ภัยแล้ง+โควิด-19 เมื่อทั้งสองมาเจอกัน คุณจะรับมืออย่างไร ไปเตรียมตัวพร้อมกันครับ
เมื่อทั้งสองปัญหามาเจอกันในประเทศไทยคุณจะรับมืออย่างไร
เราก็เป็นคนทำมาหากิน สิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะทำได้และประสบปัญหาเศรษฐกิจในอนาคตให้น้องที่สุด ปัญหาที่จะมาคือมีสัญญาณภัยแล้งในปีนี้ ปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง ภัยแล้งปี 63 มาเร็ว รุนแรง และยาวนานกว่าทุกปี ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สนทช. คาดการณ์ว่าภัยแล้งปี 2563 อาจมีพื้นที่เสี่ยงภัยถึง 43 จังหวัด ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนปัจจุบัน เขื่อนขนาดใหญ่ 11 แห่ง มีน้ำน้อยเข้าขั้นวิกฤต ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำนางรอง เขื่อนลำแซะ เขื่อนกระเสียว เขื่อนทับเสลา เขื่อนแม่วง เขื่อนแม่มอก และเขื่อนคลองสียัด โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีปริมาณน้ำใช้การได้จริง ติดลบ 4% แล้ว ทำให้ตอนนี้ต้องนำน้ำก้นเขื่อนมาใช้ และทางกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ไทยจะต้องเผชิญกับภาวะฝนแล้งไปจนถึง มิ.ย. 63 ส่วนช่วงต้นปีฝนจะตกต่ำกว่าค่าปกติ 3-5% ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่าจะมีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อมแน่นอน
ประสบปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19
เหตุที่สองกับการประสบปัญหาเชื้อร้ายที่ทำให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจลดช้าลง ซึ่งการจับจ่ายการตลาด ห้างสรรพสินค้า เงียบเหงาลงไปในทันที การซื้อขายลดน้องลง ส่งผลให้รายได้ของเราๆ ลดลงตามไปด้วย เราจะต้องมีการดูแลเรื่องกระเป๋าสตางค์ของเราให้ดีๆ
วันนี้ผู้เขียนก็มีวิธีมาให้ผู้อ่านได้ปฏิบัติกัน กับ 5 ข้อห้ามเรื่องการเงิน ที่ไม่ควรทำในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีที่กำลังจะมีเยี่ยมเยียนเรา หรือหลายๆคนก็ถูกเยี่ยนเยียนกันไปบ้างแล้ว
1. อย่าค้ำประกันให้ใครเด็ดขาด
ข้อนี้อย่าว่าแต่ในยามเศรษฐกิจอ่อนแอเลย บางคนตั้งปณิธานไว้จะรักกันแค่ไหนก็จะไม่ค้ำประกันให้ใครเด็ดขาดหลายคนต้องเจอบทเรียน บาดเจ็บ ชีวิตสะดุดจากการค้ำประกันให้ผู้อื่น เข้าข่ายเนื้อไม่ได้กินแต่เอากระดูกมาแขวนคอเพราะการค้ำประกันคือการสัญญาว่าบุคคลหนึ่งสัญญาว่าจะชดใช้หนี้แทนลูกหนี้หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี โอกาสที่ลูกหนี้จะเบี้ยวหนี้ก็มีสูง นั่นหมายความว่าหากเราหลวมตัวไปค้ำประกันให้ใครโอกาสที่จะต้องรับชำระหนี้แทนนั้นก็จะมีสูงขึ้นนั่นเองครับตัดไฟตั้งแต่ต้นลม จงอย่าค้ำประกันให้ใคร ส่วนใครที่จำเป็นจริง ๆ ก็อ่านดูสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็นค้ำประกัน โดยทั่วไปจะแบ่งความรับผิดชอบหนี้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.รับผิดชอบหนี้ไม่จำกัดจำนวน เสมือนเป็นลูกหนี้ทุกประการ ต้น-ดอก หรือหนี้อื่น ๆ รับหมด
2.จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึงรับผิดชอบหนี้ไม่ทั้งหมดของหนี้สิน รับผิดชอบเพียงบางส่วนเท่านั้น
พิจารณาให้ดี อย่าเซ็นให้ใครสุ่มสี่สุ่มห้า แม้ว่าอดีตหรือวันนี้เขาอาจจะยังไม่เคยมีประวัติหรือมีปัญหามาก่อน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอนาคตเขาจะไม่มีวันเบี้ยวหนี้ครับ
2. พักไว้ก่อนหากคิดจะลงทุนเพิ่มในธุรกิจ
ในยามเศรษฐกิจอ่อนแอแน่นอนการค้าการขายหรือผลกำไรย่อมลดลง ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างคิดหาหนทางที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นเพื่อดึงยอดขายและกำไรกลับมา
หนึ่งในวิธีการเพิ่มกำไรคือ การลงทุนเพิ่ม จะเป็นการเปิดสาขาใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย หรืออย่างอื่นที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ตรงนี้ขอบอกว่าพักไว้ก่อนเพราะอาจเป็นความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งหากการลงทุนเพิ่มต้องกู้เงินเพิ่มหนี้ ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพราะระยะเวลาการคุ้มทุนในยามเศรษฐกิจอ่อนแอย่อมมีมากขึ้น หากต้องการเพิ่มยอดขายให้กลับมาอาจเริ่มที่การปรับลดรายจ่าย หรือถ้าเป็นคนค้าขายอาจขยายเวลาการปิด-เปิดออกไป สรุปปรับที่พฤติกรรมหรือเพิ่มโปรโมชั่นดีกว่าลงทุนเพิ่ม เพราะนั่นคือการเพิ่มความเสี่ยงค่ะ
3. อย่านำเงินสำรองฉุกเฉินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น
6 เท่าของรายจ่ายรายเดือน คือเงินสำรองฉุกเฉินขั้นต่ำที่กำหนดไว้ตามหลักการวางแผนการเงินส่วนบุคคล วัตถุประสงค์หลักคือเป็นเงินที่จะสามารถนำมาเยียวยาความฉุกเฉินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นตกงาน ประสบอุบัติเหตุ ธุรกิจประสบปัญหา ฯลฯ
บางคนไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินหรือธุรกิจ หรืออาจยังไม่รู้สึกว่าตนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ชะล่าใจ ควักเงินสำรองฉุกเฉินออกมาใช้โดยไม่จำเป็น จนสุดท้ายในยามที่เศรษฐกิจไม่ดีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในชีวิต อาจจะไม่มีเงินรองรังใช้ในยามฉุกเฉินได้
4. หลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ใหม่
อะไรที่เหนือความจำเป็น เว้นวรรคพักหนี้ไว้ก่อนเถอะค่ะ ไม่ว่าคุณจะวางแผนเปลี่ยนรถคันใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม หรือซื้อบ้านหลังที่สองไว้ตากอากาศ เพราะตอนเศรษฐกิจอ่อนแอแบบนี้ อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ ถนอมเนื้อถนอมตัว อย่าเพิ่งสร้างหนี้ใหม่ให้เป็นภาระเลยจะได้ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบห่วงหน้าพะวงหลังสร้างความไม่สบายใจเสียเปล่า ๆ ครับ
5. อย่าลงทุนหวือหวาหวังรวยเร็วโดยไม่มีความรู้
คนที่ตั้งหน้าตั้งตาจะหาเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำโดยนำความโลภเป็นที่ตั้ง อาจนำพาตัวเองไปลงทุนในช่องทางที่หวือหวาโดยไม่มีความรู้ เช่น พวกหุ้นปั่นทั้งหลาย ช่องทางการลงทุนที่ไม่ชอบมาพากล เช่น พวกแชร์ลูกโซ่ หรือการหลอกให้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่อาจไม่มีอยู่จริงโดยมีผลตอบแทนสูงเย้ายวนใจผู้ลงทุน ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ และเป็นกอบเป็นกำในระยะเวลาอันรวดเร็วหรอกค่ะ ที่สำคัญ อย่าลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่มีความรู้เป็นที่ดีที่สุด เพราะโอกาสผิดพลาดมีสูง
เช่นเดียวกับการเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวในยามเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ หากคุณเห็นลู่ทางก็พอได้ ขอให้เป็นธุรกิจที่คุณรู้จริง และอย่าเริ่มต้นด้วยการทุ่มเงินลงทุนมูลค่าสูงตั้งแต่แรก ให้เผื่อเหลือเผื่อขาดและเตรียมตัวเตรียมใจกับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในยามเศรษฐกิจอ่อนแอเอาไว้ด้วย ลองวิเคระห์ว่าธุรกิจของคุณได้รับผลกระทบอย่างไรในยามเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้
สรุป
เศรษฐกิจไม่ดีในภาพใหญ่ บางคนอาจจะคิดว่าไกลตัว แต่แท้จริงแล้วล้วนมีผลกระทบกับเราทั้งสิ้น ดังนั้นการเตรียมพร้อมรับมือและระมัดระวังตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
แม้ว่าวันนี้เศรษฐกิจอาจจะอ่อนแอ วันหน้าอาจดีขึ้นกว่าเดิมหรืออาจแย่กว่าเดิมจนกลายเป็นวิกฤติเลยก็ได้ เพราะมีทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ
ในเมื่ออนาคตเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้
“เราจึงต้องพร้อมเสมอ และไม่ประมาทกับทุกสถานการณ์ครับ” สุดท้ายนี้หากชอบในบทความสามารถกดแชร์เพื่อให้เพื่อนๆผู้อ่านตระหนักถึงอนาคตที่กำลังจะมาถึงนะครับ สวัสดีครับ