หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ภาพเก่า ....เล่าตำนาน เบื้องหลังความโอ่อ่า สง่างามนาม ” ถนนราชดำเนิน”

Share แชร์บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ โพสท์โดย Somaster

ภาพเก่า ....เล่าตำนาน เบื้องหลังความโอ่อ่า สง่างามนาม ” ถนนราชดำเนิน”

ภาพเก่า ....เล่าตำนาน เบื้องหลังความโอ่อ่า สง่างามนาม ” ถนนราชดำเนิน”

ภาพเก่า ....เล่าตำนาน เบื้องหลังความโอ่อ่า สง่างามนาม ” ถนนราชดำเนิน”

ภาพเก่า ....เล่าตำนาน เบื้องหลังความโอ่อ่า สง่างามนาม ” ถนนราชดำเนิน”

ภาพเก่า ....เล่าตำนาน เบื้องหลังความโอ่อ่า สง่างามนาม ” ถนนราชดำเนิน”

ภาพเก่า ....เล่าตำนาน เบื้องหลังความโอ่อ่า สง่างามนาม ” ถนนราชดำเนิน”

กรุงเทพฯ ราชธานีแห่งสยามประเทศเริ่มต้นปฏิสนธิจากพื้นที่ดงต้นโสน มีป่าละเมาะเป็นหย่อมๆ เป็นพื้นที่น้ำท่วม น้ำหลาก น้ำท่วมขังเฉอะแฉะ มองไปที่ไหนแทบจะหาผู้คนไม่เจอะเจอ คูคลองเป็นหัวใจเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงให้ชาวกรุงใช้เรือไปมาหาสู่

         คำว่า “ ถนน “ แทบไม่มีใครเคยเห็น ชาวสยามในกรุงเทพ ฯ เพิ่งรู้จัก “ถนน “ เมื่อปีพ.ศ. 2407 นี่เองครับ

           ข้อความจากหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพของ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ( ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา ) มีคำบรรยายหน้าตากายภาพของกรุงเทพฯ ในอดีตที่น่าตื่นเต้นสำหรับคนไทยในพ.ศ. 2561 ดังนี้ครับ

       “ กรุงเทพเวลานั้น คือ ป่าเตี้ยปนละเมาะเราดีๆ นี่เอง มีทุ่งหญ้าแทรกแซงอยู่บ้างเป็นตอนๆ เพิ่งมีมนุษย์มาหักล้างถางที่ปลูกเคหสถานอยู่กันเป็นหย่อมๆ รอบพระนคร ริมกำแพงเมืองด้านใน มีราษฎร ซึ่งส่วนมากเป็นพวกทาส พวกเลข อาศัยปลูกเพิงหมาแหงนมุงจากอยู่กันเป็นระยะๆ ใช้กำแพงเมืองเป็นผนังด้านหลัง อีกสามด้านที่เหลือเป็นขัดแตะ......”

       ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ยังพรรณนาถึงกรุงเทพฯ ต่อไปอีกว่า “.....ที่ไหนเป็นที่ลุ่ม ไม่มีใครมาปลูกบ้านเรือนอยู่ ก็เป็นป่าโสนมืดทึบ หน้าน้ำ น้ำขังแค่บั้นเอว เช่นแถวบางลำพู คอกวัว...ส่วนทุ่งพระเมรุ            ( สนามหลวง : ผู้เขียน ) ก็ยังเป็นป่าหญ้ารก หน้าน้ำ น้ำเซาะเข้าขังเจิ่งเป็นที่ตกกบ ตกปลากินกัน ถึงหน้าแล้งก็ใช้สร้างเมรุกันเสียที เพิ่งจะใช้ทำนาเอาข้าวใส่บาตรในตอนหลังนี่เอง แม้ที่ว่ากลาโหมและยุติธรรม ซึ่งอยู่หน้าพระราชวังก็ยังเป็นโรงจากพื้นดินทุบราดกวาดเตียนพอหมอบกราบกันได้เท่านั้นเอง....”

         เห็นภาพของเมืองกรุงเทพฯ เมื่อ ร้อยกว่าปีที่แสนอ้างว้างเดียวดายลอยเด่นขึ้นมาในสมองชัดเจนครับ

         เจ้าพระมหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นในหลวงรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างเมืองหลวงใหม่และเป็นปฐมบทแห่งการก่อเกิดเมืองกรุงเทพฯ

    พระบรมมหาราชวัง ( พื้นที่ในบริเวณวัดพระแก้วฯ ) เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชบริพารต่อเนื่องมาจนถึงในหลวงรัชกาลที่ 5

      พื้นที่บริเวณรอบๆ พระบรมมหาราชวังเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจของแผ่นดินสยาม ชุมชนชื่อ เยาวราช เป็นที่รวมของชาวจีนกลุ่มใหญ่ที่อพยพเข้ามาปักหลักใช้ชีวิตในบางกอก ชายชาวจีนในเยาวราชยังคงไว้ผมหางเปียทำมาหากินกันคึกคัก ชาวจีนมีทักษะในการค้าขายเป็นเลิศ อพยพลงเรือแบบเสื่อผืนหมอนใบ เข้ามาอยู่ในสยามได้ไม่นาน จากหาบของขาย ขยับเป็นรถเข็นขายของ พัฒนาขึ้นเป็นเจ้าของร้าน และเติบโตแกร่งกล้าขึ้นเป็นบริษัท คนจีนที่อพยพเข้ามาส่วนมากเป็นเชื้อสายแต้จิ๋วประมาณร้อยละ 56 รองลงมา ได้แก่ จีนแคะ ร้อยละ 16 จีนไหหลำ ร้อยละ 11 จีนกวางตุ้ง ร้อยละ 7 จีนฮกเกี้ยน ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 12 ชาวจีนใช้ภาษาจีนสื่อสาร ทำการค้า ทำบัญชี

       คุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของชาวจีน คือ มีความสามารถในการทำบัญชีการค้า บวกลบคูณหารได้  

       ฝรั่งจากยุโรป แขกจากอินเดีย จากเปอร์เซีย พ่อค้าจากเมืองจีน ที่เข้ามาติดต่อค้าขาย มาทำมาหากินในกรุงเทพฯ บันทึกไว้ตรงกันว่า ถ้าต้องการติดต่อค้าทำมาค้าขายในสยาม ต้องติดต่อกับคนจีน เพราะคนจีนรู้วิธีทำมาค้าขาย

         นาย โรเบิร์ต ฮันเตอร์ ( Robert Hunter ) พ่อค้าชาว สก็อตที่แล่นเรือกลไฟเข้ามาค้าขายและตั้งห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในสยาม ( ต่อมานำตัวแฝดสยาม อิน-จัน ออกไปโชว์ตัวเก็บเงินในอเมริกา ) บรรยายสภาพการอยู่อาศัยของคนในกรุงเทพฯว่า คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะปลูกบ้านอยู่ตามริมแม่น้ำลำคลอง ที่ไหนมีคลองน้อยใหญ่ชาวสยามจะปลูกบ้านเกาะเลาะแนวตลิ่งเป็นหลักและชาวสยามอีกจำนวนมหาศาลอาศัยบนเรือนแพในแม่น้ำลำคลอง เรือนแพของชาวสยามเคลื่อนย้ายไปมาได้ทุกที่ น้ำหลาก น้ำท่วม น้ำแล้งไม่เคยเป็นปัญหา แฮปปี้ทุกสภาพอากาศ

       คนกรุงเทพฯ ไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือเป็นหลัก มีทางเดินบนบกไปมาหาสู่กัน แบบทางเดินในสวน ทางเดินริมตลิ่ง ที่เลี้ยวไปเลี้ยวมาตามธรรมชาติ

       คำว่า ”ถนน ” เป็นเรื่องที่ชาวสยามนึกภาพไม่ออก เป็นเรื่องไกลตัว ทำไมต้องมีถนน ? ในชีวิตประจำวันก็ใช้วัวควายเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของไปมาก็สมควรแก่เหตุ ภาพของถนนในบ้านเมืองอื่น ที่เป็นรูปเป็นร่างมีที่เดียวคือ บนเกาะสิงคโปร์

      กรุงเทพฯ เติบโตแบบก้าวกระโดดมีสีสัน เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 3 เปิดประเทศค้าขายจนร่ำรวยมีความเป็นแผ่นดินอินเตอร์ ถึงขนาดทำสัญญาค้าขายกับชาวต่างชาติ ฝรั่ง แขก จีน ญี่ปุ่นเข้ามาค้าขาย เข้ามาเผยแพร่ศาสนา เรือกลไฟวิ่งกันขวักไขว่ควันโขมงในแม่น้ำเจ้าพระยา

       ฝรั่งจากยุโรปเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น โดยเฉพาะพวกกงสุล นักการทูต อยู่มาวันหนึ่ง ฝรั่งกลุ่มนี้ได้รวมตัวกันขอให้ในหลวง ร. 4 สร้างถนนแบบมาตรฐานให้พวกฝรั่งขี่ม้าหรือนั่งรถม้า เดินเล่น ออกกำลังกาย ฝรั่งผิวขาวบ่นกันพึมพำเสียงดัง ต้องการถนน เพื่อการใช้ชีวิตกลางแจ้งและเพื่อการออกกำลังกาย คำขอของฝรั่งนี้ตรงพระทัยยิ่งนัก เพราะทรงไม่ต้องการให้ฝรั่งเข้าไปขี่ม้าในท้องสนามไชย

     ในหลวง ร. 4 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ) สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน เร่งเดินทางไปดูงานการก่อสร้างถนนและตึกแถวในเกาะสิงคโปร์ เมื่อกลับมาแล้วให้รับผิดชอบการก่อสร้าง โดยเริ่มลงมือเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2404 มีนายเฮนรี อาลบัสเตอร์ ( Henry Albaster ต้นสกุล เศวตศิลา ) รองกงสุลสถานทูตอังกฤษในสยามเป็นผู้สำรวจและเขียนผัง โดยจ้างชาวจีนก่อสร้างถนน แบ่งเป็น 2 ตอนคือ ในกำแพงและนอกกำแพงเมือง

       ถนนเส้นแรก ในสยามเป็นดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางสูงนูนเพื่อการระบายน้ำ สร้างตั้งแต่หน้าวัดโพธิ์ไปต่อกับถนนตอนนอกที่ตัดแล้วริมวังเจ้าเขมร ( สะพานดำรงสถิต ) ความยาว 25 เส้น 10 วา และยังโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกแถวตามแบบเกาะสิงคโปร์ ถนนทั้งสองตอนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2407 ชาวบางกอกเรียกว่า ถนนใหม่ ส่วนฝรั่งเรียกว่า นิวโรด ( New Road ) ชาวจีนเรียก ซินพะโล้ว แปลว่า ถนนตัดใหม่

         ในหลวง ร. 4 เสด็จไปทรงเปิดถนน จัดงานฉลองกัน 3 วัน 3 คืน และพระราชทานชื่อถนนนี้ว่า ถนนเจริญกรุง แปลว่า ถนนของบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ถนนแห่งแรกของสยาม กว้างราว 8 เมตรพร้อมกับก่อสร้างตึกแถว ไม่ช้าไม่นานถนนเจริญกรุง กลายเป็นเส้นเลือดใหญ่ทำให้พระนครเกิดการค้าขายคึกคัก มีชีวิตชีวาทันตาเห็น

         สายพระเนตรของในหลวง ร. 4 ทรงเล็งเห็นว่า ถนน คือ ความเจริญรุ่งเรือง ถนนเป็นตัวจุดประกายที่จะทำให้บ้านเมืองพัฒนา ประชาชนอยู่ดีกินดีต่อไปในภายภาคหน้า

       ลองมาดู ถนนราชดำเนิน พระเอกของบทความตอนนี้ครับ

       พ.ศ. 2440 เมื่อในหลวง ร. 5 เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ผู้บัญชาการกรมศุขาภิบาลเป็นแม่กองในการออกแบบก่อสร้างถนนราชดำเนินทันทีพร้อมกับการปรับปรุงพื้นที่ท้องสนามหลวง ถนนดังกล่าวจะเป็นเส้นทางระหว่างพระบรมมหาราชวังไปยังพระราชวังดุสิต

     ทรงตั้งพระทัยให้ถนนเส้นนี้ เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โต ภูมิฐาน สง่างาม เป็นอัตตลักษณ์ของบ้านเมืองและเพื่อให้ประชาชนได้เดินเที่ยวเล่นพักผ่อน โดยให้จัดวางรูปแบบตามลักษณะของย่าน ชองป์ เอลิเซ่ (Champs Elysees) ในประเทศฝรั่งเศสผสมผสานกับถนนควีนส์วอล์ค ( Queen’s Walk ) และถนนมอลล์ในลอนดอน ซึ่งพระองค์เพิ่งทอดพระเนตรมาจากยุโรป

     พระราชดำรัสของในหลวง ร. 5 ที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของบ้านเมืองให้เป็นอารยะในเรื่องการสร้างบ้านสร้างเมือง โดยเฉพาะการสร้างถนนราชดำเนิน ถนนประวัติศาสตร์ของสยาม เป็นดังนี้

     “ เปนถนนแฟตชันเนเปอลสำหรับขี่รถวนไปวนมา ที่ 2 ข้างนั้น ต่อไปจะต้องเปนวัง เปนออฟฟิชใหญ่ๆ ฤาบ้านผู้มั่งมี ที่จะตั้งร้านหยุมๆหยิมๆ ไม่ได้...เมื่อแก้ไขให้เปนทางใหญ่สำหรับประชุมคนไปเทียวเช่นนี้ คงจะกลับเปนทางคนไปมาเที่ยวเตร่ดีขึ้น นับเปนราษีของเมืองไทยสักอย่างหนึ่ง...”

   กล่าวกันว่า ถนน ชองป์ เอลิเซ่ เป็นถนนที่สวยที่สุดในโลก อยู่ในกรุงปารีส มีการจัดระบบการกระจายเส้นทาง ช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัว ถนนทั้งเส้นหลัก เส้นรองถูกออกแบบเป็นอย่างดี มีความความเป็นระเบียบ มีต้นไม้คอยให้ความร่มรื่น เป็นที่เชิดหน้าชูตาต่อคนทั่วโลก

           ในหลวง ร. 5 มีพระราชประสงค์ให้ถนนเส้นนี้ให้กว้างที่สุด และให้สองฟากฝั่งถนนเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการใหญ่ ๆ ตลอดสองฟากฝั่งถนนให้ปูอิฐทางเท้าและปลูกต้นไม้เพื่อความร่มรื่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก

     เมื่อมีการออกแบบขีดแนวถนนจะต้องแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ตอน

     พ.ศ. 2442 ถนนราชดำเนินนอก เกิดขึ้นก่อน เป็นถนนปูด้วยอิฐไม่มีคันถนน ในตอนแรกในหลวง ร. 5 มีพระประสงค์ให้แนวถนนผ่านไปยังเรือกสวนที่เปลี่ยวกลายเพื่อจะกลายเป็นทำเลการค้าที่มั่งคั่ง

   ต่อมามีการเปลี่ยนแนวใหม่ ไปผ่านตำบลบ้านหล่อ โดยกำหนดขนาดถนนรถสายกลางกว้าง 8 วา ปลูกต้นไม้กับทางเท้า 2 ข้างๆ กว้างข้างละ 5 วา ทางเดินทางสายนอกอีก 2 ข้างกว้างข้างละ 1 วา 2 ศอก ให้ปลูกต้นไม้ตามแนวถนนเดินเท้า    

      มีตำนานที่ผู้เขียนต้องขอนำมาเล่าสู่ลูกหลานครับ กรณีที่ดินแปลงใหญ่ที่เป็นทุ่งหญ้าใช้เลี้ยงวัวในกรุงเทพฯ เวลานั้น

     แขกกลุ่มหนึ่งอาจจะเป็นแขกอินเดีย ใช้ที่ดินแปลงใหญ่นี้เลี้ยงวัวที่ดินไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวังนัก ทุ่งหญ้าขนาดใหญ่อุดมสมบูรณ์สำหรับให้ฝูงวัวกินเป็นอาหาร เมื่อมีวัวก็ต้องมี “คอกวัว”

     แขกกลุ่มนี้เลี้ยงวัวเพื่อรีดนมวัวไปขาย ส่วนหนึ่งขายให้กับชาวต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งจากยุโรปที่บริโภคนมทุกวัน นมวัวเป็นธุรกิจที่ทำเงินเป็นล่ำเป็นสันแบบไร้คู่แข่ง   เมื่อสร้างถนนราชดำเนินมาผ่านบริเวณทุ่งที่แขกเลี้ยงวัว บริเวณนั้นจึงได้ชื่อตรงไปตรงมาว่า สี่แยกคอกวัว

          1 พฤศจิกายน 2446 ในหลวง ร. 5 เสด็จไปทรงเปิดถนนราชดำเนินนอกพร้อมกับเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์

     พ.ศ. 2444 ในหลวง ร.5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนราชดำเนินกลางต่อจากถนนราชดำเนินนอก และโปรดฯ ให้กรมศุขาภิบาลปลูกต้นมะฮอกกานี ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 19 สิงหาคม 2448 ถึงเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์มีความว่า

       “ ด้วยเข้าใจว่าต้นมหอกคินี ยังมีอยู่อีกมาก เห็นว่าที่ข้างถนนราชดำเนินกลางแถวในทั้ง 2 ข้าง การที่จะทำตึกก็ยังจะช้า ถ้าปลูกต้นมหอกคินีเสียข้างละแถว อย่างต้นหูกวางถนนราชดำเนินนอกจะดี เมื่อจะทำตึกเมื่อไร จึงตัดต้นมหอกคินีเสีย เอาไม้ไปใช้ทำอะไรๆ ก็ได้ ให้คิดอ่านปลูกต้นมหอกคินีตามที่ว่านี้ “

     ในหลวง ร. 5 ท่านทรงใส่พระทัยในกิจการสร้างบ้านสร้างเมืองอย่างละเอียดรอบคอบทุกขั้นตอน

      มีการสันนิษฐานว่าในหลวง ร. 5 น่าจะโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง ถนนราชดำเนินใน พร้อมกับการปรับพื้นที่ท้องสนามหลวงจากทรงสี่เหลี่ยมคางหมูให้เป็นวงรีในปี พ.ศ. 2442

         การก่อสร้างแล้วเสร็จทั้ง 3 ตอนใน พ.ศ. 2446

        โปรดเกล้า ฯ ให้บริเวณโคนต้นไม้สองข้างถนนมีเก้าอี้ม้ายาวเหล็กให้นั่งเล่น มีเสาไฟฟ้าสั่งซื้อจากต่างประเทศตามรายทางข้างถนน

       การก่อสร้างถนนราชดำเนิน ทำให้บ้านเมืองก้าวหน้าไปอีกขั้น โดยโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนแปลงระเบียบการเวนคืนที่ดินเสียใหม่ โดยให้รัฐบาลซื้อที่ดินจากราษฎรที่ถูกตัดมาเป็นถนนทุกราย ราษฎรจะได้รับค่าเวนคืนที่ดินจากรัฐบาลเป็นการตอบแทน เป็นปรากฎการณ์ใหม่ของสยามและต่อมารัฐบาลประกาศใช้ “ พระราชบัญญัติสร้างถนนหลวง ร.ศ. 123 ”

       ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ราษฎร โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคม

       กรุงเทพฯ ราชธานีแห่งนี้ได้รับการพัฒนาจากการคมนาคมทางแม่น้ำลำคลอง มาเป็นการคมนาคมทางบก เป็นการสร้างบ้าน สร้างเมืองให้ศิวิไลซ์ทันสมัย

       บ้านเมืองมีชีวิต บ้านเมืองต้องการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถนนราชดำเนิน ที่เกิดขึ้นตามพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 5 โอ่อ่าสง่างาม เป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าภูมิใจ ประดุจอัญญมณีหลากสีสัน งดงามและทรงคุณค่าและได้ใช้ประโยชน์มาจนปัจจุบัน

   ชาวไทยทั้งหลายควรรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ได้สร้างสมความดีงามแก่แผ่นดินเกิดตกทอดมาถึงเราจนทุกวันนี้

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: http://nipatthonglek.blogspot.com/2018/03/blog-post_31.html
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Somaster's profile


โพสท์โดย: Somaster
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: ALPHAThonburi
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ยิ้มอ่อนกับเขมรรายวัน : สื่อและคนเขมรดราม่ากันเอง อยากให้มีการจัดสงกรานต์ แต่อยากจะแบนไม่ให้มีการเล่นปืนฉีดน้ำกัน เนื่องจากปืนฉีดน้ำ เป็นการแสดงวัฒนธรรมไทย (What?)ประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบัน10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้าเปิดบ้านซุปตาร์ "ลิซ่า BLACKPINK" ที่เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 200 ล้าน..ฉลองวันเกิดครบ 27 ปีCIB ร่วม อย. ทลายแก๊ง ขายอาหารเสริม อาหารหลอกรักษาโรคร้าย มูลค่ากว่า 10 ล้านบาทหลวงพี่เขมรแนะชาวเขมร ว่า..“ไทยเอาคำว่า‘สงกรานต์‘ไปแล้ว งั้นเขมรเราใช้คำว่า ’มหาอังกอร์สงกรานต์‘ ดีไหม? เพราะคำนี้มันใหญ่กว่าสงกรานต์ธรรมดา”รวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ยิ้มอ่อนกับเขมรรายวัน : สื่อและคนเขมรดราม่ากันเอง อยากให้มีการจัดสงกรานต์ แต่อยากจะแบนไม่ให้มีการเล่นปืนฉีดน้ำกัน เนื่องจากปืนฉีดน้ำ เป็นการแสดงวัฒนธรรมไทย (What?)รวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้าประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีมูลค่าการส่งออกทองคำมากที่สุด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
“กางเกงท้องถิ่นไทย” คุณประโยชน์ด้าน Sustainable Fashionปัญหาใหญ่ที่สุดในลาวตอนนี้ ที่อาจจะไม่สามารถเเก้ไขได้disgusting: น่าขยะแขยง น่ารังเกียจประเทศที่ระบบการศึกษา มีมาตรฐานดีเยี่ยมมากที่สุดในปัจจุบัน
ตั้งกระทู้ใหม่