เพจดัง สรุปแฮชแท็ก #saveครูวัง หลังมีดราม่า การสอนออนไลน์ จนขึ้นเทรนทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง
จากในวัน ที่ 18 พ.ค. 63 เป็นวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 จนมีดราม่ามากมาย
และนี่เป็นอีกหนึ่งดราม่า ..ที่ด้านเทรนทวิตอันดับหนึ่งไปในช่วงเช้าวันนี้ มีทวิตข้อความว่า "ควรแยกให้ออกด้วยระหว่างการ bully ปัจเจกบุคคล กับการวิพากย์ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยิ่งใหญ่กว่าการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ต้องแก้ไปด้วยกัน" "การโดน cyber bullying แบบนี้จะทำให้ความกล้าในการพูดภาษาอังกฤษของเด็กและคุณครูลดถอยลง"
ด้านเพจ Poetry of Bitch สรุปแฮชแท็ก #saveครูวัง
:
1- เมื่อวาน (18 พ.ค. 63) เป็นวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19
2- ซึ่งก็เกิดปัญหาขลุกขลักหลายอย่าง เช่น เข้าเว็บไซต์และแอปไม่ได้ หาช่องไม่เจอ เว็บล่ม ฯลฯ จนทำให้แฮชแท็ก #เรียนออนไลน์ ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ทวิตเตอร์ประเทศไทย
3- ในส่วนของสื่อการสอนนั้น ทางกระทรวงได้นำเทปเก่า ซึ่งเป็นการสอนของครูจาก รร.วังไกลกังวลมาใช้ โดยวิชาแรกเป็นวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ป.6 ซึ่งสอนโดยครูหญิงท่านหนึ่ง
4- เมื่อเทปการสอนนี้แพร่ภาพออกไป ก็เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการสอนของครูท่านนี้เป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องการออกเสียงและการใช้แกรมม่าที่ไม่ถูกต้อง
5- เช่น คำถามที่ว่า “ทานมื้อเช้าหรือยัง” ครูสอนให้เด็กพูดว่า “Have you breakfast?” แทนที่จะพูดว่า Have you eaten breakfast? หรือ Have you had breakfast? นอกจากนี้ยังมีจุดผิดพลาดอีกหลายอย่างในสื่อการสอน เช่น การใช้เครื่องหมายจุลภาค เป็นต้น
6- จึงเกิดการตั้งคำถามถึงกระทรวงศึกษาธิการว่า ทำไมไม่มีการควบคุมคุณภาพสื่อการสอนให้ดีก่อนเผยแพร่ เพราะเด็กจะจำไปใช้ผิด ๆ
7- เมื่อเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันในทวิตเตอร์ ครู รร.วังไกลกังวลคนหนึ่งก็ออกมาโพสต์ตัดพ้อว่า “ทวิตเตอร์สนุกไหม แต่ครูวังเหนื่อยมาก”
8- เกิดแฮชแท็ก #saveครูวัง ขึ้นในทวิตเตอร์ อ้างว่าแต่ละเทปกว่าจะได้มา ครูต้องทำงานหนักและเหนื่อยขนาดไหน ต้องทำสไลด์ข้ามวันข้ามคืน แต่กลับโดนด่าว่าเสีย ๆ หาย ๆ
9- รวมทั้งติงไม่ให้เหยียดสำเนียงครู เพราะแต่ละประเทศก็มีสำเนียงในการพูดภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน ขอให้ทุกคนให้เกียรติครูและไม่นำสำเนียงมาล้อเลียน
10- อีกฝ่ายก็ใช้แฮชแท็กเดียวกันตอบโต้ว่า ครูจะมาอ้างว่าเหนื่อยไม่ได้ ความเหนื่อยในการทำงานเป็นคนละประเด็นกับการสอนเนื้อหาผิด บอกว่าทำกันข้ามวันข้ามคืนแต่กลับทำได้แค่นี้ จนสุดท้ายเทปสอนผิด ๆ ออนแอร์ไปทั่วประเทศ
11- รวมทั้งตอบโต้ว่านี่ไม่ใช่การเหยียดสำเนียง แต่เป็นเรื่องของการออกเสียงผิด เช่นออกเสียง English เป็นอิงลิค Fine เป็นฟราย ฯลฯ อย่าลืมว่าครูสอนผิดเพียง 1 คน จะส่งต่อความรู้ที่ไม่ถูกต้องให้เด็กจำนวนมาก
ภาษาอังกฤษมาละ คาบแรก ป.6
— ต้าวแจ้ม 🦒 (@golferic1) May 18, 2020
Here comes the first online English class (P.6) https://t.co/wqEl9cfA8j pic.twitter.com/nftwPpQasv