เครื่องวัดไข้แบบไหนดี
เครื่องวัดไข้เป็นสิ่งจำเป็นมากๆสำหรับทุกบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กค่ะ ทุกฤดูกาล เด็กๆต้องมีไข้ อุปกรณ์ที่จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจเริ่มเช็ดตัวและหาคุณหมอค่ะ คลิปนี้แม่เมรีวิวอุปกรณ์วัดไข้ทั้งหมดที่มี เพื่อให้เห็นวิธีการใช้งานว่า ยากง่ายยังไง และได้ค่าที่แท้จริงมั้ย ทั้งนี้แม่เมขอให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดอุณหภูมิด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้พื้นที่ต่างกันในการวัด ดังนั้นค่าอุณหภูมิปกติอาจจะต่างกัน และการใช้ปรอทวัดไข้แบบแก้วด้วยนะคะ เนื่องจากค่อนข้างละเอียดเกี่ยวกับการใช้
อุณหภูมิร่างกายปกติไม่ควรเกิน 37.6 องศาเซลเซียส แต่หากมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.6-38.4 องศาเซลเซียส แสดงว่าเด็กมีไข้ต่ำ และหากสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะจัดว่ามีไข้สูง
📌วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบแก้ว การใช้เทอร์โมมิเตอร์ (ปรอทวัดไข้) ชนิดนี้ ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า แถบบอกอุณหภูมิอยู่ต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส ด้วยการสะบัดปรอทวัดไข้ก่อนใช้งานค่ะ และวิธีการใช้จะแต่งกันไปตามตำแหน่งที่ใช้งานดังนี้
การวัดไข้ทางปาก เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณไม่มีอะไรตกค้างในช่องปาก จากนั้นนำปรอทวัดไขสอดเข้าปากบริเวณใต้ลิ้น อมไว้ประมาณ 3-4 นาที จนกว่าค่าอุณหภูมิจะหยุดนิ่งค่ะ
การวัดไข้ทางรักแร้ เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยการนำปรอทวัดไข้สอดเข้าไปในรักแร้ให้ปลายปรอทที่ใช้วัดอยู่บริเวณกึ่งกลางของรักแร้ หนีบไว้อย่างน้อย 4 นาที จนค่าอุณหภูมิหยุดนิ่งค่ะ
การวัดไข้ทางก้น เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด หรือเด็กเล็ก โดยการนำปรอทวัดไข้มาทาด้วยสารหล่อลื่น เพื่อลดการเสียดสีทางทวาร จับให้ลูกนอนคว่ำจากนั้นค่อยสอดปรอทวัดไข้เข้าไปในก้นอย่างระมัดระวัง ประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร ค้างไว้ 2 นาที ให้ค่าอุณหภูมิหยุดนิ่ง การวัดทางก้นจะได้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำสูงกว่าตำแหน่งอื่น แต่การวัดด้วยวิธีนี้จะต้องมีความระมัดระวังเพราะอาจได้รับบาดเจ็บจากการวัดได้ค่ะ
CR: https://www.thaichildcare.com
📌กลุ่มLine สำหรับคุณแม่ท้อง คลอดก่อนกำหนด น้ำนมน้อย ปัญหาการดูแลลูก เรายินดีเป็นเพื่อนและกำลังใจให้คุณแม่ค่ะ http://nav.cx/2HkdOS1
📌คลิปใหม่ๆ คลิกเลย https://bit.ly/2jqvmjq
📌มีคำถาม Inboxมาในเพจได้นะคะ https://www.facebook.com/TheLittleBigThingsFc/
📌ตอนนี้พวกเรามี Website แล้วนะคะ: https://www.thelittlebigthings.net