“Operation Baby lift” “ปฏิบัติการ ย้ายเด็กออกจากสงคราม”
“Operation Baby lift”“ปฏิบัติการ ย้ายเด็กออกจากสงคราม”
ในช่วงสุดท้ายของสงครามเวียดนาม ฝ่ายเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์ ได้รุกคืบมาจนเกือบถึงกรุงไซ่ง่อน ซึ่งเป็นที่มั่นของเวียดนามใต้ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่น(รวมถึงไทย)
เด็กทารกจะถูกใส่กล่องแบบนี้ไว้และผู้ติดกับที่นั่ง อันนี้เป็นเครื่องของสายการบินครับ
ในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ.1975 ประธานาธิบดี Gerald Ford จึงได้สั่งการให้นำเด็กกำพร้า(แต่บางคนไม่กำพร้า ซึ่งเป็นข้อถกเถียงในตอนนั้น) ที่เกิดจากทหารชาวอเมริกัน ไปมีลูกที่เวียดนามและได้ให้กำเนิดลูกครึ่งขึ้นมาซึ่งมีมากมาย และเด็กทารกอื่นๆ ที่กำพร้าทั้งพ่อและแม่จากสงคราม นำออกไปจากกรุงไซง่อน ซึ่งมีมากกว่า 3,000 คน
จากกล่องseatของเด็ก จะเห็นว่าเป็นสายการบิน Pan American
ปฏิบัติการเริ่มขึ้นในวันถัดมาทันที เริ่มต้นโดยการใช้เครื่องบิน C-5 ของสหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วยเด็กทารก 250 คน รวมไปถึงเจ้าหน้าที่อาสา พยาบาล และเจ้าหน้าที่จากสถานทูต
รูปนี้เป็นการขนเที่ยวแรก โดยเครื่องบินแบบ C-5 ก่อนที่เครื่องจะตกและเสียชีวิต 138 คน
เหตุการณ์อันน่าสลดเกิดขึ้นหลังจากเครื่องเทคออฟไปได้แค่ 12 นาที ประตู cargo ได้หลุดออกไปกระแทกกับหางเครื่องซึ่งเป็นพื้นบังคับหลัก นักบินได้พยายามทำการลงจอดฉุกเฉินที่สนามบิน Tan Son Nhut แต่เครื่องได้ตกกระแทกก่อนถึงสนามบิน 2 ไมล์ เด็ก 78 คนและเจ้าหน้าที่ 35 คนเสียชีวิตในเที่ยวบินนี้
ภาพการตกของเครื่องบินเที่ยวแรก ใน operation babylift
ถึงแม้จะเกิดเหตุน่าสลด แต่ปฏิบัติการยังคงต้องดำเนินต่อไป
สุดท้ายแล้วปฏิบัติการขนเด็กนั้นใช้ไปกว่า 30 เที่ยวบิน ประกอบไปด้วยเครื่อง C-5A Galaxy และ C-141 Starlifter รวมไปถึงเครื่องของสายการบิน ต่างๆ เช่น Pan Am, World Airways ตั้งแต่วันที่ 3-26 เมษายน ก่อนที่กรุงไซ่ง่อนจะแตกในวันที่ 30 เมษายน (ฉิวเฉียดพอดีเลย)
ประธานาธิบดี Gerald Ford ของสหรัฐอเมริกา ป้อนนมทารกชาวเวียดนาม บนรถบัสสำหรับขนผู้ลี้ภัย
โดยการขนเด็กนั้นไม่ใช่บินไปที่อเมริกาเลยนะ แต่จะนำไปส่งที่ฐานทัพอากาศ Clark ที่ฟิลิปปินส์ก่อน จากนั้นจึงจะนำเด็กไปอุปการะ โดยไปที่สหรัฐอเมริกา หรือประเทศพันธมิตร ซึ่งโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา มีครอบครัวที่พร้อมอุปการะอยู่เป็นจำนวนมาก
จริงๆ แล้ว ปฏิบัติการนี้จะไม่มีทางสำเร็จทันเวลาเลย เด็กจะขึ้นเครื่องได้ไม่หมด และโดนเวียดนามเหนือรุกคืบมาถึงก่อนแน่นอน
นอกจากเด็กทารกก็จะมีเด็กวัยโตขึ้นมาหน่อย เพราะสงครามเวียดนามที่มีทหารอเมริกาเข้ามาแล้วกินเวลาเกือบสิบปีนะ
นักธุรกิจชาวอเมริกันคนหนี่งชื่อว่า Robert Macauley ติดตามปฏิบัติการนี้มาโดยตลอด เขามองเห็นทันทีว่าการขนส่งไม่มีทางทันแน่นอน มันช้าซะเหลือเกิน เด็กๆที่เหลือไม่รู้จะพบชะตากรรมอะไร
เครื่องจากสายการบิน World Airways จะเห็นได้ว่าสมัยนั้นทุกคนสนใจเรื่องนี้มาก นักข่าวเยอะมากๆ ลองหารูปในกูเกิ้ลดูนะครับมีเยอะมากๆ
เขาเลยเอาบ้านตัวเองไปจำนอง
เอาเงินที่ได้โทรไปหาสายการบิน World Airways บอกขอเหมาเครื่อง Boeing 747 เที่ยวบินหนี่งให้ไปรับเด็กที่เวียดนามมาหน่อย
สุดท้ายปฏิบัติการเสร็จสิ้นเร็วขึ้นได้เพราะมีคุณ Robert ช่วยเหลือเนี่ยแหละ
ปฏิบัติการนี้ทำจนกระทั่ง เวียดนามเหนือรุกคืบมาจนยิงปืนใหญ่ใส่สนามบิน รันเวย์แตก เที่ยวบินสุดท้ายจึงบินไปแบบไม่กลับมา เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจ
รวมแล้วนั้นขนเด็กและทารก 3,300 คน โดยเด็กมากกว่า 2,500 คนได้ไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา ได้สัญชาติ และเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน
วันหลังจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กพวกนี้นะ ที่บางคนกลับมาเยี่ยมแม่แท้ๆที่เวียดนาม โดยการจับคู่ผ่านการตรวจ DNA เรียกว่าปฏิบัติการ Reunite
ภาพจากข่าวหนังสือพิมพ์ที่ประเทศออสเตรเลีย น้องคนนี้ได้รับขีวิตใหม่ที่ออสเตรเลีย ประเทศนี้รับเด็กเข้าไปเยอะรองจากสหรัฐอเมริกาเลยนะ
ข่าวนี้เขียนว่าทางซ้ายเป็นภาพน้องร้องไห้ จากนั้นพอทราบว่าได้ไปอยู่ที่ๆ มีแต่ความรักรอบตัว น้องจึงยิ้มได้
เด็กทารกเวียดนามอายุสามเดือน ดูแลโดยแอร์โฮสเตส ในเที่ยวบินไปเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
https://www.facebook.com/imfromandromed/photos/pcb.412545176042195/412544909375555/?type=3&theater
Reference: https://www.saigonnezumi.com/vietnamese-adoptee-articles/…
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Operation_Babylift
https://www.npr.org/…/remembering-the-doomed-first-flight-o…
http://www.vietnambabylift.org