หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

7 เรื่องสยองของแฟชั่นยุควิคตอเรียน

เนื้อหาโดย มารคัส

7 เรื่องสยองของแฟชั่นยุควิคตอเรียน

 

แม้ยุควิคตอเรียนจะเป็นยุคหนึ่งที่แฟชั่นมีความรุ่งเรืองจนส่งอิทธิพลต่อแฟชั่นในยุคปัจจุบัน แต่เบื้องหลังความงาม หรูหรา และฟูฟ่องเหล่านั้นต่างผ่านเรื่องราวอันน่าขนหัวลุก กรรมวิธีประหลาดที่อันตรายถึงชีวิตมาแล้วนับไม่ถ้วน และนี่คือ 7 เรื่องสยองของแฟชั่นยุควิคตอเรียน ที่อาจจะต้องแลกชุดสวยๆ ด้วยชีวิต

1. การย้อมสีด้วยสารหนู

Image Source

ก่อนยุค 1780s เทคโนโลยีเรื่องสียังไม่เจริญ การผสมสีขั้นที่ 2 โดยเฉพาะสีเขียวจึงเป็นเรื่องยาก ในช่วงปลายยุค 1770s มีนักเคมีชาวสวีเดน-เยอรมัน ชื่อ “Carl Wilhelm Scheele” ได้ค้นพบวิธีการสร้างสีเขียวด้วยการผสมโปรแตสเซียมกับสารหนูในสารละลายกรดกำมะถัน จนได้รับการขนานนามว่า “Scheele’s Green” หรือ “Paris Green” ในเวลาต่อมา ด้วยเฉดสีที่สวยงามและเป็นที่นิยม ทำให้ผู้คนนำสีเขียวนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ทาผนังห้อง ผสมในเทียนไข ทาของเล่นเด็ก ทำบรรจุภัณฑ์ห่ออาหาร ซึ่งอันตรายจากสารหนูส่งผลข้างเคียงต่อผู้คนมากมาย ทั้งผิวหนังพุพองยามสัมผัส หรือคลื่นไส้อาเจียนยามสูดดม โดยเฉพาะการนำไปย้อมสีเสื้อผ้า ซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่คนงานตัดเย็บไปจนกระทั่งผู้สวมใส่ ว่ากันว่าต้นเหตุของการเสียชีวิตของนโปเลียนที่ถูกวางยาด้วยสารหนู ยาพิษนั้นอาจจะมาจากวอลเปเปอร์ลูกไม้ที่บ้านของเขาใน St. Helena ก็เป็นได้

“Emerald Green Dress” เดรสที่ถูกย้อมสีด้วยสารหนู | Image Source

2. ชุดนำโรค

ในยุควิตอเรียน ไม่เพียงทหารหรือชนชั้นล่างเท่านั้นที่ติดโรคจากการคุกคามของเหล่าปริสิตอย่างหมัด เห็บ และเหา จนก่อให้เกิดโรคไข้เทรนช์และไทฟัสจนเสียชีวิต แต่ชนชั้นสูงบางคนยังติดโรคเหล่านี้จากเสื้อผ้าที่กลายเป็นพาหะอย่างดี เนื่องจากถูกตัดเย็บ หรือทำความสะอาดโดยคนงานที่มีเชื้อนี้อยู่ในตัว อย่างเช่นลูกสาวของนายกรัฐมนตรี Sir Robert Peel ที่เสียชีวิตด้วยไข้ไทฟัสจากการสวมชุดขี่ม้าที่ผู้เป็นพ่อให้เป็นของขวัญ ซึ่งถูกตัดเย็บโดยช่างชาวบ้านที่เคยใช้ชุดนั้นคลุมให้สามีของเธอตอนที่ป่วยก่อนส่งต่อให้ลูกสาวของ Sir Robert ได้สวม นอกจากนี้ชุดอันฟูฟ่องลากพื้นของเหล่าสตรีในยุควิคตอเรียนก็ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งในนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากชายกระโปรงสัมผัสกับถนนที่สกปรกโดยตรง

3. ชุดสุ่มหายนะ

Image Source

ชุดกระโปรงสุ่ม หรือ “Crinoline” เป็นเทรนฮิตในสมัยยุควิคตอเรียน แต่ความงามเหล่านั้นกลับเป็นอันตรายต่อพวกเธอในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสาวที่ทำงานในโรงงานหรือเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลต่างๆ ซึ่งเคยมีหญิงสาวคนหนึ่งที่ทำงานในโรงพิมพ์ถูกเครื่องจักรทับร่างจนเสียชีวิตเนื่องจากเครื่องจักรดูดชายกระโปรงอันฟูฟ่องของเธอ

ในปี 1860 โรงสีแห่งหนึ่งในเมือง Lancashire ถึงขั้นติดป้ายประกาศห้ามคนงานสวมชุดสุ่มนี้เข้าทำงาน แม้ว่าภายหลังชุด Crinoline จะได้รับการปรับให้เล็กลง แต่นั่นก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตอยู่ดี บ่อยครั้งชายกระโปรงมักไปเกี่ยวกับล้อของรถม้า หรือเป็นเหตุให้พลัดตกบันได ซึ่งทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตหลายราย

Image Source

4. ชุดติดไฟ

ชุดผ้าฝ้ายสีขาวได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปลายศตวรรษที่ 18 – 19 ซึ่งผ้าชนิดนี้เป็นอันตรายต่อผู้สวมเป็นอย่างมาก เนื่องจากติดไฟง่าย ในปี 1809 John Heathcoat ประดิษฐ์เครื่องทำผ้าตาข่ายขึ้นมาได้สำเร็จ ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อของผ้า Tulle หรือ Bobbinet ที่มักใช้ซ้อนใต้กระโปรงเพื่อเพิ่มวอลุ่มให้ดูหนาและใหญ่ขึ้น ซึ่งผ้า Tulle ถือเป็นวัสดุที่มีความไวไฟสูงมาก ในปี 1844 Clara Webster นักบัลเลต์ชาวอังกฤษถูกไฟไหม้เสียชีวิตขณะกำลังแสดงใน London’s Drury Lane เนื่องจากกระโปรงของเธออยู่ใกล้ไฟบนเวทีมากเกินไป

Image Source

ไม่เพียงแค่นั้น ผ้า flannelette ที่ทอขึ้นมาจากผ้าฝ้ายก็ติดไฟง่ายเช่นกัน ผ้าชนิดนี้มักใช้ทำชุดนอนหรือชุดชั้นใน ซึ่งเด็กๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกไฟไหม้เนื่องจากมักทำเทียนไขหล่นใส่เสื้อผ้าในตอนกลางคืน จนต่อมามีบริษัทหนึ่งได้ผลิตผ้า Flannelette แบบไม่ติดไฟขึ้นมาพร้อมโฆษณาโดยใส่วลีเด็ดว่า “strong’y recommended by Coroners.” (แนะนำโดยเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ)

Image Source

5. พิษจากสัตว์สตัฟฟ์

ซากนกสตัฟฟ์ได้รับความนิยมในการนำมาประดับตกแต่งหมวกของหญิงสาวในศตวรรษที่ 19 โดยสารพิษที่เป็นอันตรายเกิดจากสารหนูที่ใช้ในการสตัฟฟ์ รวมถึงสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในการรักษาซากศพของนกให้สมบูรณ์อยู่เสมอ  นอกจากอันตรายแล้ว แฟชั่นการประดับหมวกด้วยนกสตัฟฟ์ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมในเรื่องของความโหดร้ายทารุณ โดยในปี 1887 Mrs. Haweis นักเขียนเกี่ยวกับแฟชั่นออกมาต่อต้านเทรนด์ดังกล่าวด้วยประโยคที่ว่า “A corpse is never a really pleasant ornament” (ซากศพไม่มีทางเป็นเครื่องประดับที่สวยงาม)

6. สารปรอท

หมวกคือเครื่องบอกฐานะในยุควิคตอเรียนที่มีกรรมวิธีการผลิตแสนอันตราย ซึ่งเหล่าช่างทำหมวกมักใช้สารปรอทในการทำให้ขนเฟอร์ของกระต่าย บีเวอร์ที่มีคุณภาพต่ำ แข็งกระด้างกลายเป็นเฟอร์ราคาแพงที่ดูนุ่มนวล เงางาม และดูมีราคาแพง ซึ่งสารปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายผ่านทางการสูดดม หรือสัมผัส และส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ตั้งแต่ผิวหนังอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิต

หมวกบุรุษทำขึ้นจากขนบีเวอร์ที่ผ่านกระบวนการฟอกสารปรอท | Image Source

7. สารตะกั่ว

สารตะกั่วถูกใช้ในการผลิตเครื่องสำอางในยุควิคตอเรียนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากให้เฉดสีขาวแน่นและสวยงาม เพื่อให้เหล่าชนชั้นสูงโดดเด่นออกจากเหล่าสาวผู้ใช้แรงงาน ในปี 1869 หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท American Medical Association ต้องชดใช้ค่าเสียให้กับผู้ใช้ 3 รายที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Laird’s bloom of youth แล้วไม่สามารถควบคุมมือและข้อมือได้ โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอาการของ lead palsy ที่เกิดจากพิษของสารตะกั่วและส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรงแบบกะทันหัน

https://www.jeab.com/style-beauty/style/7-horror-victorian-fashion

คลิปจาก มื้อดึกสยองขวัญ Returns

เนื้อหาโดย: มารคัส
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มารคัส's profile


โพสท์โดย: มารคัส
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: MsFour, มู๋มี่มากินเกี๊ยวแปบ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
1 ใน 8 ของนักเรียนร.ร.รัฐในนิวยอร์ก'ไร้บ้าน'!ตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTSเลขเด็ด "แม่ทำเนียนลอตเตอรี่" งวด 1 ธันวาคม 2567 มาแล้ว!..รีบส่อง ก่อนหวยหมดนางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจ5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลิลลี่ เหงียน" สวนกลับ "ปู มัณฑนา"..อย่าลืมเอาเงินมาคืนกะxsี่ผู้มีพระคุณด้วยเงินดิจิทัลเฟส 3 คนทั่วไป เงินเข้าเมื่อไหร่ ได้เงินสดไหม วิธีเช็กสถานะทางรัฐอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"หวังเซียนเฉา นักการทูตผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง‘ขนม ศศิกานต์’ เลิก ‘ครูเต้ย อภิวัฒน์’ ทั้งที่เพิ่งคลอดลูก คนที่ 2 จากกันด้วยดี ไม่มีมือที่ 3
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
ล่าแม่มดทริบูร์: ความกลัวที่ทำให้ชีวิตกลายเป็นเพียงเงาในประวัติศาสตร์"นิยายวาย : เดิมพันรักนักพนันแจ็คเดอะริปเปอร์: ฆาตกรที่โหดที่สุดในประวัติศาสตร์อีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"
ตั้งกระทู้ใหม่