หัวเว่ย ผลักดันเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ
กรุงเทพฯ ประเทศไทย/ 23 กรกฎาคม 2562 – เทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถช่วยให้ผู้หญิงมีอิสระมากยิ่งขึ้น และยุคดิจิทัลก็มอบโอกาสที่เท่ากันให้ทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและกรรมการบริหารบริษัทหัวเว่ย กล่าวในบทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Brussels Times
“งานบ้านก็ยังเป็นงานที่คนมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเป็นหลัก แม้ว่าสำหรับผู้บริหารระดับสูงในสายงานไอซีทีอย่างดิฉันจะมองว่าเป็นแนวคิดที่ออกจะเชยก็ตาม” แคทเธอรีน เฉิน กล่าว
จากงานวิจัยที่ชื่อว่า “ผู้หญิงในยุคดิจิทัล” (Women in the Digital Age) ซึ่งจัดทำโดยสหภาพยุโรป ความไม่เท่าเทียมทางเพศในโลกดิจิทัลเป็นผลมาจากการคงอยู่ของอคติที่ฝังรากลึก เกี่ยวกับเรื่องความเหมาะสมและความสามารถของหญิงและชาย ซึ่งรวมถึงเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย
“ที่หัวเว่ย เราพยายามไม่ให้เรื่องเพศกลายมาเป็นปัญหา โดยมีวิธีคือ การปฏิบัติต่อพนักงานในบริษัทอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง ผู้อาวุโสหรือเด็ก ผู้มีประสบการณ์หรือผู้ที่เพิ่งจบการศึกษามาก็ตาม โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลของหัวเว่ยมีนโยบายที่ส่งเสริมตั้งแต่พนักงานไปจนถึงสร้างความพอใจของลูกค้า เรามีผู้บริหารหญิงหลายคนที่ประสบความสำเร็จและในทีมของดิฉันเองก็มีผู้หญิงอยู่หลายคนเช่นกัน” มิสแคทเธอรีนกล่าว
เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น 5G (เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) สมาร์ทโฮม และระบบหุ่นยนต์ทำให้งานบ้านเป็นงานที่ทุกคนในบ้านช่วยกันทำได้ และให้อิสระแก่ผู้หญิงมากขึ้นในการทำงานนอกบ้านและการทำธุรกิจต่างๆ
เทคโนโลยี 5G และการต่อยอดไปสู่การใช้งานบิ๊กดาต้าควรมีส่วนในการสร้างการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสมอภาค ในอนาคตข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมากยิ่งขึ้นและจะเชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น องค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือก็จะแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ตลอดจนขอบเขตของการติดต่อสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลออนไลน์ในชีวิตประจำวันของเราก็จะกว้างไกลออกไปมากยิ่งขึ้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนเวลาใดก็ตาม เทคโนโลยี 5G และ AI จะลดภาระการทำงานและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เติบโต
เมื่อต้นปี หัวเว่ย ผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ได้เปิดตัว TECH4ALL ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมการเข้าถึงดิจิทัลเพื่อจะช่วยให้ผู้คน 500 ล้านคนทั่วโลกได้ประโยชน์โดยตรงจากเทคโนโลยีดิจิทัลในอีกห้าปีข้างหน้า โครงการนี้จึงเป็นมากกว่าการเชื่อมต่อ เราจึงต้องขยายนิยามของการเข้าถึงดิจิทัลให้ครอบคลุมการใช้งานและทักษะต่างๆ ด้วย
ยกตัวอย่างเช่นในบังกลาเทศ หัวเว่ยร่วมกับโรบิ เอเซียต้า (Robi Axiata) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศได้ช่วยรัฐบาลสอนทักษะด้านดิจิทัลแก่ผู้หญิงราว 250,000 คนโดยจัดรถฝึกอบรมเคลื่อนที่ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์อันทันสมัยออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ กว่า 64 เขตของบังกลาเทศ
“เราให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงในชุมชนยากจน เช่น ในประเทศแอฟริกาใต้ นักเรียนกว่า 50% ในหลักสูตรปริญญาของเราเป็นนักเรียนหญิง ส่วนในประเทศไนจีเรีย เราได้สอนเด็กผู้หญิงหลายพันคนผ่านทางโปรแกรมฝึกทักษะด้าน ICT” แคทเธอรีน กล่าว
จากการส่งเสริมให้หญิงและชายสามารถเข้าถึงการศึกษาด้าน ICT อย่างเท่าเทียมกัน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับความต้องการในยุคดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม โครงการนี้จึงไม่เพียงช่วยลดช่องว่างด้าน ICT ระหว่างหญิงและชายเท่านั้น แต่ช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลก็ยังลดลงอีกด้วย
“พูดง่ายๆ ก็คือ ตอนนี้ตลาดแรงงานในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลยังต้องการบัณฑิตอีกเป็นจำนวนมาก และตำแหน่งงานเหล่านี้ควรมีผู้หญิงเข้ามาทำด้วย”