ศาลยุโรปไม่ถูกใจสิ่งนี้! สั่งเว็บไซต์ที่ใช้ปุ่ม Like ของ Facebook ต้องขออนุญาตจากผู้ใช้ก่อน
ศาลยุติธรรมยุโรป (CJEU) ประกาศให้เว็บไซต์ที่ติดตั้งปลั๊กอินแสดงจำนวนยอดไลค์จากโซเชียลมีเดียต่างๆ ต้องมีการขออนุญาตจากผู้ใช้งานก่อน เนื่องจากว่าการติดตั้งปุ่ม Like บนเว็บไซต์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ที่มีถ่ายถ่ายโอนข้อมูลออกไปภายนอก และเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายความเป็นส่วนตัว
เนื่องจากในปัจจุบันดูเหมือนว่าปุ่ม Like ของ Facebook จะมีการถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลโดยอัตโนมัติโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องโต้ตอบกับปลั๊กอิน (เพราะผู้คนส่วนใหญ่จะ login เฟสบุ๊คค้างไว้อยู่แล้ว) ซึ่งหมายความว่าหากเว็บไซต์มีผู้เข้าชมกดไลค์ ก็คือการยินยอมให้ข้อมูลของพวกเขาถูกแชร์กับ Facebook ดังนั้นพวกเขาอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานของปลั๊กอินของปุ่มนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการส่งข้อมูลไปยัง Facebook อีก รวมถึงมีคดีที่มีผู้บริโภคชาวเยอรมันได้ร้องเรียนกับผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าออนไลน์ “Fashion ID” เนื่องจากละเมิดกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้ปุ่มไลค์บนเว็บไซต์ โดยศาลได้ชี้ว่าโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์นั้นจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
ทั้งนี้ที่ปรึกษาของ Facebook ได้เปิดเผยว่ากำลังทบทวนการตัดสินใจของศาลอย่างรอบคอบ และจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์จากปลั๊กอินดังกล่าวและเครื่องมือทางธุรกิจอื่นๆ ของเราอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามกฎหมาย
ปล. เว็บไซต์ในประเทศยุโรปจะทำอย่างไรกันนะ จะพัฒนาปลั๊กอินปุ่มไลค์ใหม่หรือจะออกไปเลยดี