หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความเป็นมาของชาวไทใหญ่ในภาคอีสาน

โพสท์โดย Conan Notkill

ประวัติ ชนเผ่าชาวไทยกุลา จังหวัดมุกดาหาร
        คำว่า “กุลา” มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น กุลา คือพวกเงี้ยวหรือตองซู่ในรัฐไทยใหญ่ของพม่า เงี้ยวหรือตองซู่ เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานในอดีตเรียกขาน และตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพวก “กุลา”คำว่า “กุลา” เดิมหมายถึง พวกแขกบังคล่า (บังคลาเทศ ในปัจจุบัน) 

        ชาวไทยกุลาหรือเงี้ยวรูปร่างสูงใหญ่นุ่งกางเกงขายาวปลายบาน โพกศีรษะทรงสูงเข้ามาค้าขายในภาคอีสานก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพวกแขกบังคล่าจึงเรียกพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยวว่ากุลา ต่อมาเมื่อเห็นพวกแขกขาวเช่นมาจากอาฟกานิสถาน อิหร่าน ฯลฯก็เลยเรียกว่าพวกกุลาขาว และเรียกพวกมาจากบังคลาเทศจากอินเดีย และจากพม่าว่ากุลาดำพวกเงี้ยวหรือกุลาชอบเร่ร่อนมาค้าขายในภาคอีสานจนมีชื่อเป็นอนุสรณ์ว่าทุ่งกุลาร้องไห้ พวกกุลาชอบนำเอาผ้าแพรพรรณ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง มีด ดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสาน แล้วซื้อวัว ควาย กลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากแต่งงานกับชาวไทยอีสานและผู้ไทย เช่น ที่เมืองเรณูนคร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนมและที่เมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมากุลาเหล่านี้ ี้ในอดีตมีสัญชาติ และอยู่ในบังคับในอดีตเรียกว่าอยู่ในสัปเยกต์ (SUBJECT-บังคับ)ของอังกฤษ เพราะพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อกุลาเกิดคดีความขึ้น ต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้งกุลามีรูปร่างสูงใหญ่ชอบนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาวปลายบานถึงข้อเท้าและโพกศีรษะทรงสูงในสมัยรัชกาลที่ 5 กุลาหรือเงี้ยวนำฝิ่นมาค้าขายอยู่ในเขตเมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหารเป็นจำนวนมากต่อมาได้ตั้งรกรากอยู่ที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมื่อ พ.ศ. 2446 ทางเมืองมุกดาหารต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาช่วยปราบปราม เมื่อปราบปรามเสร็จแล้วจึงแยกย้ายพวกกุลาให้แยกกันออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองหนองสูง รวมทั้งในเขตอำเภอคำชะอี หลายหมู่บ้าน ส่วนบริเวณทุ่งหมากเฒ่าต่อมาได้ตัดแบ่งเขตให้ไปอยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านขุมขี้ยาง ในปัจจุบัน

        กุลา คือชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่ ที่เดินทางค้าขายอยู่ในภาคอีสาน ในพงศาวดารภาคที่ ๔ เรียก พวกกุลา ว่า นายกองตองสู หรือ ตองสู้ หรือ ต้องสู้ชาวกุลาคงจะเดินทางเร่ขายสินค้าในภาคอีสานนานแล้ว จนมีชื่อเรียกทุ่งกุลาร้องไห้ (ซึ่งเป็นทุ่งที่กว้างใหญ่ มีพื้นที่ติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสุรินทร์) การเร่ขายสินค้าของชาวกุลาหรือต้องสู้นี้ จะเดินทางเป็นกองพ่อค้าวัวต่างจำนวนมาก บางคณะอาจจะมีถึง 100 คนหลักฐานเอกสารที่บันทึกเรื่องราวของชาวกุลานี้ พบเก่าที่สุดในปี พ.ศ. 2381 (รัชกาลที่ 3) ข้อความบันทึกของราชการที่กักตัวพวกกุลา หรือต้องสู้ที่เดินทางค้าขายในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ตาก สวรรคโลก และกำแพงเพชร ส่วนภาคอีสานนั้น ปรากฏเอกสารเก่าที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่บันทึกเรื่องราวของชาวกุลาในภาคอีสาน นั่นคือบันทึกเรื่องราวขัดแย้งระหว่างต้องสู้ กับเจ้าเมืองร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิและขอนแก่น กรณีโคประมาณ 600 ตัวที่ต้องสู้ซื้อในเมืองเหล่านี้ บันทึกมีว่า ต้องสู้ได้ซื้อโคในร้อยเอ็ด 66 ตัว ในสุวรรณภูมิ 178 ตัว และในขอนแก่น 333 ตัว แล้วเจ้าเมืองเหล่านี้ก็ยึดโคทั้งหมดไว้ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองเหล่านี้ ชดใช้ราคาโคแก่ชาวต้องสู้ ซึ่งขณะนั้นรออยู่ที่กรุงเทพฯ โดยให้ขายโคคืนแก่เจ้าของเดิม หรือขายให้ใครก็ได้เพื่อนำเงินมาชดใช้ให้ต้องสู้ แต่เจ้าเมืองเหล่านี้ก็ดำเนินการช้ามาก ทางกรุงเทพฯ จึงต้องจ่ายเงินค่าโคให้ต้องสู้ไปก่อน 2,763.5 บาท แล้วสั่งให้เจ้าเมืองใช้เงินคืนให้ทางกรุงเทพฯ โดยไม่ชักช้าเจ้าหน้าที่กรุงเทพฯ เองก็สงสัยอยู่ว่า พม่า-อังกฤษ (ขณะนั้นพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว) มีความในใจอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังการค้าของต้องสู้ และสั่งให้เจ้าเมืองในภาคอีสานมิให้ขายโคกระบือแก่ชาวต่างชาติ

        เหตุการณ์ในภาคเหนือและภาคอีสานครั้งนั้น ก่อให้เกิดความยุ่งยากเกี่ยวกับการค้าในระยะแรกๆ มาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับสัตว์พาหนะได้ถดถอยลง จนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ทางไทยห้ามค้าในที่สุด ส่วนพวกต้องสู้ที่เป็นพ่อค้าเร่ในภาคเหนือ บางทีก็ถูกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจับพลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วยเหตุการณ์ในร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิ และขอนแก่น เกิดขึ้นก่อนที่ สนธิสัญญาบาวริง ซึ่งได้รับการให้สัตยาบันในวันที่ 5 เมษายนพ.ศ. 2399 จะมีผลบังคับใช้ข้อแรกของสนธิสัญญานี้บังคับว่า ต้องรับประกันว่าบุคคลในบังคับอังกฤษที่เดินทางมาประเทศสยาม จะต้องได้รับความคุ้มครอง และได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากรัฐบาลสยาม ในการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัยและอำนวยความสะดวกทางการค้าอย่างดีและผลประโยชน์ของบุคคลในบังคับอังกฤษทุกคน จะต้องได้รับการคุ้มครองจากกฎระเบียบของกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ตลอดทั้งการพิพากษาคดีความ คนในบังคับอังกฤษมีสิทธิเดินทางได้ทั่วไป ภายใต้การคุ้มครองของหนังสือเดินทางของอังกฤษ และตราประทับร่วมของเจ้าหน้าที่ไทยที่กำหนดชื่อไว้โดยเฉพาะข้อตกลงในสัญญาเหล่านี้ รวมทั้งภาคผนวก ซึ่งลงลายมือในเดือนพฤษภาคม 2399 เป็นพื้นฐานในการกำหนดกฎเกณฑ์การค้าของกุลาหรือต้องสู้ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากเมืองมะละแหม่ง และเป็นคนในบังคับอังกฤษหลังจากสนธิสัญญาฉบับนี้ กิจการค้าของกุลาหรือต้องสู้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากท่าทีที่เจ้าหน้าที่สยาม อำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างด้าวจากพม่าในบังคับอังกฤษดีมาก

        ในเวลาต่อมา เอกสารทางราชการไทยจำนวนมากที่ประกาศไปยังเจ้าเมืองหัวเมืองต่างๆ เกี่ยวกับแผนการเดินทางตามปรารถนาของบุคคลในบังคับอังกฤษ ตามรายงานของกงสุลอังกฤษในสยาม

เผ่าไทยกุลา
        สถานที่ซึ่งกุลาหรือต้องสู้มีแผนการเดินทางเพื่อการค้าโดยทั่วไป คือหัวเมืองในลาวฝ่ายเหนือ (มณฑลลาวพวนหรืออุดร) หรือนครราชสีมา ตาก เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง ลำพูน น่าน ซึ่งเดินทางไปบ่อย และบริเวณที่ไม่บ่อยนัก คือนครสวรรค์ สวรรคโลก ลพบุรี หล่มสัก เป็นต้น กลุ่มที่เดินทางไปทางนครราชสีมา มักจะเดินทางต่อไปยังมะละแหม่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยเดินทางผ่านหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ

        สินค้าที่ต้องสู้ต้องการซื้อโดยทั่วไปที่นครราชสีมา และลาวฝ่ายเหนือ คือ ช้าง งาช้าง เขาสัตว์ ไหม และโคกระบือ พวกเขาสนใจไม้ซุงด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นผลิตผลในเชียงใหม่ แพร่ ลำปาง ลำพูน และน่าน สินค้าที่นำไปขายเป็นพิเศษก็คือปืนและผ้าไหม กุลาหรือต้องสู้ จะเดินทางเป็นหมู่ถึง 48 คน พ่อค้ากุลาหรือต้องสู้เหล่านี้มีปืนและดาบเป็นอาวุธ

        รัฐบาลไทยจะแนะนำเจ้าเมืองหัวเมืองต่างๆ ให้อำนวยความสะดวก และความปลอดภัยแก่ต้องสู้ในการค้าขาย ส่วนราคานั้นสุดแท้แต่จะตกลงกันเอง เจ้าหน้าที่เป็นเพียงผู้บันทึกรายละเอียดของโคกระบือที่ตกลงซื้อขายกันแล้วเท่านั้น แต่เมื่อการค้าขยายตัวก้าวหน้ามากขึ้น การปฏิบัติก็นับเป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้เกิดปัญหามากจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย

        สรุปจากบทความของจุนโกะ โคอิซูมิ ทำไมกุลาร้องไห้ : รายงานขบวนการค้าของกุลาในอีสาน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
โดย บุญจิตต์ ชูทรงเดช เรียบเรียงคัดจาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 1
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ (จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542)

เมื่อถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า กุลา คือคนกลุ่มไหน?

ท่านตอบได้ทันทีว่ากุลา คือ พวกพ่อค้าเร่ที่มักจะเข้ามาค้าขายผ้าผ่อนแพรพรรณ และพักค้างคืนตามวัดในหมู่บ้านอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง (กุลาเที่ยวขายผ้านอนที่วัด)

        การรับรู้ว่าคำว่า กุลา เปลี่ยนแปลงไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กุลา กลายเป็นชื่อที่เรียกพวกพ่อค้าชาวไทยใหญ่ที่มีสัญชาติพม่าในขณะนั้น (ในภาษาพม่า กุลา มาจากคำว่า กาลา (kala) ซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น) มีกลุ่มพ่อค้าเร่จำนวนมากจากประเทศพม่า เดินทางเข้ามาค้าขายตามหมู่บ้านต่างๆ ตลอดที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล สิ่งของต่างๆ ที่พวกเขานำมาขายมีทั้งเสื้อผ้า กลอง เครื่องเงิน และเครื่องประดับอื่นๆ เป็นต้น

โพสท์โดย: Conan Notkill
อ้างอิงจาก: (ขวัญฤทัย ชิ้นมาลัย, แปลและเรียบเรียง จากบทความเรื่อง How Thai-Lao Dominance Was Constructed in Northeast Thailand : From their Neighbors Point of View ของ Hayashi Yukio (The Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University).
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Conan Notkill's profile


โพสท์โดย: Conan Notkill
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: ประแสร์, มยุริญ ผดผื่นคัน, wonida
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สุสานลับใต้ดิน ทำไมไม่มีใครกล้าเปิด "สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้"หลานโฉด เข็นศwลุงไปกู้เงินธนาคารAI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567เปรียบเทียบการใช้ราชรถ ไทยVSเขมร หรือว่าประเทศไทยใช้ผิดมาตลอด😃?เผยสาเหตุมะเร็งเหตุจากตู้เย็นแช่ของนานเกินไป!!😮♨︎🍣เมื่อเจ้าหญิงน้อยไอดอลของชาวเขมร บินมาดูคอนเสิร์ตที่กรุงเทพ! แบบนี้มันข้ามหน้าชาวเขมรไปไหมน้อ?😃เปิดภาพของโรงเรียนอนุบาล! ในต่างจังหวัดของลาว?เผยเหตุผลทำไมคนที่เงียบ ถึงมีแฟนเร็วกว่าคนที่ร่าเริงวัยรุ่นของแทร่ต้องแบบนี้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ครูไพบูลย์" ลั่น! ผมแค่โปรโมตเพลง..อย่าโยงอดีตภรรยาเมื่อเจ้าหญิงน้อยไอดอลของชาวเขมร บินมาดูคอนเสิร์ตที่กรุงเทพ! แบบนี้มันข้ามหน้าชาวเขมรไปไหมน้อ?😃ยังจำคดีน้องการ์ตูนได้ไหม ??? สุดท้ายคนผิดลอยนวลเพราะคดีความหมดอายุย้อนรอยตำนานสยองแห่งเมืองคอนบ้านร้างซ่อนศพชวนสยองขวัญจนตาเหลือก ตาค้างอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวยๆ ในลำปาง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
5 เหตุผลเด็ดๆ ทำไม "ไม่ควร" ดื่มเหล้าในวันที่อากาศร้อนพลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่ายไม่จริง การซื้อบ้านไม่ใช่การปิดโอกาสตนเองดร.โสภณ พรโชคชัยในรายการรู้ทันการเมืองไทย
ตั้งกระทู้ใหม่