เมื่อภาครัฐ เอกชน และชุมชนร่วมมือกัน ฟื้นฟูธรรมชาติตรัง จัดการขยะ อนุรักษ์สัตว์ และพะยูน เพื่อความยั่งยืน
•
ปัญหาสิ่งแวดล้อมล้วนมาจากการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์อย่างมหาศาล โดยชุมชนมีส่วนสำคัญที่สร้างผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อสภาพแวดล้อม วันนี้เราชวนดูการร่วมมือฟื้นฟูธรรมชาติของภาค รัฐ เอกชน และชาวบ้านชุมชนในตรัง ที่ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์น้ำ และ “พะยูน” เพื่อความยั่งยืน
•
ตรังถือเป็นจังหวัดที่ต้องเร่งฟื้นฟู เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและทะเล ที่สำคัญคือเป็นบ้านหลังใหญ่ของ “พะยูน” เจ้าหมูน้ำสัตว์สงวนที่มีจำนวนลดลงทุกที แต่ที่ผ่านมาทรัพยากรถูกใช้สอยและทำลาย ซ้ำไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ
•
ชุมชนและชาวบ้านล้อมรอบทะเลตรังมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวเนื่องและสร้างผลกระทบต่อทะเลอย่างสำคัญ ทั้งการประมง การท่องเที่ยว การคมนาคม รวมถึงการดำเนินชีวิตอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหาขยะในทะเล การลดลงของจำนวนสัตว์น้ำ อย่าง “พะยูน” อันเนื่องจากการประมง
•
ดังนั้น ภาครัฐ และเอกชนเองมีหน้าที่สำคัญที่จะเป็นส่วนช่วยร่วมมือให้ชาวบ้านฟื้นฟูธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนได้ ซึ่ง SCG ได้มาร่วมกับภาครัฐ ในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของชุมชนบ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง
•
เมื่อ 22 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา เราได้ไปร่วมกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” โดย SCG ทางองค์กรให้ความสนใจในการส่งเสริมเพิ่มพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลของตำบลเกาะลิบงเพื่อลดภาวะโลกร้อน (global warming) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย
•
เบื้องต้นภายในกิจกรรมมีการปลูกหญ้าทะเลเพิ่ม 2,000 ต้น ปลูกป่าโกงกาง 300 ต้น พร้อมกับวางบ้านปลาอีกจำนวน 20 หลัง ที่ชุมชนบ้านมดตะนอย ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
•
เราได้เห็นและเรียนรู้ความร่วมมือของทั้ง ภาครัฐ เอกชน และชาวบ้านในการฟื้นฟูธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน ดังนี้
1. การสร้างและวางบ้านปลา
2. การจัดการขยะ
3. การอนุรักษ์พะยูน
4. ปลูกหญ้าทะเล เพิ่มอาหารพะยูน
5. ธนาคารปู อนุบาลสัตว์ทะเล
6. และการปลูกป่าโกงกางลดโลกร้อน
•
กิจกรรมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นว่าเราสามารถฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้ หากทุกฝ่ายร่วมกัน เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
•
การเข้ามาให้ความร่วมมือของภาคเอกชน อย่างเอสซีจีในครั้งนี้ ถือเป็นความใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งการพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และทุกคน
•
เราขอสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนใช้ทรัพยากรอย่างคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่กับประเทศ และโลกของเราไปนานๆ
•
บ้านปลาเป็นพื้นที่อนุบาลปล
าเล็ก และยังเป็นแนวป้องกันการลาก
อวน ซึ่งจะกวาดเอาทรัพยากรสัตว์
น้ำที่ยังไม่ทันโตไปจนหมด ชุมชนบ้านมดตะนอยจึงได้สร้า
งแหล่งหลบภัยและอนุบาลสัตว์
น้ำขนาดเล็กเพิ่มเติม ในเส้นทางน้ำที่จะออกสู่ทะเ
ล โดยมีการจัดทำบ้านปลาจากก้า
นมะพร้าว หรือซั้งกอ ขึ้นเป็นแหล่งให้สัตว์น้ำขน
าดเล็กหลบพักอาศัย แต่ด้วยวัสดุที่ไม่คงทน ทำให้ชุมชนได้หาวัสดุอื่นๆ มาทำบ้านปลาอีกหลายชนิด แต่ก็ไม่ตรงกับตามความต้อ
งการ
•
เอสซีจีจึงได้ร่วมคุยกับชุมชนบ้านมดตะนอย หน่วยงานจากภาครัฐ ถึงความต้องการและได้จัดหาบ้านปลาที่ตรงความต้องการเพื่อดูแลระบบนิเวศและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ด้วยการวางบ้านปลาที่หล่อขึ้นจากนวัตกรรมปูนเอสซีจีที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ทนน้ำทะเล และทนต่อซัลเฟตและ คลอไรด์จากน้ำทะเล (ปูนคนใต้) เพิ่มอีก 20 หลัง จากเดิมที่วางไปแล้วจำนวน 320 หลัง ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุบาลสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล โดยมีภาคการศึกษาเป็นเครือข่ายที่จะช่วยวัดผลสำเร็จของโครงการอนุรักษ์ชายฝั่งอย่างยั่งยืน”
•
ซึ่งเมื่อวางไปได้ประมาณ 3 เดือนจะมีเพรียงและสัตว์น้ำขนาดเล็กมาเกาะยึด ทำให้ปลาหลายชนิดเข้ามาหลบพักอาศัย ช่วยเพิ่มพื้นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล และส่งผลดีต่ออาชีพประมง
•
นี่เป็นครั้งแรกที่เป็นการวางบ้านปลาที่ไม่ใช่ในทะเลลึก เนื่องจากความต้องการของชาวบ้านคือบ้านปลาที่อยู่ในคลอง และลำธาร “รูปทรงจึงเป็นทรงกลม แบบท่อคอนกรีต มีรูโดยรอบเพื่อให้ปลาว่ายผ่าน หรือหลบหนีจากการล่าได้ รวมถึงเพื่อให้ปะการังสามารถเกาะอาศัยได้อีกด้วย
•
ที่สำคัญบ้านปลาจากปูนนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าการวางบ้านปลาจำนวน 100 ลูก ซึ่งพื้นที่ อ.กันตังถือเป็นจุดริเริ่มของการทำบ้านปลาในน้ำตื้นของเราเลยก็ว่าได้ ทั้งยังตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถส่งต่อองค์ความรู้เหล่านี้แก่พื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
•
“พร้อมกันนั้น ก็มีการตั้งกฎ กติกาของหมู่บ้านขึ้นมาคือห้ามนำอวนไปล้อมบริเวณบ้านปลา เพื่อป้องกันการรุกรานพื้นที่อนุบาลสัตว์อีกด้วย
ชาวบ้านในชุมชนบ้านมดตะนอยรอบทะเลตระหนักปัญหาขยะดีและส่วนใหญ่ไม่สร้างขยะในทะเล (จากการที่สอบถามขยะมาจากนักท่องเที่ยว ไม่ใช่จากชุมชน) จึงจริงจังกับเรื่องการจัดการขยะทั้งต้นทางและปลายทาง โดยมีตัวอย่างเบื้องต้นดังนี้
1. การคัดแยกขยะเป็น 5 ถัง เพื่อการจัดการอย่างถูกต้อง
2. นำเศษอาหารมาเป็นน้ำหมักชีวภาพ
3. ล้อยางรถยนต์เก่ามาทำกระถางปลูกพืชผักสวนครัว
4. ประกาศเป็นหมู่บ้านปลอดโหม ในปี 2559
5. รณรงค์ใช้ถุงผ้าและภาชนะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. จัดการหลอดมาทำหมอนให้ผู้สูงอายุ
7. จัดการขยะในครัวเรือนมาประดิษฐ์เป็นภาชนะต่างๆ
8. นำขวดและขยะพลาสติกมาทำ Ecobrick อิฐสร้างบ้านจากขยะพลาสติก
•
จากที่เคยมีกองขยะสะสมที่ลอยมาติดบริเวณชายฝั่งด้านต่างๆ จำนวนมาก จนเริ่มกำหนดให้มีการทำความสะอาดบ้านตัวเอง และร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะเป็นประจำ เมื่อหมู่บ้านเริ่มสะอาดมากขึ้น จึงเกิดเป็นความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่ขยายผลไปทั้งหมู่บ้าน
•
โดยมีกลุ่มเยาวชนเข้ามาร่วมกับคณะกรรมการชุมชนขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างบูรณาการเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบ้านมดตะนอย จนทำให้ได้รับการรับรองจากกรมอนามัยให้เป็นหมู่บ้านปลอดโฟม ประจำปี 2559 และเป็นชุมชนต้นแบบให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะชุมชน นับเป็นความภาคภูมิใจของคนตรังที่มีการดูแลรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทะเลอย่างครบวงจร”
จากการสำรวจในช่วงปี 2554 พบพะยูนในทะเลตรังประมาณ 120 ตัว มีอัตราการตายที่สูงประมาณปีละ 10 ตัว ขณะที่ปีถัดมาก็เริ่มมีอัตราการตายเพิ่มขึ้นเป็น 11-12 ตัว อัตราตายเช่นนี้ คือความเสี่ยงที่อาจทำให้สัตว์สูญพันธุ์ได้
•
ภายหลังได้มีการสร้างเครือข่ายรอบพื้นที่ เพื่อกั้นเขตแนวหญ้าทะเล พร้อมสร้างกติกาไม่ให้มีการวางเครื่องมือประมงทุกชนิดที่เป็นอันตรายกับสัตว์ทะเลหายาก แม้ระยะแรกจะมีผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมืออยู่บ้าง แต่เมื่อมีการยึดอวนและเรียกตัวเข้ามาตักเตือนมากขึ้น ระยะหลังจึงมีการวางอวนน้อยลงมาก จนพะยูนมีการตายน้อยลง และมีอัตราการเกิดที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทุกปี
•
จนการสำรวจในปี 2561 จึงพบว่าจำนวนประชากรพะยูนมีมากกว่า 210 ตัว พร้อมอัตราการตายปีละไม่เกิน 5 ตัว ซึ่งในอัตรานี้จะทำให้พะยูนรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ เพราะมีอัตราการเกิดที่สูงกว่า นั่นทำให้ได้รู้ว่าการอนุรักษ์นั้นเดินมาถูกทาง
•
และเมื่อวันที่ 17 พ.ค.2562 นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและประชาชน ร่วมกันนำทุ่น 10 ลูกออกไปวางบริเวณหน้าเขาบาตูปูเต๊ะ หอชมพะยูน หมู่ 4 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เชื่อมต่อแหลมจุโหยและหาดตูบ ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่และถิ่นอาศัยสำคัญของพะยูนฝูงใหญ่ของไทย ที่มีอยู่มากกว่า 180 ตัว
•
นอกจากนี้ ยังจับพิกัดจีพีเอสและทำการบันทึกข้อมูล เพื่อกำหนดพื้นที่คุ้มครองแหล่งหญ้าทะเล คุ้มครองพะยูน ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว หลังปรากฎข่าวชาวประมงพื้นบ้านบางคนนำนักท่องเที่ยวลงเรือไล่ต้อนชมพะยูนบริเวณหน้าเขาบาตูปูเต๊ะ เพื่อให้ใกล้ชิดตัวพะยูนมากที่สุด จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการนำชมพะยูนที่ไม่ถูกวิธี รบกวนการหากินของพะยูนและเกรงว่าหางเสือหรือใบพัดเรือจะเป็นอันตรายกับพะยูนได้
หญ้าทะเลถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สัตว์ทะเลประเภทต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมไปถึงประเภทที่หายากใกล้สูญพันธุ์ ใช้เป็นที่พักพิง ทั้งเป็นแหล่งอาหาร และบ้านของสัตว์ทะเลวัยอ่อน รวมถึงหญ้าทะเลยังเป็นอาหารหลักของพะยูนและเต่าทะเล ปัจจุบันพบพะยูนที่เกาะลิบง ประมาณ 170 ตัว พะยูนแต่ละตัว กินหญ้าทะเลวันละ 30 กิโลกรัม ช่วยลดความเร็วกระแสน้ำ ลดความแรงของคลื่นลม ช่วยยึดผิวหน้าดิน ป้องกันการพังทลายของชายฝั่งได้
•
สำหรับพื้นที่ชุมชนบ้านมดตะนอยแห่งนี้ แม้จะมีพื้นที่หญ้าทะเลอยู่หลายจุดบริเวณชายฝั่งทะเลโดยรอบ แต่ที่ผ่านมาก็มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ชุมชนต้องการขยายพื้นที่การปลูกให้มากขึ้น แต่ติดข้อจำกัดของจำนวนหญ้าทะเลที่มี และการต้องขอต้นหญ้าทะเลจากพื้นที่อื่นมาปลูก
•
ภายหลังเอสซีจีได้เข้ามาร่วมกับชุมชนในกระบวนการศึกษาดูงาน พร้อมกับนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ จนชุมชนสามารถสร้างเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หญ้าทะเล ด้วยการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์เอง รวมถึงสร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนตั้งแต่การเก็บพันธุ์หญ้าทะเล ทดลองปลูกในศูนย์เพาะพันธุ์จนปัจจุบันได้เพาะพันธุ์หญ้าทะเลไว้กว่า 1,000 ต้น และมีอัตราการรอดตายระหว่างเพาะพันธุ์ 80%
•
หญ้าทะเลที่เพาะในครั้งนี้คือหญ้าคา ไม่ใช่อาหารพะยูนโดยตรง แต่เมื่อหญ้านี้เติบโตอุดมสมบูรณ์ จะช่วยให้หญ้าใบมะกรูดที่เป็นอาหารพะยูนเติบโตไปด้วย โดยชาวบ้านจะนำผลหญ้าทะเลที่มีเม็ดเล็กสิบเม็ดข้างในมาเพาะเพื่อขยาย และรอ 45 วันจึงลงทะเล
•
การเพาะพันธุ์หญ้าทะเลมีส่วนช่วยให้อาหารกุ้งหอยปูปลาเพิ่ม ทำให้มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านเพิ่มรายได้
•
กิจกรรมวันดังกล่าว เอสซีจีได้ปลูกหญ้าทะเล 2,000 ต้น จากเดิมที่ได้ร่วมกับชุมชนปลูกไปแล้วตั้งแต่ปี 2559 โดยปลูกหญ้าทะเลไปแล้วกว่า 14,000 ต้น ในพื้นที่ 15 ไร่
•
หญ้าทะเลขยายพันธุ์ทั้งแบบใช้เม็ดและแตกกิ่งก้าน หรือยอดใหม่จากเหง้า ในประเทศไทยพบหญ้าทะเลรวม 13 ชนิด หญ้าทะเลแปลงใหญ่อยู่ที่จังหวัดตรัง อำเภอสิเกา พบหญ้าทะเลที่บ้านแหลมไทร บ้านปากคลอง และเกาะผี, อำเภอปะเหลียน พบหญ้าทะเลที่เกาะสุกร, อำเภอกันตัง พบหญ้าทะเลที่เกาะลิบง เกาะมุก และบ้านเจ้าไหม โดยแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรังและของประเทศไทย อยู่ที่ “เกาะลิบง” จังหวัดตรัง มีแหล่งหญ้าทะเลประมาณ 12,170 ไร่ หญ้าทะเลที่พบในจังหวัดตรังมีถึง 11 ชนิด
•
นอกจากนี้เศษซากของหญ้าทะเลเมื่อเกิดการเน่าสลายจะกลายเป็นผลผลิตเบื้องต้นของระบบนิเวศชายฝั่ง ตามพื้นดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหนอนตัวกลม หอยสองฝา หอยชักตีน ไส้เดือนทะเล ปลิงทะเล และสัตว์น้ำวัยอ่อนใบและลำต้นของหญ้าทะเลเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย หนอนตัวแบน ทากเปลือย เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศชายฝั่ง
ปกติชาวบ้านจะจับปูทั้งไข่ไปกินด้วยเลย โดยเป็นที่นิยมในการรับประทาน แต่มันส่งผลทำให้จำนวนปูลดลง เนื่องจากมีแต่จับมา แต่ไม่ได้ปล่อยกลับคืนไป
•
ธนาคารปู เป็นการนำแม่ปูที่มีไข่มาพักและคลายไข่ ก่อนนำปูที่จับไปขาย และปล่อยไข่ปูลงทะเล เมื่อก่อนชาวบ้านต้องรอช่วงมรสุมถึงจะจับปูได้ แต่ภายหลังมีโครงการธนาคารปู ทำให้มีปูในทะเลเยอะขึ้น ชาวบ้านสามารถจับได้ตลอด สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ป่าโกงกางเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง สามารถช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการกักเก็บคาร์บอนในราก ใบ และลำต้น รวมถึงการดักจับตะกอนดินที่ไหลมาจากระบบนิเวศอื่นๆ ซึ่งทำให้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าระบบนิเวศป่าบก อีกทั้งยังสามารช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศได้อีกด้วย
•
ในปี 2562 ชุมชนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์หญ้าทะเลและป่าโกงกางจึงเริ่มเพาะพันธุ์ขึ้นเองจากภูมิปัญญาชุมชนผนวกกับองค์ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาดูงานที่มูลนิธิอันดามัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด อ.สิเกา จ.ตรัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
•
ขณะเดียวกันชุมชนแห่งนี้ยังได้ทำความตกลงยกเลิกการประกอบอาชีพทำถ่าน เปลี่ยนมาเป็นการปลูกไม้โกงกางด้วยวิธีง่ายๆ คือเห็นลูกไม้จุดใดก็นำไปปลูกต่อในจุดนั้นเพื่อขยายพื้นที่ จนปัจจุบันมีป่าโกงกางรอบบ้านมดตะนอยประมาณ 3,000 ไร่ และตั้งเป็นกติกาชุมชนว่าสามารถนำไม้โกงกางไปใช้สอยในครัวเรือนได้ แต่ไม่สามารถนำไปขายได้ โดยต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการชุมชน
•
ผลจากการปลูกป่าโกงกางที่ผ่านมา ทำให้พบว่ามีกุ้ง หอย ปู ปลา เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากป่าโกงกางเป็นต้นกำเนิดของสัตว์ทะเล เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และวางไข่ โดยชุมชนพบเห็นกุ้งเคย และปลิงทะเล ที่ไม่ได้พบมาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังพบว่าป่าโกงกางช่วยดูดซับลมร้อน ซึ่งเป็นผลเชิงประจักษ์ว่าป่าโกงกางช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ จนนำไปสู่การร่วมกันเพาะพันธุ์ไม้โกงกางขึ้นในชุมชน เพื่อให้มีต้นกล้าไม้ไปปลูกในพื้นที่รอบๆ ได้มากยิ่งขึ้น
•
ในวันกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” ได้ปลูกป่าโกงกางอีก 300 ต้น ในพื้นที่ 2 ไร่ ณ ชุมชนบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง ซึ่งได้ปลูกป่าชายเลนไปก่อนหน้านี้แล้วกว่า 1,400 ต้น ในพื้นที่ 15 ไร่ โดยใช้พันธุ์หญ้าทะเลจากการเพาะพันธุ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชัง บ้านพรุจูด อ.สิเกา จ.ตรัง
จากการที่ดูรอบริมหาดเรายังเห็นขยะเยอะอยู่ ชาวบ้านไม่ได้นิ่งนอนใจดูดาย โดยมีมาตรการแก้ไขปัญหานี้ โดยการจัดการขยะต้นทางและปลายทางเพิ่มเติมจากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นดังนี้
ชุมชนมีการลดใช้ลดสร้างขยะพลาสติก เปลี่ยนใช้บรรจุภัณฑ์และภาชนะจากธรรมชาติ หรือใช้ซ้ำได้ เห็นแล้วดีใจนะ หวังว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดในเชิงกว้างและระยะยาวไม่ใช่แค่เทรนด์
บ้านมดตะนอยยังประกาศเป็นหมู่บ้านปราศจากโฟม จนได้รับรองจากกรมอนามัย และในปี 2561 เอสซีจียังได้เข้ามาเพิ่มความรู้ด้านการจัดการขยะแบบองค์รวม และรณรงค์ใช้ถุงผ้าแทนพลาสติก นำมาสู่การจัดการขยะอย่างบูรณาการ เกิดการขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม เช่น
•
เริ่มแรกชาวบ้านเลิกใช้โฟมเอง โดยรู้และตระหนักถึงปัญหาของโฟม เมื่อรถซาเล้งมาขาย ชาวบ้านก็ไม่เลือกซื้อ โดยเปลี่ยนใช้กล่องกระดาษ และนำภาชนะมาเองที่ร้านค้า
•
โดยชุมชนมีโครงการทำดีได้ดาวจูงใจให้ชาวบ้านเลิกใช้ภาชนะพลาสติกใช้ทิ้ง เมื่อนำภาชนะมาใส่อาหารและเครื่องดื่ม จะได้ดาวแสตมป์ เพื่อแลกของรางวัล ถือเป็นการปรับพฤติกรรมที่ดี
•
ชุมชนยังมีการใช้ถังขยะ 5 ถัง เพื่อการรีไซเคิลที่ดีขึ้น
1. ขยะย่อยสลาย ขยะเปียก มาทำน้ำหมัก
2. ขยะรีไซเคิล ซึ่งจำพวกพลาสติกสามารถนำไปทำ อีโค่บริก หลอดหมอนได้
3. ขยะอันตราย จะมีภาครัฐรับไปทำลายต่อไป
4. ขยะติดเชื้อ จะมีภาครัฐรับไปทำลายต่อไป
5. ขยะทั่วไป
ชุมชนมดตะนอยมีการทำน้ำหมัก เป็นการจัดการขยะอาหาร ที่สร้างรายได้ให้ชุมชน โดยมี 2 แบบดังนี้
•
1. น้ำหมักจากผลไม้รสเปรี้ยว หมักแล้วสามารถนำมาทำน้ำยาล้างจานได้
2. น้ำหมักจากสัตว์ เช่นปู หรือปลา สามารถเอามาทำปุ๋ยได้ โดยจะมีถังแบบหมักถังปิด กับถังเปิดท้ายฝังดิน
เราได้เห็นและเรียนรู้ความร่วมมือของทั้ง ภาครัฐ เอกชน และชาวบ้านในการฟื้นฟูธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะตรังถือเป็นจังหวัดที่ต้องเร่งฟื้นฟู เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและทะเล
•
ที่สำคัญคือเป็นบ้านหลังใหญ่ของ “พะยูน” เจ้าหมูน้ำสัตว์สงวนที่มีจำนวนลดลงทุกที แต่ที่ผ่านมาทรัพยากรถูกใช้สอยและทำลาย ซ้ำไม่ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ
กิจกรรมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นว่าเราสามารถฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้ หากทุกฝ่ายร่วมกัน เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
•
การเข้ามาให้ความร่วมมือของภาคเอกชน อย่างเอสซีจีในครั้งนี้ ถือเป็นความใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งการพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และทุกคน
•
เราขอสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนใช้ทรัพยากรอย่างคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่กับประเทศ และโลกของเราไปนานๆ