ชมโคมไฟอัจริยะ IOT ทางออกโคมไฟถนนมีปัญหาในพื้นที่ความมั่นคงภาคใต้
โครงการติดตั้งโคมไฟถนนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ความมั่นคง มีปัญหาคุณภาพ โคมไฟติดๆดับๆ หรือใช้ได้ไม่กี่เดือนก็เสีย ล่าสุด ได้มีการคิดค้นระบบ IOT ใช้เทคโนโลยี 5G ควบคุมและตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นทางออกที่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสว่างของไฟฟ้าตามถนน ส่งผลต่อชีวิตและความปลอดภัยของชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะเป็นช้องโหว่ให้คนร้ายใช้ก่อเหตุได้ เพื่อแก้ปัญหามีการติดตั้ง โคมไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์ โดยศูนย์บริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยในปี 2562 ได้จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ.,อบต.,เทศบาล) ขอการสนับสนุนงบประมาณติดตั้งโคมไฟส่องสว่างในพื้นที่ ประมาณ 6,000 ล้านบาท เกือบ 500 โครงการ
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการของ อปท.หลายแห่งประสบปัญหาคุณภาพของสินค้า และมีการร้องเรียน เนื่องจากมีการใช้ระบบเก่าติดตั้ง เป็นระบบที่แม้จะใช้โซลาเซลล์ แต่ใช้แบตเตอรี่แบบธรรมดาเก็บประจุไฟฟ้า ปิดเปิดด้วยมือ ซึ่งเสียง่าย มีปัญหาไฟติดๆดับๆ และใช้ไปไม่นานแบตเตอรี่ก็จะมีปัญหา จึงเกิดการร้องเรียนตามมามากมาย
ระบบใหม่โคมไฟอัจริยะทางออกของปัญหา
ไฟส่องสว่างโซล่าเซลล์อัจฉริยะ คิดค้นโดยคนไทยโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยระบบการจัดการแบบบูรณาการของ IOT ที่มีการรวมระบบเป็น 1 เดียว ไม่แยกส่วนและนำมาประกอบเหมือนระบบเก่า ควบคุมด้วยเทคโนโลยี 4 G ที่รองรับ 5 G ด้วยคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน หรือมือถือ ไม่ว่า อยู่ที่ไหนสามารถบริหารจัดการได้ทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ว่า จุดไหนไฟสว่างไม่สว่าง ตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ ไฟเสีย ถูกขโมย ระบบจะแจ้งเตือนให้ทราบ ผ่าน Cloud
มีระบบอินเตอร์เน็ตอยู่บนเสาไฟ สามารถรับส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไปยังเครือข่ายได้ มีระบบการจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่แบบลิเธียมLifePo4 มีอายุการใช้งาน 8 ปี ชาร์จได้เร็วเหมาะสมกับสภาพอากาศของไทยด้วยแผงเคลือบคริสตัล ที่ทนแดด ทนฝน มีอายุการใช้งาน 25 ปี แต่การรับประกัน 2 ปี ดูแลให้ 3 ปี และมีความสว่างกว่า สามาถหรี่ไฟให้สว่างลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม แม้ระบบใหม่โคมไฟอัจริยะจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัด แต่การดำเนินการไม่ง่ายนัก เนื่องจากกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ๆร่วมมือกับคนของอปท. ไม่ต้องการให้ระบบใหม่เกิด เพราะตัวเองเป็นผู้รับเหมาติดตั้งระบบเก่า จะสูญเสียผลประโยชน์ หลายพื้นที่จึงไม่มีการดำเนินการ หลายพื้นที่ก็ไม่มีวามคืบหน้า ในขณะที่ระบบใหม่ จากสอบถามความเห็นของชาวบ้าน ส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา
เมื่อระบบใหม่ดีกว่าระบบเก่ามาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรเลือกระบบใหม่ ยกเว้นว่า องค์กรตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและผลประโยชน์ของบางคนบางกลุ่ม นำงบประมาณมาละลายแม่น้ำ ใช้งานได้ไม่นานก็เสียก็พัง
ชาวบ้านในพื้นที่ก็จะต้องช่วยตรวจสอบ ดูแล ในฐานะที่เป็นฝ่ายที่จะต้องเผชิญกับปัญหาเอง
แหล่งที่มา: https://www.mtoday.co.th