คิดถึงแทบขาดใจใครอ่านก็ต้องสะอึก จากใจทหารใต้ ในวันที่ภารกิจแบกบนบ่า แต่สายตาคิดถึงครอบครัวเหลือเกิน
ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ข้อความ โดยระบุว่าเป็นข้อความจากทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ 3 จังหวัดชายแดน จ.ปัตตานี โดยข้อความดังกล่าวระบุว่า…
“ผมก็ได้แต่โทรหาแฟน…บอกแฟนว่าปีใหม่ไม่ได้กลับบ้านนะ…ต้องปฏิบัติภารกิจที่ปัตตานี…ผมฝากบอก พ่อ แม่ น้อง…และเพื่อนๆว่าคิดถึง…ทุกคนเข้าใจถึงการเสียสละ…ของการเป็นทหาร…ผมรักพวกเขาทุกคนคิดถึงพวกเขา แต่เรามีหน้าที่ที่ต้องทำ…เสร็จภารกิจจะรีบกลับไปหา…ไปบอกรักและขอแฟนแต่งงาน จ.ส.ต.ไกรวุฒิ บุตรสุด ทหารกล้าจากจังหวัดกระบี่ สังกัดหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 23
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย หรือ ไฟใต้ เป็นความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ความขัดแย้งนี้กำเนิดในปี 2491 เป็นการก่อการกำเริบการแยกออกทางเชื้อชาติและศาสนาในภูมิภาคปัตตานีมลายู แต่ความไม่สงบดังกล่าวเริ่มบานปลายขึ้นหลัง พ.ศ. 2547
โดยมีสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาที่อยู่ใกล้เคียง
แน่นอนว่าเมื่อเกิดความไม่สงบขึ้น หน่วยงานที่ต้องเข้าไปดูแลก็เป็นทั้งทหารและตำรวจ โดยส่วนใหญ่จะเป็นทหารซะส่วนใหญ่
การลงประจำการในพื้นที่ความไม่สงบ ไม่ต่างจากการยินยอมพร้อมใจที่จะเผชิญหน้ากับความ ต.า ย ได้ทุกขณะในทุกๆวันประเทศไทยสูญเสียกำลังทหารมามากเท่าไหร่ และจะต้องสูญเสียอีกเท่าไหร่ คงไม่มีใครตอบได้
” หากต้อง ต.า ย ศ พ จะต้องคลุมด้วยธงชาติไทยเท่านั้น ”
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้ อำนวยการสถาบันวิจัยความขัดแย้ง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า การส่งกองกำลังทหารลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นการกำหนดตามโควต้าของกองทัพแต่ละภาค โดยแบ่งเป็น กองทัพภาคที่ 1 ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ จ.นราธิวาส กองทัพภาคที่ 2 ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ จ.ปัตตานี และกองทัพภาคที่ 3 ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ จ.ยะลา ซึ่งอยู่ภายใต้การบัญชาการของกองทัพภาคที่ 4 ทั้งหมด
“ฉะนั้นเมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งการลง พื้นที่ ในกองทัพก็จะมีตั้งแต่ตำแหน่ง ลูกแถว หรือทหารเกณฑ์ และไล่ขึ้นไป จนถึงผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ โดยแต่ละพื้นที่จะแบ่งเป็นกองกำลังเฉพาะกิจ (ฉก.) ในระดับย่อยอีกทีหนึ่ง และกองกำลังจะมีการหมุนเวียนลงปฏิบัติหน้าที่ อยู่นานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี”
โดยแต่ละพื้นที่มีกำลังรวมทั้งสิ้น 1.5 แสนคน ทั้งทหาร ตำรวจอาชีพ อาสาสมัคร เป็นต้น รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของทหารพราน ซึ่งโครงการจัดตั้งกรมทหารพรานในพื้นที่ชายแดนใต้นี้ เป็นไปตามแผนปฏิบัติการเพื่อถอนกำลังพล “ทหารหลัก” จากกองทัพภาคที่ 1, 2 และ 3 ออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งมอบให้ “ทหารพราน” หรือ “นักรบชุดดำ” ซึ่งเปรียบเสมือน “ทหารบ้าน” ที่มีความชำนาญพื้นที่อยู่แล้ว
เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่บนพื้นที่ เ สี่ ย ง อย่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องมีค่าตอบแทนสูงให้สมน้ำสมเนื้อ กับชีวิตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดแล้วจะกลับมาด้วยสภาพธงชาติไทยคลุมร่างก็ตาม
แหล่งข่าวจากกรมทหารราบที่ 11 ให้ข้อมูลว่า ถ้า ไปประจำการที่ภาคใต้ พลทหารจะได้สิทธิพิเศษ ตั้งแต่การเพิ่มเบี้ยเลี้ยงที่ขึ้นมาเป็นเท่าตัว ประมาณ 500 บาท/คน/วัน ซึ่งแตกต่างจากทหารพรานที่ได้เบี้ยเลี้ยงแค่ 120 บาท/คน/วันเท่านั้น และอาจได้เพิ่มยศตามลำดับขั้น ปรับขึ้นเงินเดือน (ตามผลงาน) นอกจากนี้ยังได้บัตรทหารผ่านศึก ซึ่งจะได้สิทธิพิเศษเรื่องค่ารักษาพยาบาล ปีละไม่เกิน 2,000 บาท/ครอบครัว, เงินช่วยเหลือครั้งคราว ปีละไม่เกิน 500 บาท และการฝึกอาชีพ
ทั้งนี้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจาก สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2550 ยังได้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาทหารเช่นกัน
อย่างกรณีทหาร เ สี ย ชี วิ ต จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ ของรัฐบาล เบิกจ่ายโดยสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีผ่านสำนักงานจังหวัด รายละ 500,000 บาท ค่าจัดการ ศ พ จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) หัวหน้าครอบครัวรายละ 50,000 บาท สมาชิกครอบครัวรายละ 25,000 บาท เงินช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายละ 20,000 บาท รวมแล้วจะได้รับเงินในส่วนนี้เฉลี่ยรายละ 570,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีเงินเพิ่มพิเศษของข้าราชการทหารพลีชีพ โดยได้รับเงินตามโครงการประกันชีวิตของกระทรวงกลาโหมสำหรับทหารทุกนาย ทุกชั้นยศ รายละ 500,000 บาท เฉพาะกองทัพบกมีเงินประกันชีวิตแยกต่างหากอีก แบ่งเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรรายละ 1,000,000 บาท นายทหารชั้นประทวน (นายสิบ) รายละ 800,000 บาท พลทหารและอาสาสมัครทหารพราน รายละ 500,000 บาท
ดังนั้นเมื่อรวมกับเงินกองทุนฯของรัฐบาล ทหารที่ เ สี ย ชี วิ ต จะได้รับเงินช่วยเหลือรวมทั้งสิ้นเฉลี่ยรายละประมาณ 1,570,000 บาท ถึง 2,070,000 บาท โดยไม่รวมเงินบำเหน็จบำนาญ (คิดตามอายุราชการและตามชั้นยศ) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ และเงินเพิ่มเพื่อการสู้รบ (พ.ส.ร.)
กรณีได้รับ บ า ด เ จ็ บ จะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 763,000 บาท บ า ด เ จ็ บ ส า หั ส 306,000 บาท บ า ด เ จ็ บ ทั่วไป 65,000 บาท บ า ด เ จ็ บ เล็กน้อย 15,000 บาท
นอกจากนั้นยังมีเงินยังชีพรายเดือนสำหรับบุตรของผู้ เ สี ย ชี วิ ต พิการ และ บ า ด เ จ็ บ ส า หั ส เป็นเงินที่เบิกจ่ายโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เฉลี่ยคนละ 1,000-2,500 บาทต่อเดือนตามระดับชั้นการศึกษา และทุนการศึกษาเป็นรายปี เบิกจ่ายโดยกระทรวงศึกษาธิการ เฉลี่ยรายละ 5,000-20,000 บาทตามระดับชั้นการศึกษาเช่นกัน
แหล่งที่มา: http://tdaily.us/