รัฐบาลแถลงนโยบาย ขอให้ฝ่ายค้านอย่าเพิ่งอภิปรายไม่ไว้วางใจ
17 ก.ค.62 หลังจากอดีตหัวหน้าคสช.ได้ออกมาขอให้ฝ่ายค้านอย่าเพิ่งอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงรัฐบาลแถลงนโยบายนั้น
"จิรายุ" อภิปรายปิดท้าย ยกตัวอย่างเคสที่ไม่สามารถยกมือให้ "ประยุทธ์" ได้ พร้อมกราบเท้า ส.ว. โชว์ หากออกเสียงไม่เลือก "ประยุทธ์" เป็นนายกฯ
ในการประชุมสภา นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้ขึ้นอภิปรายเป็นคนสุดท้าย ก่อนที่จะมีการโหวตนายกฯ
นายจิรายุ กล่าวว่า ตามประเพณี ตนเป็นผู้ได้รับฉันทานุมัติสรุปการอภิปรายในหลายประเด็น ตั้งแต่เช้าจนถึงตอนนี้ เป็นเรื่องคุณสมบัติ หลายท่านไม่ชัดเจน ในเรื่องของเสียงที่อ้างว่าได้จากประชาชน 8.4 ล้าน เป็นเสียงของพลังประชารัฐ ก่อนหน้า 3.9 ล้านจากประชาธิปัตย์ ก็บอกว่าไม่เอาพรรคพลังประชารัฐ รวมถึงภูมิใจไทยด้วย
นอกจากนี้ นายจิรายุ ยังได้ยกตัวอย่าง การทำผิดจริยธรรมในหลายครั้งของ พล.อ.ประยุทธ์ เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสม ซึ่งหากจะตอบว่า ยังไม่ได้รับรายงาน ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าตอนเป็น ผบ.ทบ. จะไม่พอใจ จะจับขังไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นนายกฯ ต้องถอดหัวโขนการเป็น ผบ.ทบ. ออกไป สื่อมวลชนถามอะไร ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ ต้องสุภาพเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องคุณสมบัติของว่าที่ นายกฯ ถูกต้องตาม รธน. หรือไม่นั้น มีการสอบถามไปยังคณะกรรมการ กกต. แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน จึงเป็นหน้าที่ของรัฐสภา ต้องวินิจฉัยกันเอง
แต่ในเรื่องของคุณสมบัติ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเป็นว่าที่นายกฯ พูดไปก็ไลฟ์บอย เหมือนเป็นการเปิดถ้วยแทง ถ้าเกิดมี ส.ว. 2 เสียง ไม่โหวตประยุทธ์ ผมจะไปกราบเท้าให้ดู
การเป็นผู้นำ ต้องมีจริยธรรม ตนรู้สึกเสียเวลากับ 5 ปีที่ผ่านมา พวกเราทั้งหลายก็ยอม ไม่อยากคิดว่าจัดตั้งหรือไม่ เข้ามาแรกๆ ก็บอกว่า เข้ามาแก้ไขความขัดแย้ง และขอเวลาอีกไม่นาน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ไม่ยกมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ อาทิ บางทีก็ร่าง รธน. โดยเงื่อนไขที่อยากอยู่ยาว ที่จริงการอภิปรายในวันนี้ ก็อยากได้ยิน ส.ว. อภิปรายถึง นายธนาธร บ้าง ว่าเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม กับการเป็นนายกฯอย่างไร
สุดท้าย รัฐสภามีผู้เสนอให้อภิปรายลักษณะต้องห้ามของผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็น นายกฯ รัฐสภาจึงมีอำนาจวินิจฉัย โดยขอให้ท่านประธาน โปรดวินิจฉัย ว่าผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ คือ นายธนาธร และ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้มีคุณสมบัติหรือไม่ก่อน ตราบใดที่ยังไม่ได้วินิจฉัย เท่ากับว่า ปล่อยผ่านลงมติ ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะฉะนั้นขอให้ท่านประธานวินิจฉัย และปล่อยให้ประเทศอยู่ภายใต้การบริหารของว่าที่นายกฯ
ซึ่งต่อมา นายชวน ไม่พิจารณาข้อโต้แย้ง กรณีคุณสมบัติว่าที่นายกฯ ที่ขัดรัฐธรรมนูญ พร้อมแจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรีต่อไป
กระทั่งเวลา 21.40 น. จบการอภิปราย วาระต่อไปเป็น พิจารณาความเห็นชอบของ 2 สภาร่วมกันเป็นการเปิดเผย และเป็นรายบุคคล.