5 เทคนิคทางจิตวิทยาที่สามารถช่วย ให้คุณลืมสิ่งที่คุณ”อยากลืม”
พวกเราหลายคนอาจเคยถูกบ่น หรืออาจจะบ่นตัวเองว่า “ขี้ลืม” เรามักจำสิ่งต่างๆ ได้ไม่ดีนัก แม้บางครั้งเราพึ่งพูดออกไปหยกๆว่า จะขึ้นบ้านเพื่อมาเอาอะไรบางอย่าง แต่พอเราขึ้นมาแล้วเรากลับจำไม่ได้ว่าเราจะมาเอาอะไร หรือเรามักจะลืมกุญแจ ลืมมือถือ ลืมกระเป๋าตังค์บ่อยๆ หรือแม้แต่การเรียนเราอาจเรียนหนังสือแล้วอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็ยังลืม แต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีเหตุการณ์บางอย่างที่เราต้องการลืมไปจากใจแต่กลับติดอยู่ในใจอยู่เสมอและเอามันออกไปจากใจไม่ได้เสียที ซึ่งมันดูเหมือนไม่ยุติธรรมเอาซะเลย
แม้ในศตวรรษที่ 21 นี้ก็ยังมีหลายสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของจิตใจของเรา ไม่มียาเม็ดไหนที่ช่วยให้เรา“ ลืม”สิ่งที่อยากลืมได้ เวปไซด์ Bright Side ได้ทำการวิจัยและรวบรวมเทคนิคต่าง ๆ ที่อาจจะช่วยพวกเราทุกคนได้
เคล็ดลับที่ 1: เลิกคิดซ้ำๆ
© depositphotos.com
หากคุณต้องการจำเบอร์โทรศัพท์ของแม่ของคุณอาจ คุณอาจต้องท่องซ้ำๆหลายๆ ครั้งเพื่อให้ติดอยู่ในความทรงจำของคุณ เทคนิคในการลืมสิ่งต่างๆคือวิธีการที่กลับกัน: ทุกครั้งที่ความทรงจำนี้ผุดขึ้นมาในใจของคุณให้ปล่อยมันไป นอกจากนี้คุณอาจลองไปคิดอย่างอื่น เพื่อไม่ให้คอยระลึกถึง หากคุณทำสิ่งเหล่านี้บ่อยพอวันนึงคุณอาจจะลืมมันไป
เคล็ดลับที่ 2: เปลี่ยนบริบท
© depositphotos.com
ในขณะที่คิดถึงความทรงจำที่ไม่ดีของคุณ คุณอาจจำรายละเอียดได้หลายอย่างเช่นมันเกิดขึ้นที่ไหน ตอนนั้นคุณอายุเท่าไหร่ คุณใส่เสื้อผ้าชุดไหนหรือคุณอยู่กับใคร นักวิจัยค้นพบว่าหน่วยความจำจะเชื่อมโยงกับองค์ประกอบต่างๆและมันทำให้เราจำได้มากขึ้น ดังนั้นหากคุณต้องการที่จะลืม สิ่งต่างๆควรมีการเปลี่ยนแปลง
ลองเพิ่มสิ่งที่ขัดแย้งกันที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงและเริ่มคิดถึงสถานการณ์ในสภาพที่แตกต่างกัน ในท้ายที่สุดคุณจะสับสนมากจนผลักความจำนี้ออกจากหัวของคุณ
เคล็ดลับ 3: สร้างความจำที่น่าจดจำ
เคล็ดลับนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อคุณทำสิ่งนี้ทันทีหลังจากมีบางสิ่งที่คุณต้องการลืม หลังจากสิ่งที่คุณต้องการลืมเกิดขึ้น คุณควรทำสิ่งที่น่าจดจำในช่วงเวลานั้นแทนและควรเป็นสิ่งที่น่าจดจำมากกว่า
ตัวอย่างเช่นหากคุณอยู่ระหว่างการสนทนาที่น่าอึดอัดใจกับเพื่อนเก่าของคุณ ให้คุณลองไปซื้อสิ่งที่คุณอยากได้มากๆ สวนสนุก หรือแค่กอดกับคนที่คุณรัก เพราะการสัมผัสทางกายภาพมีผลดีต่อสุขภาพจิต และแน่นอนว่าในขณะที่หันเหความสนใจของตัวคุณเอง คุณไม่ควรคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น มิฉะนั้นคุณจะต้องเพิ่มองค์ประกอบอื่นๆให้กับความทรงจำของคุณด้วย
เคล็ดลับ 4: ลืมเรื่องนี้ไปคิดด้านบวก
© depositphotos.com
ทุกครั้งที่มีความทรงจำที่ไม่ดีเข้ามาในจิตใจของคุณ ลองนึกถึงสิ่งที่คล้ายกันที่เป็นแง่บวกเพื่อแทนที่ความทรงจำที่แย่ ตัวอย่างเช่นหากคุณพูดอะไรบางอย่างที่ดูเขลากับเพื่อนของคุณ และต้องการที่จะลืมช่วงเวลานี้ให้จำช่วงเวลาที่คุณเคยพูดถึงสิ่งที่ดูฉลาดหรือมีไหวพริบจริงๆ ทำทุกครั้งที่คุณจำได้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการลืมและในที่สุดคุณจะลืมมันไปเอง
เคล็ดลับที่ 5: เปลี่ยนมุมมอง
บางครั้งเราก็คิดมากเกินไปและกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่ควรทำ อารมณ์ของเราเป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่ลืมความทรงจำนั้นๆ ดังนั้นกุญแจสำคัญคือการเปลี่ยนอารมณ์ที่ไม่ดีของเราและลองคิดจากมุมมองที่ต่างออกไป อาจจะไม่มีอะไรแย่ๆที่เกิดขึ้นจริงๆและคิดเรื่องราวที่ดีๆ
หากคุณไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้และต้องการความคิดเห็นของคนอื่นที่ให้คำแนะนำได้ดี บางทีปฏิกิริยาของบุคคลนั้นจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่า คุณได้คิดมากเกินไปและความรู้สึกแย่ๆของคุณก็จะหายไป ทำให้คุณลืมเรื่องราวแย่ๆที่เกิดขึ้น
แอดขอเสริมว่า เราเคยได้ยินคำพูดที่ว่าอยากจำกลับลืมอยากลืมกลับจำ นั้นเป็นคำพูดโบราณที่พวกเราได้ยินมาแต่ไหนแต่ไร หลายคนอาจบอกเพื่อนของตัวเองว่าลืมไปซะเถอะ แต่มันไม่ง่ายเลยจริงๆ ถ้าไม่ได้เกิดกับตัวเอง
ลองดูดีๆเถอะว่า ยิ่งคุณอยากลืมมากเท่าไร คุณจะยิ่งจำเรื่องราวเหล่านั้นได้มากขึ้นเท่านั้น บางครั้งการปล่อยวาง และปล่อยให้ความคิดนี้ผ่านไปเหมือนกับสายลม และไม่ไปห้ามไม่ให้ไม่ให้คิดถึงมัน มันก็จะผ่านไปโดยที่เราไม่ได้เป็นทุกข์อะไรมากมาย บางครั้งการไม่หนี ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเราได้อีกหนทางหนึ่ง แต่ก็ต้องดูสภาวะใจตอนนั้นว่าเราทนไหวหรือไม่ ถ้าไม่ไหว เราก็ควรถอยไปทำอะไรอย่างอื่นให้รู้สึกดีขึ้น
ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside