หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เตือน!! "ฟันผุเสี่ยงตายได้นะ" หนุ่มใหญ่นิ่งนอนใจ ปล่อยฟันผุเรื้อรังจนเป็นหนอง ต้องเจาะคอเพื่อยื้อชีวิต!!

เนื้อหาโดย Goddess Sloth

วันที่ 20 พ.ย. นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมระบุข้อความว่า ฝีหนองเนื้อเยื่อใต้คางจากฟันผุเรื้อรัง
โรค Ludwig’s angina หายใจติดขัดต้องเจาะคอช่วยหายใจ เหตุจากโรคฟันผุเหงือกอักเสบเรื้อรัง ฟันผุอย่านิ่งนอนใจ

เหตุจากฟันผุ ทำให้ติดเชื้อรุนแรงจนลิ้นคับปากดันปิดทางเดินหายใจ เสี่ยงเสียชีวิตหากรักษาไม่ทันท่วงที ผู้ป่วยชายอายุ 40 ปี ฟันกรามผุเรื้อรังมานาน ไม่สนใจไปรักษา ปวดหาย ซื้อยาร้านยามากินเอง 7 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ ปวดฟันกรามมาก ซื้อพลาสเตอร์ปิดลดปวดที่แก้ม เริ่มปวดบวมแดงร้อนที่คาง ลามไปรอบคอด้านหน้าและหน้าอกตอนบนอย่างรวดเร็ว ลิ้นจุกคับปาก กลืนน้ำลาย น้ำ อาหารไม่ลง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัวไปหมด

1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ไข้หนาวสั่นมาก หายใจติดขัด จึงรีบมาโรงพยาบาล เข้าห้องฉุกเฉิน แพทย์อีอาร์ รีบให้สารน้ำแก้ภาวะขาดน้ำ งดน้ำ และอาหาร ช่วยหายใจ ให้ออกซิเจนทางจมูกพอหายใจเองได้เล็กน้อย ออกซิเจนในเลือดต่ำลง ให้ยาต้านเชื้อทางเส้นเลือด รีบส่งห้องผ่าตัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูคอจมูกเป็นการด่วน

ลำดับแรกที่แพทย์และทีมงานต้องทำคือ การเจาะคอแบบฉุกเฉิน ช่วยหายใจให้ได้ก่อนเป็นการเร่งด่วน แล้วให้ยาสลบ ตามมาด้วยการผ่าฝีหนองออกเพื่อลดอาการบวม ได้หนองประมาณ150ซีซี หนองขังอยู่ในโพรงใต้คางและดันเข้าไปโพรงใต้ลิ้น ยกลิ้นขึ้นมาจนปิดช่องปาก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เข้ารักษาในห้องไอซียู 5 วัน จึงเอาเครื่องออกได้ แต่ยังคงต้องคาท่อที่เจาะคอช่วยหายใจเอาไว้จนกว่าจะยุบบวมหมด หลังจากนั้นค่อยส่งพบหมอฟันมาจัดการเรื่องต้นเหตุฟันผุกันต่อ

นพ.อารักษ์ ระบุข้อความด้วยว่า “วิทยาทาน โรคนี้ปัจจุบันเจอได้น้อย แต่รุนแรงมาก @@Ludwig’s angina ได้ถูกเรียกชื่อตาม Wilhelm Frederick von Ludwig ในปี ค.ศ.1836 หมายถึง การอักเสบติดเชื้อของชั้นเนื้อเยื่อในโพรงใต้คาง (Submandibular space) เป็นภาวะที่พบได้น้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีการพัฒนาของยาต้านจุลชีพ โดยอัตราการเสียชีวิตลดลงจาก 50 เปอร์เซ็นต์ ในปี ค.ศ.1940 ก่อนที่จะมีการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาการติดเชื้อที่เหงือกและฟัน (odontogenic infection) เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ หลังจากมีการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยภาวะนี้มักพบในผู้ใหญ่มาก@@”

 

Cr : Thai News.

เนื้อหาโดย: Goddess Sloth
Tags  Thai News.
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Goddess Sloth's profile


โพสท์โดย: Goddess Sloth
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: ken 7
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ตอนเรียนกับตอนทำงานเต่างกันแค่ไหน?แล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้อดีตผู้บริหารหญิง Google ไทย เมาแล้วขับ ลาออกเมื่อต้นปี..ทั้งนี้ยังมาก่อเหตุซ้ำอีก!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
กระบี่ : ปฏิบัติการฝนหลวงตลอด 3 วันสถานการณ์ขาดน้ำประปาเริ่มคลี่คลาย | มีคลิปเฮทั่วประเทศ ! ฟุตซอลไทย ชนะจุดโทษ ทาจิกิสถาน เข้าชิงแชมป์เอเชีย 2024ตำรวจดักจับคารู หลังนักโทษร่วมกัน ขุดรูแหกคุก!!ผู้ว่าการรัฐเตรียมลงนาม ให้ครูพกปืนในโรงเรียนได้
ตั้งกระทู้ใหม่