองเขมรช่วงที่รบกับญวน และได้กลายเป็นครูละครหญิงของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตารทรงหานางละครสยามจากกรุงเทพฯ ไปชุบเลี้ยง โดยมากได้นางละครจากเจ้านายวังหน้าไปเป็นครูละครในเมืองเขมรหลายคนการแสดงในช่วงนั้นนิยมแสดงเป็นภาษาไทยเพียงอย่างเดียวครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ทรงนำคณะละครนอกและละครในมาเล่นประสมโรง และเล่นเป็นภาษาไทยและเขมร ต่อมาพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิริวัฒนา มีความพยายามสร้างอัตลักษณ์ทางนาฏศิลป์เขมร เพื่อปลดเปลื้องอิทธิพลนาฏศิลป์ไทยออก
นอกจากละโคนโขลในราชสำนัก ก็ยังมีโขลเชลยศักดิ์ชายล้วน
จากราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ที่ปฏิบัติตามขนบอย่างกรุงเทพฯ ได้ออกมาเล่นนอกพระราชวังเพราะสิ้นความนิยม แต่จากภัยสงครามทำให้ครูละครล้มหายตายจากไปสิ้น หลงเหลือคณะละโคนโขลเพียงคณะเดียวคือที่วัดสวายอัณแดต
ทว่าเครื่องแต่งกาย และหัวโขนทำจากวัสดุพื้นเมือง มีครูละครโขนเพียง 5–10คนที่ล้วนแต่เป็นผู้สูงอายุ นิยมเล่นเพียงตอนกุมภกรรณทดน้ำ ด้วยสภาพไม่พร้อมเช่นนี้ จึงถูกเปรียบเทียบกับการแสดงของไทยว่าไม่ครบท่า ไม่ครบเพลง ไม่ครบเครื่อง หรือการแต่งกายไม่ได้ส่วนสัด เป็นต้น
ปัจจุบันละโคนโขลวัดสวายอัณแดตมีการจัดการแสดงเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งแสดงต่อเนื่องกันเจ็ดวัน แต่ปัจจุบันจัดเพียงสามวันเท่านั้น
แสดงด้วยนักแสดงชายล้วน มีการสวมหัวโขน บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิม พร้อมขับคำร้องตามทำนอง เพื่อสร้างความพอใจแก่เนียกทา เทพารักษ์ประจำชุมชนพอใจ และบันดาลฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลใน พ.ศ. 2562 มีชาวเขมรให้ความสนใจและพยายามอนุรักษ์ละโคนโขลด้วยการส่งลูกหลานไปหัดโขนวัดสวายอัณแดตราว 20 คน
😆 บทความโดย ไชยาพฤกษ์ ฯ.
========================================
ส่วนสาเหตุที่เกิดการปะทุอีกรอบเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อศิลปินชาวกัมพูชา แสดงการแต่งหน้าหนุมาน ในTIKTOK ก่อนคลิปวาดหน้าหนุมาน มีคลิปที่ศิลปินพูดภาษาไทย ประมาณว่า ‘ให้คนไทยเข้าใจด้วยว่าโขนไม่ใช่ของไทย แต่เป็นของเขมร’
ทำให้มีผู้ชมชาวไทยไปแสดงความคิดเห็นด้วยภาษาไทยว่า...
"ไม่สวย"
สร้างความไม่พอใจอย่างมากสำหรับศิลปินผู้นั้น ถึงขั้นต้องอัดคลิปอีกอันที่จงใจด่าคอมเม้นต์ชาวไทยโดยเฉพาะ แต่คราวนี้คนไทยไม่มาเดี่ยว จึงแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันไปมา จนศิลปินผู้นี้รับไม่ไหวกับคอมเม้นต์ชาวไทยที่พากันถล่มจนยับ จึงได้สร้างคำพูดปลุกระดม มีการแท็กเด็กนักเรียนในโพสต์นับร้อยคน และมีการแชร์ต่อๆกันไปในกลุ่มใหญ่ๆ
มิหนำซ้ำ หลังจากนั้น ศิลปินวาดหน้าลิงผู้นี้ก็ออกมาร้องไห้ไม่เลิกใน tiktok จนไปถึงหูฝรั่งต่างด้าว เน็ตไอดอลที่อาศัยอยู่กัมพูชา ออกมาติเตียนเรื่องนี้โดยเข้าข้างกัมพูชา
จึงทำให้เลือดความรักชาติเดือดพล่าน เป็นเหตุบานปลายให้มีการดราม่าเกิดขึ้น
อีกทั้งยังมีความพยายามจะอ้างถึงความเก่าแก่ของละโคลโขลว่ามากกว่าโขนไทย ซึ่งมีทั้งบทความหรือแม้กระทั่งภาพถ่ายที่อ้างอิงแบบงงๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น (ละโคลโขลที่อายุเก่าแก่กว่ากล้องถ่ายภาพ)
หรือแม้กระทั่งการสร้างคลิปตอบโต้ว่าโขนนั้นเป็นของเขมร เป็นไวรัลในTIKTTOK ถึงขั้นว่าปัดคลิปไปเรื่อยๆเจอแต่คลิปของชาวกัมพูชาล้วนๆ
เช่น คลิปร้องไห้โชว์ว่าให้คนมาสนใจละโคลโขล และโขลคือสมบัติของกัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว
คลิปด่าหยาบคาย
คลิปโหวตเชียร์ฝั่งไหน
และลามไปถึงการไปคอมเม้นต์ป่วยในTIKTOKของคนไทย เช่น เก่ง ธชย,
การทำคลิปล้อเลียนการรำของไทย
หรือแม้แต่กระทั่งไปป่วนด้วยคอมเม้นท์ Head speech บนTIKTOKของศิลปินแห่งแผ่นดิน อ.บิ๊ก พีรมณฑ์ ผู้ทำเสื้อผ้าให้โขนพระราชทาน
ส่วนบทสรุปดราม่าคราวนี้.... ก็สร้างความไม่พอใจให้กับผู้เล่นTIKTOKส่วนมาก เพราะผู้ใช้เค้าต้องารมาเสพความบันเทิงจากแอป ไม่ใช่มาดูสิ่งที่ทำให้เครียดกว่าเดิม จนเกิดเป็นกระแสตีกลับให้ฝั่งกัมพูชาอย่างหนักหน่วง ถึงขั้นมีการแจ้งสแปมให้TIKTOKแบน หรือลบคลิปออกเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ตอนนี้คลิปของทางกัมพูชาเลยซาลงไปมาก
==========================
ส่วนเรื่องโขนเป็นของใคร?
UNESCO ได้มอบให้ ‘Khon, masked dance drama in Thailand’ (การแสดงโขนในประเทศไทย) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ อย่างเป็นทางการแล้ว
ดังนั้น สิ่งนี้จึงเป็นมรดกของโลกที่มีที่มาที่ไปชัดเจน ต่างชาติสามารถมาเรียนรู้ได้ทุกคน....
แต่เคลมไม่ได้นะจ๊ะ อิๆ





















