หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สงครามแปซิฟิค

โพสท์โดย Somaster

เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก

โดยทั่วไปแล้วถือกันว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ บุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของอังกฤษในมาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง แต่มีนักประวัติศาสตร์บางคนเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น หรือ 19 กันยายน ค.ศ. 1931 ตั้งแต่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรียของจีน หากส่วนใหญ่แล้วมักถือเอาว่าสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองได้กลายมาเป็นยุทธบริเวณหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สองที่ใหญ่กว่าในภายหลัง

จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ได้ประกาศนโยบาย "การจัดระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออกและการสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (อังกฤษ: New order in East Asia and the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) และให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ โดยมีเป้าหมายยึดครองประเทศจีนและประเทศในเอเชียอันตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

สงครามสิ้นสุดลงด้วยการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ และการทิ้งระเบิดทางอากาศครั้งใหญ่โดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการรุกรานแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ส่งผลให้ญี่ปุ่นยอมจำนนและเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 การยอมจำนนอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นบนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี ที่ทอดสมอในอ่าวโตเกียวเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945



2 การตั้งชื่อ



ในกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร สงครามแปซิฟิกไม่ได้ถือว่าแยกออกจากสงครามโลกครั้งที่สองมากนัก และเป็นที่รู้จักกันในชื่อง่าย ๆ ว่า สงครามต่อต้านญี่ปุ่น ในสหรัฐอเมริกา คำว่า ยุทธบริเวณแปซิฟิก เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าทางเทคนิคแล้ว ยุทธบริเวณดังกล่าวจะไม่รวมไปถึงยุทธบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ (ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกดักลาส แมกอาเธอร์) ยุทธบริเวณจีน พม่า อินเดีย หรือยุทธบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามปกติ

ส่วนทางด้านญี่ปุ่นใช้คำว่า สงครามมหาเอเชียบูรพา (ญี่ปุ่น: Greater East Asia War) ซึ่งถูกเลือกโดยการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยเป็นคำที่หมายถึงทั้งสงครามกับชาติตะวันตกและสงครามที่ยังคงดำเนินอยู่กับจีน ชื่อดังกล่าวได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนในวันที่ 12 ธันวาคม ด้วยเหตุผลที่ต้องการปลดปล่อยชาติเอเชียจากการยึดครองของชาติตะวันตกผ่านกองทัพของวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ทางการญี่ปุ่นยังได้จัดรวม กรณีจีน-ญี่ปุ่น ไว้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาเอเชียบรูพาด้วย

ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่น คำดังกล่าวถูกลบออกไปจากเอกสารทางการ สงครามดังกล่าวถูกบันทึกในชื่อว่า "สงครามแปซิฟิก" (หรือบ้างก็เรียกว่า "สงครามสิบห้าปี ซึ่งหมายถึง สงครามกับจีนนับตั้งแต่เหตุการณ์กรณีมุกเดน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 จนถึงปี ค.ศ. 1945


3 ฝ่ายเข้าร่วมรบ



ประเทศสมาชิกฝ่ายอักษะที่สำคัญที่ให้การสนับสนุนญี่ปุ่น รวมไปถึงรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมของไทย ซึ่งได้รีบจัดตั้งพันธมิตรชั่วคราวกับญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1941 เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นกำลังรุกรานคาบสมุทรตอนใต้ของไทย นอกจากนี้ กองทัพพายัพยังได้ส่งกำลังพลเข้ารุกรานและยึดครองทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ซึ่งเคยเป็นดินแดนของไทยในอดีตก่อนที่จะถูกบีบบังคับให้เสียแก่กองทัพอังกฤษ ประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกคือ รัฐหุ่นเชิดญี่ปุ่นแมนจูกัว ซึ่งประกอบด้วยดินแดนแมนจูเรียส่วนใหญ่และบางส่วนของมองโกเลียใน และรัฐบาลหวังจิงเว่ย ซึ่งควบคุมบริเวณชายฝั่งของจีน

นโยบายอย่างเป็นทางการของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถือว่า ประเทศไทยมิใช่พันธมิตรของฝ่ายอักษะ และสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่ในสภาวะสงครามกับไทย นโยบายของรัฐบาลสหรัฐหลังปี ค.ศ. 1945 ก็มิได้ปฏิบัติต่อประเทศไทยอย่างศัตรูเก่า แต่มองว่าไทยถูกบีบบังคับให้เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นโดยการแบล็กเมล์ และหลังจากนั้น ไทยก็ได้ถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น ลักษณะการปฏิบัติต่อไทยของสหรัฐนั้นเหมือนกับประเทศอื่นที่ถูกฝ่ายอักษะยึดครอง อย่างเช่น เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก กรีซ เกาหลี นอร์เวย์ โปแลนด์และเนเธอร์แลนด์

ญี่ปุ่นเกณฑ์ทหารจำนวนมากจากอาณานิคมเกาหลีและฟอร์โมซา (ซึ่งในภายหลังรู้จักกันในชื่อไต้หวัน) และในขอบเขตเล็ก ๆ บางส่วนของวิชีฝรั่งเศส กองทัพแห่งชาติอินเดียและกองทัพแห่งชาติพม่าก็ได้ออกปฏิบัติการในพื้นที่สงครามแปซิฟิกเช่นกัน และในขอบเขตเล็กย่อยลงไปอีก กองทัพเรือเยอรมันและอิตาลี (ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยเรือค้าขายติดอาวุธและเรือดำน้ำ) ยังได้ออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียอีกด้วย

ประเทศเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรหลัก ๆ นั้นคือ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร (รวมทั้งกองทัพอินเดียของอังกฤษ ฟิจิ ซามัว เป็นต้น) ออสเตรเลีย เครือจักรภพฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ (ในฐานะเจ้าอาณานิคมหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์และทางตะวันตกของนิวกินี) นิวซีแลนด์และแคนาดา ซึ่งทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นสมาชิกของสภาสงครามแปซิฟิก เม็กซิโก ฝรั่งเศสเสรีและอีกหลายประเทศยังเข้าร่วมรบด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพจากอาณานิคมอื่นของอังกฤษ และยังรวมไปถึงละตินอเมริกา

สหภาพโซเวียตเคยทำสงครามตามพรมแดนกับญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการเป็นระยะสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1938 และ 1939 ก่อนจะธำรงตนเป็นกลางจนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อสหภาพโซเวียตเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรและรุกรานแมนจูกัว สาธารณรัฐจีน มองโกเลียใน รัฐในอารักขาเกาหลีของญี่ปุ่นและหมู่เกาะที่ญี่ปุ่นอ้างสิทธิ์ เช่น เกาะซาฮาลิน


4 เบื้องหลังความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น



รากเหง้าของปัญหาเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขณะที่จีนยังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง และญี่ปุ่นกำลังพัฒนาประเทศให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว ตลอดช่วงเวลาปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงและท้ายที่สุดได้ผนวกเกาหลี และขยายอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจเข้าสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมนจูเรีย การขยายอำนาจดังกล่าวง่ายเข้าจากสถานการณ์ภายในของจีนเอง เพราะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1910 ประเทศจีนแตกออกเป็นก๊กขุนศึกต่าง ๆ โดยรัฐบาลกลางอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ซึ่งประเทศจีนที่อ่อนแอไม่สามารถต้านทานความต้องการของญี่ปุ่นได้ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี ค.ศ. 1927 จอมทัพเจียง ไคเช็ค และกองทัพปฏิบัติแห่งชาติแห่งพรรคก๊กมินตั๋งได้ทำสงครามตีก๊กขุนศึกทางเหนือ เจียงสามารถเอาชนะขุนศึกทางตอนใต้และตอนกลางของจีนได้เป็นผลสำเร็จ และได้รับการสวามิภักดิ์ในนามของจาง เซวเหลียง ขุนศึกซึ่งควบคุมดินแดนแมนจูเรียอยู่ และนำไปสู่การรวมชาติจีนแต่ในนามในปี ค.ศ. 1928

ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งตื่นตระหนกกับจีนที่กำลังเข้มแข็งขึ้นภายใต้รัฐบาลเดียว จึงได้จัดฉากกรณีมุกเดนขึ้นในปี ค.ศ. 1931 และใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานแมนจูเรียและจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัว จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงซึ่งถูกโค่นล้มไปแล้ว ทรงเป็นประมุขหุ่นเชิดแห่งแมนจูกัว

เป้าหมายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นในจีนนั้นเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ปลอดภัยและเพื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้นในจีนเพื่อมิให้ดำเนินการใด ๆ ขัดขวางผลประโยชน์ของญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าพฤติการณ์ของญี่ปุ่นจะไม่ถูกมองว่าไม่เข้าที่โดยบรรดาชาติมหาอำนาจอาณานิคมยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ในปี ค.ศ. 1930

การต่อต้านการล่าอาณานิคมที่เพิ่มมากขึ้นหมายความว่ากำลังทางทหารอย่างชัดเจนในการสนับสนุนการล่าอาณานิคมไม่ได้รับการยอมรับดังเช่นแต่ก่อน
พฤติการณ์ของญี่ปุ่นในแมนจูเรียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การถอนตัวออกจากสันนิบาติชาติของญี่ปุ่น ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 จีนและญี่ปุ่นยังคงคุมเชิงกันอยู่ โดยที่เจียง ไคเช็คได้มุ่งความสนใจของเขาไปยังการทำลายพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ซึ่งเขาพิจารณาว่าเป็นอันตรายที่สำคัญยิ่งกว่าภัยจากญี่ปุ่น อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมในจีนต่อความคิดเห็นทั้งในหมู่ผู้นำทางการเมืองและประชากรส่วนใหญ่ทำให้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่อาจป้องกันได้เพิ่มฃขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงแม้ว่ารัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์จะได้ร่วมมือกันระหว่างการปราบปรามพวกขุนศึกทางเหนือ ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1934 แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าสู่ความขัดแย้งโดยตรง[6] ฝ่ายญี่ปุ่นได้ฉวยโอกาสขณะที่จีนแตกแยกภายในโจมตีหนักขึ้น และยกพลขึ้นบกที่เซี่ยงไฮ้ในปี ค.ศ. 1932

ขณะเดียวกัน ในประเทศญี่ปุ่น นโยบายการลอบสังหารโดยสมาคมลับและผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำให้คณะรัฐบาลพลเรือนสูญเสียการควบคุมฝ่ายทหาร นอกจากนั้น กองบัญชาการทหารสูงสุดก็สามารถควบคุมกองทัพภาคสนามได้เพียงจำกัด ซึ่งส่วนใหญ่มักกระทำการใด ๆ ตามผลประโยชน์ของตนเอง และบ่อยครั้งที่ขัดต่อผลประโยชน์ของชาติโดยรวม แต่โดยปกติแล้วยังคงอยู่ในพระประสงค์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโต

การรวมเอเชียยังได้ถูกใช้เป็นเหตุผลสำหรับการขยายดินแดนของญี่ปุ่น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับการสรุปไว้ได้ดีที่สุดโดย "ลัทธิอะโมะ" ในปี ค.ศ. 1934 โดยเออิจิ เอโมะ หัวหน้ากองข้อมูลแห่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ลัทธิมอนโรแห่งเอเชีย"

ลัทธิดังกล่าวประกาศเจตนาของญี่ปุ่นแก่ประเทศยุโรปให้ดำเนินนโยบาย "ละมือ" ในจีน และด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยกเลิกนโยบายเปิดประตู นอกจากนี้ยังประกาศว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออกแต่เพียงผู้เดียว รวมทั้งภาระในการเอาชนะคอมมิวนิสต์ เศรษฐกิจยังได้เป็นปัจจัยสำคัญอันนำไปสู่การรุกรานประเทศจีน ระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐและยุโรปหดตัวลงอย่างรุนแรง

และญี่ปุ่นได้หันมาครอบงำจีนอย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อจัดหาตลาดที่มีเสถียรภาพ ในช่วงก่อนหน้าสงครามจะปะทุขึ้นอย่างเต็มตัวในปี ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นได้ใช้กำลังในท้องถิ่นเพื่อข่มขู่จีนเว้นแต่จีนจะลดกำแพงภาษีศุลกากรและหยุดยั้งกิจกรรมต่อต้านและการคว่ำบาตรญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. 1936 เจียง ไคเช็คถูกลักพาตัวโดยจาง เซวเหลียง เพื่อที่จะได้รับการปล่อยตัว เจียง ไคเช็คจึงตกลงที่จะตั้งแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่น ต่อมา ได้เกิดเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งจุดชนวนให้เกิดสงครามระหว่างสาธารณรัฐจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่น

แม้ว่ารัฐบาลชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการร่วมรบกับญี่ปุ่นและร่วมมือจัดตั้งแนวร่วมแห่งชาติ แต่เหมา เจ๋อตุงปฏิเสธความต้องการของเจียง ไคเช็คในการบัญชาการกองทัพคอมมิวนิสต์โดยตรง ในปี ค.ศ. 1939 พรรคคอมมิวนิสต์มีทหาร 500,000 นายที่เป็นอิสระจากพรรคก๊กมินตั๋ง

นอกเหนือจากนั้น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนความเห็นของมวลชนที่มีต่อชาติตะวันตกให้เป็นแง่ลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น ประชาชนญี่ปุ่นยังคงมีความเห็นเป็นกลางต่อสหรัฐอเมริกาอยู่ อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวของกรณีปาเนย์ได้ทำให้ความเห็นของมวลชนอเมริกันเปลี่ยนเป็นต่อต้านญี่ปุ่นเช่นกัน

ในปี ค.ศ. 1939 กองทัพญี่ปุ่นพยายามที่จะขยายดินแดนไปทางภาคตะวันออกไกลของสหภาพโซเวียตจากแมนจูเรีย แต่กองทัพญี่ปุ่นปราชัยยับเยินต่อกองทัพผสมโซเวียต-มองโกเลียภายใต้การบัญชาการของนายพลเกออร์กี จูคอฟ ทำให้ญี่ปุ่นยุติการขยายตัวไปยังดินแดนทางตอนเหนือ และทั้งสองประเทศได้ดำรงรักษาสันติภาพอันไม่มั่นคงจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1945


5 ความตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่นกับมหาอำนาจตะวันตก



ในความพยายามที่จะขัดขวางลัทธิทหารของญี่ปุ่น ชาติตะวันตกรวมไปถึงออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษและรัฐบาลผลัดถิ่นดัตช์ ซึ่งครอบครองอินเดียตะวันออกของดัตช์ซึ่งมีปิโตรเลียมอยู่ในปริมาณมาก หยุดการขายโลหะเหล็ก เหล็กกล้าและน้ำมันให้แก่ญี่ปุ่น โดยปฏิเสธที่จะให้ทรัพยากรดิบซึ่งจำเป็นต้องการดำเนินกิจกรรมต่อไปในจีนและอินโดจีนของฝรั่งเศส ในญี่ปุ่น รัฐบาลและกลุ่มชาตินิยมมองว่าการห้ามส่งสินค้าดังกล่าวเป็นพฤติกรรมลักษณะรุกราน น้ำมันนำเข้าคิดเป็นกว่า 80% ของปริมาณการบริโภคภายในประเทศ

 ซึ่งจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น ทำให้น้ำมันไม่เหลือถึงมือทหาร และบีบให้กิจกรรมทางทหารหยุดชะงักลง สื่อญี่ปุ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนักโฆษณาชวนเชื่อทหาร[10] เริ่มเรียกการห้ามส่งสินค้าดังกล่าวว่าเป็น "วงล้อม ABCD" (ABCD ย่อมาจาก "American-British-Chinese-Dutch") หรือ "แนว ABCD"

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกระหว่างการล่มสลายทางเศรษฐกิจหรือการถอนตัวจากการพิชิตดินแดนล่าสุด (และยังเสียหน้าอีกด้วย) กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงเริ่มต้นวางแผนทำสงครามกับชาติตะวันตกในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 1941 วัตถุประสงค์สำคัญคือ ให้กลุ่มกองทัพรบนอกประเทศใต้ยึดทรัพยากรทางเศรษฐกิจภายใต้การควบคุมของสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาลายาและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "แผนใต้" นอกจากนี้กองบัญชาการยังได้ตัดสินใจจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกา และความเชื่อที่ว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ญี่ปุ่นเรียกแผนการหลังนี้ว่า "แผนตะวันออก"


6 แผนตะวันออก



แผนใต้ มีขั้นตอนดังนี้
1 โจมตีมาลายาและฮ่องกง
2 โจมตีกลุ่มเกาะบิสมาร์ค เกาะชวาและเกาะสุมาตรา
3 โดดเดี่ยวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์|

แผนตะวันออก มีขั้นตอนดังนี้
1 เปิดฉากโจมตีต่อกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ฮาวาย ด้วยเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินของกองเรือผสม
2 ยึดครองฟิลิปปินส์
3 ตัดเส้นทางการสื่อสารของสหรัฐอเมริกาโดยยึดเกาะกวมและเกาะเวก

หลังจากที่วัตถุประสงค์ข้างต้นทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว ยุทธศาสตร์จะเปลี่ยนไปเป็นการตั้งรับ และจะเน้นการรักษาดินแดนที่พิชิตได้ใหม่ขณะที่หวังการเจรจาสันติภาพ ญี่ปุ่นได้วางแผนในการยึดครองอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปเอเชียอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึ่งลากยาวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง

เพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเชียอาคเนย์อย่างอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนเอง จนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องสู้รบเป็นอาณาบริเวณกว้างเหนื่อยล้าและเพื่อการป้องกันการเข้าแทรกแซงของภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก

เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน แผนการเหล่านี้หลัก ๆ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยในอีกหนึ่งเดือนถัดมา ความคาดหวังความสำเร็จของนักวางแผนทางทหารของญี่ปุ่นนั้น ขึ้นอยู่กับการไม่สามารถรับมือกับการโจมตีของญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพของสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต เนื่องจากภัยคุกคามที่มาจากเยอรมนี สหภาพโซเวียตก็ยังถูกมองว่าไม่น่าจะเริ่มความเป็นปรปักษ์ก่อน

ไม่มีหลักฐานว่าญี่ปุ่นวางแผนจะเอาชนะสหรัฐอเมริกา ทางเลือกน่าจะเป็นว่าการเจรจาสันติภาพหลังจากชัยชนะในขั้นต้นแล้ว อันที่จริง กองบัญชาการทหารสูงสุดญี่ปุ่นหมายเหตุไว้ว่า หากบรรลุการเจรจาซึ่งยอมรับได้กับสหรัฐอเมริกาแล้ว การโจมตีในอนาคตก็จะถูกยกเลิก แม้ว่าคำสั่งโจมตีจะถูกแจกจ่ายไปแล้วก็ตาม

ญี่ปุ่นยังได้วางแผนว่า หากสหรัฐเคลื่อนกองเรือแปซิฟิกมายังฟิลิปปินส์ ก็จะนำกองเรือผสมเข้าขัดวางและโจมตีขณะยังไม่ถึงจุดหมาย เพื่อรักษาแผนการและแนวทางก่อนสงครามของกองทัพเรือญี่ปุ่นทั้งหมด และหากสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษโจมตีก่อน

 แผนการได้กำหนดเพิ่มเติมว่าฝ่ายทหารจะต้องรักษาตำแหน่งของตนและรอคำสั่งจากกองบัญชาการทหารสูงสุด  นักวางแผนมองว่าการโจมตีฟิลิปปินส์และมาลายายังมีความเป็นไปได้ว่าจะสำเร็จอยู่บ้าง แม้ว่าในกรณีที่ร้ายที่สุดอาจรวมไปถึงการเปิดฉากโจมตีหลายด้านซึ่งมีกองทัพโซเวียตเข้าร่วมด้วย


7 ลำดับเหตุการณ์
ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพ ค.ศ. 1941-1942



เพิร์ลฮารเบอร์

ช่วงเช้ามืดของวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (หรือวันที่ 8 ตามเวลาในเอเชีย) ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เช่นเดียวกับเกาะกวมและเกาะเวก ญี่ปุ่นได้โจมตีทางอากาศครั้งใหญ่โดยใช้เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งส่งผลทำให้เรือประจัญบานของสหรัฐแปดลำไม่สามารถใช้การได้ ญี่ปุ่นได้เสี่ยงดวงว่าสหรัฐอเมริกา เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่อย่างฉับพลัน จะยอมตกลงบรรลุข้อตกลงเจรจาและยินยอมให้ญี่ปุ่นปกครองเอเชียอย่างเสรี

แต่การเสี่ยงโชคดังกล่าวไม่เป็นผล ความสูญเสียของสหรัฐนั้นเสียหายน้อยกว่าที่เคยคาดกันไว้มาก เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าเรือประจัญบานมาก ยังอยู่ในทะเล สาธารณูปโภคที่สำคัญของกองทัพเรือ (ถังน้ำมันเชื้อเพลิง อู่ต่อเรือและโรงไฟฟ้า) ฐานเรือดำน้ำ และหน่วยข่าวกรองทางสัญญาณไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ยุทธศาสตร์ถอยทัพของญี่ปุ่นต้องอาศัยสงครามบั่นทอนกำลังเพื่อให้สหรัฐยอมรับเงื่อนไขในที่สุด ซึ่งอยู่เหนือขีดความสามารถของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

ขณะที่เกิดการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ขึ้นนั้น สหรัฐอเมริกายังไม่ได้อยู่ในสภาวะสงครามอย่างเป็นทางการกับประเทศใด ๆ ในโลก กลุ่มอเมริกาเฟิร์สท์คอมมิตตีได้คัดค้านการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐอเมริกาในทวีปยุโรปอย่างรุนแรง แม้ว่าสหรัฐจะขายความช่วยเหลือทางทหารต่ออังกฤษและสหภาพโซเวียตผ่านโครงการให้เช่า-ยืม แต่การต่อต้านสงครามในสหรัฐหายไปหลังจากการโจมตีดังกล่าว วันที่ 8 ธันวาคม เนเธอร์แลนด์ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น ตามมาด้วยออสเตรเลียในวันรุ่งขึ้น

สี่วันหลังจากเพิร์ลฮาร์เบอร์ นาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลีประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้สหรัฐต้องเผชิญกับสงครามสองด้าน พฤติการณ์ดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นความสัพเพร่าของยุทธศาสตร์หลัก เนื่องจากเยอรมนีสูญเสียประโยชน์ที่ญี่ปุ่นทำให้สหรัฐไขว้เขว และการลดการให้ความช่วยเหลือแก่อังกฤษ ซึ่งทั้งรัฐสภาและฮิตเลอร์ต่างก็พยายามหลีกเลี่ยงมาตลอดช่วงที่ต่างฝ่ายต่างยั่วยุเป็นระยะเวลาปีเศษ


8 จากไทยถึงออสเตรเลีย



กองทัพอังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ ซึ่งต้องเสียกำลังพลและทรัพยากรไปกับการทำสงครามกับเยอรมนีเป็นระยะเวลากว่าสองปี และยังพัวพันอย่างหนักในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและที่อื่น ๆ ไม่สามารถจัดเตรียมการป้องกันได้มากไปกว่าการต้านทานที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันต่อทหารญี่ปุ่นผู้กรำศึก

ฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความพ่ายแพ้ถึงขั้นหายนะหลายครั้งในช่วงหกเดือนแรกของสงคราม เรือรบอังกฤษหลักถึงสองลำ เอชเอ็มเอส รีพัลซ์ และเอชเอ็มเอส ปรินส์ออฟเวลส์ ถูกจมในการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่นนอกชายฝั่งมาลายาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941

ประเทศไทย ซึ่งดินแดนถูกเลือกเป็นสถานที่สำหรับเริ่มต้นการทัพมาลายาเรียบร้อยแล้ว ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกญี่ปุ่นรุกราน รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม

ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
หลังจากปฏิญญาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 (ซึ่งพบการใช้คำว่า "สหประชาชาติ" อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก) รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรได้แต่งตั้งพลเอกอังกฤษ เซอร์อาร์ชิบาลด์ เวเวลล์ ในกองบัญชาการอเมริกา-บริเตน-ดัตช์-ออสเตรเลีย (ABDACOM) ซึ่งเป็นกองบัญชาการสูงสุดกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เวเวลล์มีอำนาจบัญชาการในนามเหนือกองกำลังขนาดใหญ่ แต่ก็กระจัดกระจายอย่างเบาบางเหนือพื้นที่ตั้งแต่พม่าไปจนถึงฟิลิปปินส์และทางเหนือของออสเตรเลีย ส่วนบริเวณอื่น รวมไปถึงอินเดีย ฮาวายและส่วนที่เหลือของออสเตรเลียอยู่ภายใต้การบัญชาการที่เป็นอิสระต่อกัน เมื่อวันที่ 15 มกราคม เวเวลล์เดินทางไปยังบันดุงในเกาะชวาเพื่อรับอำนาจบัญชาการ ABDACOM

ในเดือนมกราคม ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา ในสิงคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ตกเป็นเชลยศึกถึงกว่า 130,000 คน

อัตราการพิชิตดินแดนของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยบาหลีและติมอร์เสียแก่ข้าศึกในเดือนเดียวกัน การต้านทานของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประสบความล้มเหลวอย่างรวดเร็วนั้นได้ทำให้ "พื้นที่ ABDA" ถูกแยกออกเป็นสอง เวเวลล์ลาออกจาก ABDACOM เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยส่งมอบอำนาจเหนือพื้นที่ ABDA ให้แก่ผู้บัญชาการท้องถิ่นก่อนจะกลับไปดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในอินเดียต่อไป

ในขณะเดียวกัน เครื่องบินญี่ปุ่นได้เกือบจะกำจัดแสงยานุภาพทางอากาศเกือบทั้งหมดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำลังโจมตีออสเตรเลียตอนเหนือ เริ่มต้นด้วยการโจมตีเมืองดาร์วินซึ่งส่งผลกระทบทางจิตวิทยา (แต่มีความสำคัญทางทหารเพียงเล็กน้อย) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ และคร่าชีวิตไปอย่างน้อย 243 คน

ในยุทธนาวีทะเลชวาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ชัยชนะครั้งใหญ่เหนือกองทัพเรือหลักของ ABDA ภายใต้การบัญชาการของพลเรือเอกคาเรล ดอร์แมน การทัพอินเดียตะวันออกของดัตช์ในเวลาต่อมาสิ้นสุดลงด้วยการยอมจำนนของกองทัพสัมพันธมิตรบนเกาะชวาและสุมาตรา
ในเดือนมีนาคมและเมษายน

การโจมตีเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียโดยกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นส่งผลให้ซีลอนถูกโจมตีทางอากาศหลายระลอก และเรือบรรทุกเครื่องบินอังกฤษ เอชเอ็มเอส เฮอร์มีส เช่นเดียวกับเรือสัมพันธมิตรอื่น ๆ ถูกจมลง และกองเรืออังกฤษถูกขับไล่ออกจากมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นการเปิดทางสำหรับการรุกรานพม่าและอินเดียของญี่ปุ่น

ฝ่ายอังกฤษ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก สู้รบล่าถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า เป็นผลทำให้ถนนสายพม่า อันเป็นเส้นทางเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตรให้แก่กองกำลังชาตินิยมจีน ความร่วมมือระหว่างกลุ่มชาตินิยมจีนและคอมมิวนิสต์ค่อย ๆ ลดลงหลังจากเพิ่มขึ้นถึงขีดสุดในยุทธการอู่ฮั่น

และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลง เมื่อทั้งสองพยายามขยายพื้นที่ปฏิบัติการในดินแดนยึดครองของตนเอง พื้นที่กองโจรชาตินิยมส่วนใหญ่นั้นถูกแย่งชิงโดยคอมมิวนิสต์

ในอีกด้านหนึ่ง กำลังชาตินิยมบางส่วนถูกจัดวางเพื่อขัดขวางพวกคอมมิวนิสต์มิใช่ญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น กำลังชาตินิยมจีนส่วนใหญ่เป็นขุนศึกซึ่งเป็นพันธมิตรกับเจียง ไคเช็ค แต่มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของเขา "ทหารกว่า 1,200,000 นายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจียง มีเพียง 650,000 นายเท่านั้นที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากนายพลของเขา ส่วนอีก 550,000 นายนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนศึกซึ่งอ้างความจงรักภักดีต่อรัฐบาลเท่านั้น

กำลังที่เข้มแข็งที่สุดนั้นเป็นของเซอชวน ที่มีทหารอยู่ถึง 320,000 นาย ความพ่ายแพ้ของกองทัพนี้จะนำไปสู่การสูญเสียอำนาจอย่างใหญ่หลวงของเจียง"

ฝ่ายญี่ปุ่นแสวงหาประโยชน์จากความขาดความสามัคคีนี้และกระหน่ำโจมตีหนักยิ่งขึ้นไปอีก
กองทัพฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกายังคงทำการรบต้านทานอยู่ในฟิลิปปินส์จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 เมื่อทหารมากกว่า 80,000 นายได้รับคำสั่งให้ยอมจำนน เมื่อถึงเวลานี้ พลเอกดักลาส แมกอาเธอร์ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุดแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ได้ล่าถอยไปยังออสเตรเลียที่ปลอดภัยกว่า

กองทัพเรือสหรัฐ ภายใต้บังคับบัญชาพลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตส์ รับผิดชอบต่อส่วนที่เหลือของมหาสมุทรแปซิฟิก การแบ่งแยกบังคับบัญชาดังกล่าวสร้างผลกระทบไม่ดีต่อสงครามพาณิชย์ และตัวสงครามแปซิฟิกด้วยตามลำดับ


9 ภัยคุกคามต่ออสเตรเลีย



ปลาย ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ส่วนใหญ่ของกองทัพที่ดีที่สุดของออสเตรเลียได้รับคำสั่งให้สู้รบกับนาซีเยอรมันในยุทธบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ออสเตรเลียมีการเตรียมการรับมือกับการโจมตีเลวมาก ขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์ เครื่องบินขับไล่ เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักและเรือบรรทุกเครื่องบินที่ทันสมัย ขณะที่เรียกร้องกำลังเสริมจากเชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรี จอห์น เคอร์ทิน เรียกร้องการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยแถลงการณ์ประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1941

สหรัฐอเมริกาตั้งหลักได้ ค.ศ. 1942-1944


10 มิดเวย์



เรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นHiryu ถูกโจมตีโดยอากาศยานฝ่ายอเมริกาแล้วจมในเวลาต่อมาในยุทธนาวีที่มิดเวย์ในปี ค.ศ.1942

ยุทธนาวีมิดเวย์ เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก  ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ประมาณหนึ่งเดือนหลังยุทธนาวีทะเลคอรัล และประมาณหกเดือนหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด

จากการต่อต้านการโจมตีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์อะทอลล์ และเป็นการคาดโทษ ความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ของกองเรือรบญี่ปุ่น จอห์น คีแกนได้เรียกมันว่า"ที่สุดของความประหลาดใจและเด็ดเดี่ยวอย่างคาดไม่ถึง ในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามกองทัพเรือ" ยุทธนาวีนี้เคยเป็นการพ่ายแพ้ที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่นในระยะ 350 หลา

ภายหลังยุทธนาวีทั้งสอง กองเรือสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเสียหายอย่างหนัก กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเข้าโจมตีมิดเวย์อะทอลล์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานในปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกาที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก

แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจึงสามารถเตรียมการป้องกันและจัดวางกำลังพล จนสามารถทำลายกองทัพเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีมิดเวย์ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาชิงความได้เปรียบในยุทธบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก


11 สงครามที่หมู่เกาะโซโลมอน



การทัพหมู่เกาะโซโลมอน เป็นการทัพหลักของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพเริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและยึดครองดินแดนหลายแห่งในหมู่เกาะโซโลมอนบริเตนและเกาะบัวเกนวิลล์ (Bougainville) ในดินแดนแห่งนิวกินีระหว่าง 6 เดือนแรกของปี ค.ศ. 1942

ญี่ปุ่นได้ยึดพื้นที่หลายส่วนและเริ่มสร้างท่าเรือและสนามบินหลายแห่งเพื่อใช้ป้องกันแนวด้านข้างของการบุกโจมตีในนิวกินี การสร้างแนวปลอดภัยสำหรับฐานทัพหลักของญี่ปุ่นอยู่ที่ราบวล (Rabaul) ในนิวบริเตน (New Britain) และเป็นฐานทัพที่จัดเตรียมเพื่อหยุดเส้นทางลำเลียงเสบียงระหว่างมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์

หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ต่อสหรัฐอเมริกาในยุทธนาวีที่มดเวย์ญี่ปุ่น จึงเปลี่ยนแผนการที่จะบุกยึดหมู่เกาะแถบโอเชียเนียซึ่งเกาะส่วนใหญ่เป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศขนาดย่อยของสหรัฐอเมริกา
เพื่อปกป้องการสื่อสารและเส้นทางลำเลียงเสบียงในแปซิฟิกใต้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้สนับสนุนการรุกตอบโต้ในนิวกินีและทำลายฐานทัพญี่ปุ่นในราบวล และ ได้โต้กลับญี่ปุ่นในหมู่เกาะโซโลมอนด้วยการยกพลขึ้นบกที่กัวดาลคาแนล และเกาะเล็กๆที่อยู่ใกล้เคียงในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1942 การยกพลขึ้นบกนี้เป็นการเริ่มต้นการต่อสู้แบบผสมผสานระหว่างสองปรปักษ์ เริ่มต้นด้วยยกพลขึ้นบกที่กัวดาลคาแนล ตามติดด้วยยุทธการหลายครั้งในตอนกลาง และตอนเหนือของหมู่เกาะโซโลมอน และรอบๆเกาะนิวกินี และเกาะบัวเกนวิลล์

ในการทัพนี้เป็นการต่อสู้ทั้งบนแผ่นดิน ในทะเล และกลางอากาศ สัมพันธมิตรยัดเยียดความเสียหายที่ไม่สามารถทดแทนได้ในด้านสินทรัพย์ทางทหารให้กับญี่ปุ่น สัมพันธมิตรยึดบางส่วนของหมู่เกาะโซโลมอนกลับคืนมาได้ (แม้ว่าจะมีการต่อต้านในเวลาต่อมาจนกระทั่งสงครามสิ้นสุด)และสามารถทำลายกองเรือและอากาศยานของญี่ปุ่นได้มาก การทัพหมู่เกาะโซโลมอนได้มาบรรจบกับการนิวกินี

ศึกนี้จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเริ่มที่จะหวาดกลัวมาขึ้น


12 การต่อสู้ที่ฟิลิปปินส์



ในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นพยายามทุกหนทางเพื่อที่จะตัดกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่สหรัฐอเมริกาก็ได้สู้กับญี่ปุ่นอย่างเต็มที่เพื่อที่จะยึดฟิลิปปินส์กลับคืนมา ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์ถือเป็นยุทธนาวีเรือบรรทุกอากาศยานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการสู้รบระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก

การรบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19–20 มิถุนายน ค.ศ. 1944 นอกชายฝั่งของหมู่เกาะมาเรียนาและยังเกี่ยวข้องกับสนามบินญี่ปุ่นบนแผ่นดิน การรบก่อเกิดความเสียหายต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำและเครื่องบิน 600 ลำซึ่งฝ่ายสหรัฐเรียกมันว่า Great Marianas Turkey Shoot

ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงน่าจะเกิดมาจากความล้าสมัยของเครื่องบินญี่ปุ่นและความขาดประสบการณ์ของนักบิน (นักบินที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ตายในการทัพกัวดาลคาแนล ยุทธนาวีมิดเวย์ และการรบอื่น) ตรงกันข้ามกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่มีเครื่องบินขับไล่ กรัวม์แมน F6F เฮลแคท อันทันสมัย นักบินได้รับการฝึกอย่างดีและมีประสบการณ์มาก และมีเรดาร์ตรวจสอบชี้ทางในการบินลาดตระเวนรบ ในที่สุดพลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์จำนวน 200,000 นายและยึดฟิลิปปินส์ได้สมบูรณ์

13 จากเลย์เตสู่ซามาร์



ก่อนที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์จะยกพลขึ้นบกที่เลย์เตประเทศฟิลิปปินส์ กองเรือของญี่ปุ่นได้พยายามต่อสู้เพื่อขัดขวางสหรัฐอเมริกาที่จะยึดฟิลิปปินส์แต่ก็ถูกอากาศยานของอเมริกาโจมตีอย่างหนัก ทำให้ญี่ปุ่นเสียเรือรบไปจำนวนหนึ่งและหนึ่งในนั้นก็คือเรือประจัญบานมุซาชิได้ถูกจมลงไปยังทะเลซิบูยัน

แต่หลังจากที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์แล้ว ญี่ปุ่นจึงคิดแผนการขึ้นมาแผนนี้มีชื่อว่า"โชโก"โดยมีแผนก็คือหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ของพลเรือเอกบูล ฮอลซีย์ให้ผละออกไปและทำลายกองกำลังทางบกของแมกอาเธอร์ด้วยเรือรบของญี่ปุ่น

วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นเริ่มแผนการโชโกโดยการเข้าโจมตีซามาร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะเลย์เต ในช่วงแรกกองเรือของญี่ปุ่นสามารถหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ให้ผละออกไปได้แล้วเปิดน่านน้ำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่เลย์เต แต่ทว่าในเวลาต่อมากองเรือญี่ปุ่นก็ได้เจอกองเรือแทฟฟี่ 3 ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการย่อยของกองเรืออเมริกาที่ 7 ซึ่งในกองเรือแทฟฟี่ 3 มีเรือพิฆาต เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กและเรือขนส่งเสบียง

ต่อมาญี่ปุ่นเปิดฉากยิงกองเรือแทฟฟี่ 3 พลเรือตรีคลิฟตัน สเปรคผู้บัญชาการกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้ต่อสู้อย่างเต็มที่เพื่อปกป้องทหารอเมริกัน 200,000 นายบนเกาะเลย์เต ซึ่งเรียกการต่อสู้ครั้งนี้ว่ายุทธนาวีที่ซามาร์ ผลปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายชนะโดยกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้จมเรือลาดตระเวนญี่ปุ่น 3 ลำ แต่กองเรือแทฟฟี่ 3 ต้องสูญเสียเรือพิฆาต 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก 2 ลำและอากาศยานอีก 23 ลำ ทำให้กองเรือญี่ปุ่นต้องถอยกลับไป

ที่น่าสนใจก็คือศึกครั้งนี้ญี่ปุ่นได้เริ่มใช้แผนที่ชื่อว่า"กามิกาเซ่หรือหน่วยบินพลีชีพ โดยใช้เครื่องบินเข้าพุ่งชนเรือรบของอเมริกา ตัวอย่างเช่น ในยุทธนาวีที่ซามาร์ฝูงบินกามิกาเซ่ได้จมเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็ก ยูเอสเอส เซนต์โล(CVE-63)ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกาตกตะลึงกับวิธีที่แปลกๆของญี่ปุ่น

14 สิ้นสุดสงครามแปซิฟิก ค.ศ.1945



สหรัฐอเมริกาบุกยึดอิโวะจิมะและโอกินนะวะ

เรือประจัญบานยะมะโตะถูกทิ้งระเบิดและตอร์ปิโดจำนวนมากและเกิดเพลิงไหม้อย่างหนัก
ในปลายปี ค.ศ.1944 จนถึงปี ค.ศ.1945 เครื่องบินของกองทัพอเมริกาได้กระหน่ำทิ้งระเบิดลงสู่เมืองต่างๆของญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นโอซะกะ นะระ อิชิกะวะ เป็นต้น รวมถึงโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่นด้วย ซึ่งทำให้เมืองต่างๆของญี่ปุ่นเกิดเพลิงไหม้ทั้งวันทั้งคืน สิ่งก่อสร้างพังทลายลงมา มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย

วันที่ 19 กุมพาพันธ์ ค.ศ.1945 กองทัพอเมริกาได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวะจิมะ ฐานทัพอากาศยานที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายคือยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น

ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่อเมริกามีชัยชนะเหนือญี่ปุ่นที่อิโวะจิมะแล้ว สหรัฐอเมริกาได้สร้างสนามบินเพื่อจอดเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-29ที่จะเข้าทิ้งระเบิดในแผ่นดินใหญ่ที่ญี่ปุ่น

ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพอเมริกาได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะโอะกินนะวะซึ่งเป็นเกาะที่ใกล้กับญี่ปุ่นมากที่สุดทางตอนใต้ ญี่ปุ่นคิดว่าหากสูญเสียโอะกินนะวะไปสหรัฐอเมริกาก็จะมีฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศที่จะโจมตีญี่ปุ่นทางตอนใต้ดังน้นช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่วิกฤตหนักของญี่ปุ่น

ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำภารกิจครั้งสุดท้ายเพื่อช่วยเหลือจักรวรรดิญี่ปุ่นในปฏิบัติการเท็งโงซึ่งแปลว่า"ปฏิบัติการสรวงสวรรค์" มันคือการเกิดใหม่ของ"กามิกาเซ่"ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นมันคือปฏิบัติการแบบฆ่าตัวตาย มีเพียงทางเดียวเพื่อที่จะช่วยเหลือญี่ปุ่นซึ่งนำโดยเรือประจัญบานยะมะโตะที่แล่นออกจากญี่ปุ่นและโจมตีจุดทอดสมอของสหรัฐอเมริกาที่โอะกินนะวะ

เรือประจัญบานยะมะโตะพร้อมกับเรือลาดตระเวนเบา 1 ลำและเรือพิฆาต 8 ลำ ถูกตรวจพบโดยเรือดำน้ำสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้ของเกาะคิวชู เช้าวันต่อมาวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพเรืออเมริกาได้ส่งเครื่องบินกว่า 300 ลำขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อจมเรือรบยะมะโตะ เครื่องบินของอเมริกาได้กระหน่ำทิ้งระเบิดและตอร์ปิโดลงไปยังเรือรบยะมะโตะ

จนในเวลา 14:30 น.เรือรบยะมะโตะก็ได้จมลงในทะเล ไม่เพียงแค่นั้นเครื่องบินของอเมริกายังจมเรือลาดตระเวนเบายาฮากิและเรือพิฆาตอีก 4 ลำได้อีกด้วย จากปฏิบัติการเท็งโงที่ล้มเหลวเรือรบที่เหลือในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่เคยแล่นเรือรบออกมาอีกเลย เดือนมิถุนายน ค.ศ.1945 หลังจาก 2 เดือนแห่งสมรภูมิอันดุเดือดสหรัฐอเมริกาก็สามารถยึดเกาะโอะกินนะวะไว้ได้อย่างสมบูรณ์


15 จุดจบสงครามแปซิฟิก



สหรัฐอเมริกาคิดว่าหากนำกองทัพเข้าบุกโจมตีญี่ปุ่นคงเป็นเรื่องที่ยากเพราะชาวญี่ปุ่นจะลุกฮือขึ้นมาต่อสู้จนตัวตาย สหรัฐอเมริกาจึงใช้วิธีเด็ดขั้นเด็ดขาดในการจัดการกับญี่ปุ่นเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างง่ายโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูหรือที่เรียกว่าระเบิดนิวเคลียร์และถือว่าเป็นการทดสอบอาวุธด้วย

วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 เครื่องบินบี-29ของอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ชื่อว่าลิตเติลบอยลงสู่เมืองฮิโระชิมะทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 140,000 คน ต่อมาวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 เครื่องบินบี-29 ของอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองที่ชื่อว่าแฟตแมนถล่มเมืองนะงะซะกิทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 80,000 คน จนในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 ญี่ปุ่นก็ได้ประกาศยอมแพ้สงคราม นับเป็นการยุติสงครามแปซิฟิกและสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.1945

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.photoontour.com/thai_history/Thai_history_asia_burapa.htm
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Somaster's profile


โพสท์โดย: Somaster
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
'ลูกปัด'เผย' ปางช้างโลกสวย' เคยมาขอซื้อช้างชรา! เล่าเคยมีฝรั่งจะเอา ขอฟาดควาญ!ชาวเน็ตชี้ สาเหตุน้ำท่วมเชียงใหม่ชาวเน็ตเเซวแม่หมอควีน อิจฉาได้เงินเยอะ เธอตอบกลับ “รายได้บริจาค 100% ” ล่าสุดลบและปิดคอมเม้นต์ไปแล้วแต่ชาวเน็ตเเคปทัน 😁หลิน มาลิน เผยประสบการณ์สุดช็อกบนเรือ กินได้แค่ถั่วต้ม หลังเจอไข่ข้าวขึ้นชื่อกัมพูชา!คุณย่าแอบตรวจ DNA หลังสังเกตเห็นว่าหลานสาวไม่เหมือนพี่น้อง มดดำ เฉลยปมรัก ‘อั้ม อธิชาติ-นัท มีเรีย’ เลิกจริงหรือไม่ แย้มสถานะจากวงในเมื่อคุณหลับในคาบศิลปะ...ก็สบายไป ได้ภาพเหมือน ตอนไปงานขาว-ดำกันเลยทีเดียวชายที่มีความผิดปกติทางใบหน้า ถูกขอให้ออกจากร้านอาหารเพราะ ทำให้ลูกค้าตกใจ เขายังไม่ได้แม้แต่จะนั่งลง!รวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้วิกผมเปลี่ยนบุคลิกภาพ..รีวิวจนคนหัวล้านอยากซื้อตามทันทีจิ๋วแจ๋วสุดน่ารัก! "ไดมอน" นักตบสาวชาวญี่ปุ่น..กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกศาลมาเลสั่งปรับเงินชาย แต่งสาวในที่สาธารณะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชายที่มีความผิดปกติทางใบหน้า ถูกขอให้ออกจากร้านอาหารเพราะ ทำให้ลูกค้าตกใจ เขายังไม่ได้แม้แต่จะนั่งลง!มดดำ เฉลยปมรัก ‘อั้ม อธิชาติ-นัท มีเรีย’ เลิกจริงหรือไม่ แย้มสถานะจากวงในชาวเน็ตชี้ สาเหตุน้ำท่วมเชียงใหม่ศาลมาเลสั่งปรับเงินชาย แต่งสาวในที่สาธารณะเมื่อคุณหลับในคาบศิลปะ...ก็สบายไป ได้ภาพเหมือน ตอนไปงานขาว-ดำกันเลยทีเดียว'ลูกปัด'เผย' ปางช้างโลกสวย' เคยมาขอซื้อช้างชรา! เล่าเคยมีฝรั่งจะเอา ขอฟาดควาญ!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ชนเผ่า Apatani (ชนเผ่าเจาะจมูก)เป็นหนึ่งในกลุ่มชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมและประเพณีเฉพาะตัวจริงหรือมั่ว? “กินแคร์รอต” เป็นประจำจะทำให้ตัวเหลือง7 วิธี ที่จะช่วยเปลี่ยนวันที่แสนน่าเบื่อให้กลายเป็นวันที่แสนสดใสความงดงามและความลึกลับของเรือที่จมในแอนตาร์กติกา
ตั้งกระทู้ใหม่