สัมพันธมิตรบอมกรุงเทพ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
วันที่ 8 ธันวาคม ปี ค.ศ.1941 กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในบริเวณชายฝั่งของหลายจังหวัดในประเทศไทย โดยทางญี่ปุ่นพยายามเจรจาเชิงขู่กับไทยว่าจะขอใช้ไทยเป็นแค่ทางผ่านในการบุกต่อไปยังมลายูและพม่า รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้คึดไตร่ตรองอยู่นานจึงได้ประกาศให้ทหารและตำรวจที่ต้านกองทัพญี่ปุ่นตามที่ต่างๆให้หยุดยิง และยอมให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่านในการบุกมลายูและพม่าแต่โดยดี
ต่อมาไม่นานรัฐบาลไทยยอมลงนามในพิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 21 ธันวาคม ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งจากการร่วมลงนามครั้งนี้ทำให้ทางฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่เห็นว่าไทยอยู่ฝ่ายเดียวกับตนอีกแล้ว และถือว่าไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ในฝ่ายอักษะ
พิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น |
โดยหลังจากไทยยอมลงนามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นแล้ว แม้ไทยจะไม่ได้อยู่ในสถานะฝ่ายอักษะอย่างเต็มตัว แต่ก็ถูกมองว่าเป็นฝ่ายอักษะในสายตาของฝ่ายสัมพันธมิตรไปเสียแล้ว นอกจากนี้ฝ่ายอังกฤษและอเมริกายังเริ่มส่งเครื่องมาบินมาทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพแม้ในตอนนั้นไทยจะยังไม่ได้ประกาศสงครามกับใครเลยก็ตาม โดยการโจมตีทางอากาศใส่กรุงเทพครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 7 มกราคม ปี1942 โดยเครื่องบินจากกองทัพอากาศอังกฤษที่ประจำการในย่างกุ้งได้ส่งเครื่องบินB24, B29 และ บริสตอล เบลนไฮม์ มาทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพในวันนั้นและยาวต่อไปเรื่อยๆจนถึงปลายเดือนมกราคม
โดยในช่วงปี 1942-1943 การทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพไม่ค่อยถี่มากนัก เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังเสียเปรียบจากการรุกของนาซีเยอรมันในยุโรป และญี่ปุ่นในเอเชีย แต่พอมาถึงปี 1944 ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มมาตั้งหลักได้ ก็เริ่มมีเครื่องบินรบมาทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพอย่างหนักอีกครั้ง โดยเล็งจุดยุทธศาสตร์สำคัญและเส้นทางคมนาคมอย่างรถไฟเป็นหลัก ซึ่งเริ่มต้นจากการทิ้งระเบิดใส่สถานีรถไฟบางซื่อในวันที่ 23 พฤศจิกายน 1944 จากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29
ภาพการทิ้งระเบิดใส่สถานรถไฟบางซื่อในวันที่ 23 พฤศจิกายน |
ต่อมาในวันที่ 14 ธันวาคม 1944 B-24 ก็กลับมาทิ้งระเบิดใส่สะพานพระราม 6 แต่ก็แค่ใช้การไม่ได้ โดยหลังจากเครื่องบินสอดแนมของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาสำรวจแล้วพบว่าสะพานยังไม่ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง ก็ส่ง B-29 มาทิ้งระเบิดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1945 ซึ่งจากการทิ้งระเบิดนี้ทำให้สะพานพระราม 6 ได้ขาดลง
เครื่องบิน B-29 ทิ้งระเบิดใส่สะพานพระราม 6 |
เครื่องบินราดตระเวนของอเมริกาเข้ามาตรวจสอบ ความเสียหายของสะพานพระราม 6 ซึ่งขาดออกจากกันจากการโจมตีแล้ว |
ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม 1944 เครื่องบิน B-24 ได้มาทิ้งระเบิดใส่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ทำให้สถานีรถไฟบางกองน้อยได้รับความเสียหาย และมีพลเมืองเสียชีวิตอย่างต่ำ 78 ราย
หลังจากนั้นระเบิดก็ถูกทิ้งตามที่ต่างๆที่สำคัญของพระนคร ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน รัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการหาที่ซ่อน เมื่อเสียงหวออันเป็นการประกาศเตือนว่ามีการพบเครื่องบินทิ้งระเบิดบินเข้ามาในเขตพระนคร ประชาชนที่อยุ่ในกรุงเทพต่างอยู่ด้วยความหวาดกลัวและระแวงว่าจะโดนลูกระเบิดหรือไม่ ทำให้ส่วนมากมีการอพยพไปอยู่ตามชานเมืองหรือชนบทมากกว่าที่จะอยู่ในเมือง
ส่วนภาพต่อไปข้างล่างนี้จะเป็นความเสียหายที่กรุงเทพต้องรับไปจากการทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตร
ความเสียหายของพาหุรัดและบริเวญใกล้กับโรงไฟฟ้าวัดเลียบ |
หน้าวัดเทพศิรินทร์ |
บริเวณใกล้กับโรงเรียนสวนกุหลาบ |
บริเวณวัดเลียบหลังโดนระเบิดทำลายพระอุโบสถที่มีจิตรกรรมของขรัวอินโข่งอยู่ |
ภาพแผนที่ที่แสดงจุดต่างในการทิ้งระเบิดสถานีหัวลำโพง |
โดยการทิ้งระเบิดในปี 1944-1945 นี้ ได้สร้างความเสียหายแก่สถานที่สำคัญต่างๆในพระนครอย่าง สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ฯลฯ นอกจากนี่ก็มีระเบิดบางลูกที่พลาดเป้าไปโดนโรงเรียนอและบ้านเรือนของผู้คนที่ไมรู้อิโหน่อิเหน่ ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตไปมากมาย โดยมีการประมาณกันแล้วว่ามีประชาชนเสียชีวิตไปกว่า 1,900 คน และบาดเจ็บอีกประมาณ 3,000 คน
การทิ้งระเบิดสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 1945 โดย นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าเสรีไทยและพรรคพวกเสรีไทยกดดันเชิงขอให้อเมริกาหยุดการทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพ โดยใช้เหตุผลว่า การทิ้งระเบิดมากๆเข้าจะทำให้ชาวไทยช่วยสนับสนุนญี่ปุ่นมากกว่าสัมพันธมิตรและอาจทำให้เหตุการณ์แย่ลง ซึ่งส่งผลให้อเมริกายุติการทิ้งระเบิดใส่ประเทศไทยในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและไม่มีการทิ้งระเบิดใส่ไทยอีกเลยจนจบสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยไทยเราต้องโดนปฏิบัติการทิ้งระเบิดใส่ประมาณ 250 ครั้ง มีเครื่องบินเข้าปฏิบัติการประมาณ 2,490 เที่ยวบิน ทิ้งลูกระเบิดทำลายประมาณ 18,600 ลูก ผู้เสียชีวิตก็ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่ามีผู้เสียชีวิตไป 1900 คน บาดเจ็บอีกกว่า 3000 คน ความเสียหายรวมกันก็ประมาณ 79 ล้านบาท
การทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะระเบิดที่ฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งใส่ไทยไม่ได้ทิ้งแค่กรุงเทพที่เดียว แต่ทิ้งลงตามจุดยุททธศาสตร์ทั่วประเทศ แต่บทความนี้นำเอาแค่ในส่วนของกรุงเทพมาเท่านั้น (ส่วนความเสียหายเป็นความเสียหายรวมทั้งประเทศ) ก็เลยไม่ได้เอาภาพหรือข้อมูลของการทิ้งระเบิดใส่จังหวัดอื่นมานั่นเอง