ทำวิทยานิพนธ์ง่ายนิดเดียว (ฉบับเต็ม) ลองมาฟังประสบการณ์จากเรานะ
หลายคนพอเริ่มเรียนต่อในระดับปริญญาโท อาจารย์จะให้เริ่มคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์เลย
ครั้งแรกเข้าเรียนเราต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเรียนแบบทำวิทยานิพนธ์ หรือค้นคว้าอิสระ
**** เราเลือกแผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ค่ะ จากประสบการณ์ แนะนำให้ทำวิทยานิพนธ์นะค่ะ เพราะวิธีการทำไม่แตกต่างกันเลย แต่จะยุ่งยากในเรื่องของขั้นตอนที่มากกว่าบางอย่างแค่นั้นเอง แถมจบไปตอนอัพตำแหน่งหรือสมัครงานบางที่กำหนดไว้เลยว่าจะต้องผ่านการทำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย และหากใครมีแผนที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกบางสาขากำหนดคุณสมบัติว่าต้องผ่านการทำวิทยานิพนธ์ด้วย จึงจะมีสิทธิ์ศึกษาต่อในเอกวิชานั้น ๆ
**** เคยเป็นเหมือนเจ้าของกระทู้บ้างไหมค่ะ มีคำถามมากมายอยู่ในหัว และสุดท้ายเกิดความท้อเริ่มมองหาที่รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ แต่พอลองเทียบดูแล้วราคาจ้าง 50000 หนักเอาการ แถมงานออกมา ไม่มีอะไรการันตีได้ว่า >>>>>>อาจารย์จะไม่ตีงานกลับ >>>>>>คนทำจะไม่ก๊อบปี้>>>>>> หรือจะวิเคราะห์ผลให้เราได้ถูกต้อง>>>>>> วันนี้เราจะมาแชร์ประสบการณ์ในการทำวิทยานิพนธ์ จนทำให้เราเข้าใจแบบทะลุปรุโล่งเลยทีเดียว
Begin
เอาล่ะ' มาเริ่มเข้าประเด็นหลักกันนะค่ะ
เราเรียนเอกทรัพยากรมนุษย์ (HR) หัวข้อที่เรากำหนดคือ ปัจจัยของความสำเร็จในการนำระบบสารสนเทศมาปรับใช้กับการปฏิบัติงานของบุคลากรภาคการเกษตร เหตุผลที่เราอยากทำหัวข้อนี้เพราะเราถนัดด้านไอทีและเป็นหัวข้อที่องค์การที่เราทำงานอยู่อนุญาตให้ทำได้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาที่ 1 เกิดคำถามในหัวว่าทำยังงัยว้าาาา
เชื่อว่าหลายๆๆคนต้องเป็น >>>>ในตอนแรกเราทำอะไรไม่ถูกปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับคำตอบแค่ว่าเริ่มทำบทที่ 2 ก่อน แล้วค่อยมาทำบทที่ 1 >>>> ยังงัยล่ะที่นี้ บทที่ 2 ก็ทำไม่เป็นด้วยซิ
เราแก้ปัญหาที่ 1 ด้วยการหางานวิจัยที่คิดว่าคล้ายกับงานวิจัยที่เราต้องการจะทำมาปรับและประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของเรา (น้องๆๆลอกนั่นเอง) ตามประสาคนที่จับต้นชนปลายไม่ถูก แต่ทำไปได้ครึ่งทางไปไม่ถูกค่ะ บทที่ 2 ก๊อบเนื้อหาในบทคัดย่อของแต่ละงานวิจัยมาใส่ดื้อๆ ได้สามบทแบบลอกๆส่งอาจารย์ไปทั้งอย่างนั้น ผลคืออาจารย์นัดสอบ 3 บท และให้ทำแบบสอบถามออนไลน์เรียบร้อย แต่กำลังจะเก็บข้อมูล ปัญหาที่ตามมาคือ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัญหาที่ 2 อาจารย์บอกว่าอ่านแล้วงง ๆ ก็แง๋ล่ะ' เราทำมาด้วยความงงๆ ไม่ได้เข้าใจอะไรเลย ผลคือต้องรื้อใหม่ทั้งหมด รวมถึงเปลี่ยนหัวข้อเรื่องด้วย
วิธีการแก้ปัญหาที่ 2 ยอมรับฟังอาจารย์และปรึกษาเรื่องกรอบการวิจัยให้อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยดูและคิดให้ จากนั้นเริ่มต้นทำความเข้าใจ คือ ให้ดูตัวแปรทีละเส้นว่าเชื่อมโยงไปที่เส้นใด
จากรูปจะเห็นว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคลจะถูกโยงไปหาความผูกพันต่อองค์การ
2. คุณภาพชีวิตในการทำงานจะถูกโยงไปหาความผูกพันต่อองค์การ
3. วัฒนธรรมองค์การจะถูกโยงไปหาความผูกพันต่อองค์การ
4. ความผูกพันต่อองค์การจะถูกโยงไปหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
แนวทางในการเขียนบทที่ 2 คือ
เริ่มต้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องแยกเป็นด้าน ๆ โดยค้นจากอินเทอร์เนต อย่างข้อแรกเราก็หางานวิจัยเรื่องความผูกพันต่อองค์การ และดูในบทคัดย่อว่าพูดถึงเรื่องปัจจัยส่วนบุคคลหรือเปล่า ซึ่งผลการวิจัยอาจจะส่งผลหรือไม่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การก็ได้ และเริ่มต้นพิมพ์ลงใน Microsoftword ขึ้นต้นด้วยการกดปุ่มแท็บ 1 ครั้ง แล้วพิมพ์ชื่อเจ้าของงานวิจัยเคาะ 1 ครั้ง ตามด้วยวงเล็บเปิดระบุพ.ศ.ที่เผยแพร่และตามด้วยวงเล็บปิด เคาะ 1 ครั้ง และตามด้วยเนื้อหาที่คัดเอาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังตัวอย่าง>>>
อรพรรณ (2560) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุนในอุตสาหกรรมบางปู จากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นพนักงานในนิคมอุตสหกรรมบางปู 15 โรงงาน จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่าประชากรโดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 82.3 รองลงมาเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 17.7 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด คิดเป็นนร้อยละ 60.0 รองลงมามีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 20.5 สถานภาพหย่าร้าง คิดเป็นร้อยละ 10.5 และสถานภาพหม้ายคิดเป็นร้อยละ 10.0 ด้านอายุงานพบว่าบุคลากรโดยส่วนใหญ่มีอายุงาน 5-9 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.0 รองลงมาอายุงาน 11-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.5 และอายุงาน มากกว่า 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 65.5 ตามลำดับ ระดับเงินเดือนของพนักงานพบว่าโดยส่วนใหญ่อยู่ที่ 15,000-30000 บาท คิดเป็นร้อยละ 70.0 รองลงมา มากกว่า 30,000-40,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.0 และระดับเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.0 ตัวแรด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู พบว่าด้านระดับเงินเดือน ด้านสถานภาพ และด้านอายุงานตามลำดับ ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
***เซฟไว้ PDF เก็บไว้ โดยสร้างโฟล์เดอร์ชื่อว่าปัจจัยส่วนบุคคล แนะนำว่าให้หางานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสิบเรื่อง ขึ้นไปนะค่ะ
*** เทคนิคการตั้งชื่องานวิจัยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ โดยขึ้นต้นด้วย พ.ศ. ก่อนแล้วตามด้วยชื่อนักวิจัย ตัวอย่าง>>> 2560อรพรรณ.PDF คอมพิวเตอร์จะเรียงลำดับให้อัตโนโมัติโดยที่เราไม่ต้องนั่งไล่ดูพ.ศ.เอง เพราะเวลาเราพิมพ์ในส่วน ที่ 2 เราจะต้องเรียงตามปี พ.ศ. แต่ถ้ามหาลัยให้เรียงตามตัวอักษรเราก็ตั้งชื่อไฟล์ ขึ้นต้นด้วยชื่อนักวิจัยแล้วค่อยตามด้วยพ.ศ ตัวอย่าง>>> 2560อรพรรณ.PDF
***เส้นที่ 2 และ 3 ก็ทำแบบเดียวกันนะค่ะทุกอย่างนะค่ะ เซฟไฟล์ PDF เก็บแยกโฟเดอร์ไว้ตามหัวข้อนะค่ะ
จากกนั้นในส่วนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องให้เราแยกทำทีละหัวข้อนะค่ะ โดยจากกรอบวิจัยที่ให้ดูเป็นตัวอย่างเรามีแนวคิดและทฤษฎีที่ต้องหาทั้งหมด 4 ตัวคือ 1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน 2) วัฒนธรรมองค์การ 3) ความผูกพันต่อองค์การ 4) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งเราสามารถนำเนื้อหาที่อยู่ในบทที่ 2 ของงานวิจัยแต่ละด้านที่เราเซฟเป็น PDF เก็บไว้ นำมาอ้างอิงโดยระบุด้วยว่าอ้างอิงจากของใครและหน้าไหนแต่เราอาจปรับเปลี่ยนคำพูดแต่คงความหมายเดิมไว้ได้เพื่อป้องกันการคัดลอกวรรณกรรม ตัวอย่างการเขียน >>>
Huse and Cummimg (1985) กล่าวว่า คุณภาพชีวิตในการทำงาน หมายถึง ผลลัพธ์ของงานที่องค์การได้รับและเกิดขึ้นประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งเป็นไปด้วยความมีความสุขส่งผลให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในงาน จนพร้อมที่จะปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและให้งานออกมาดีที่สุด (Huse and Cummimg, 1985 อ้างถึงใน ธัญญา อ่อนระยับ, 2560: 18)
*** เนื้อหาในบทที่ 2 ทุกทฤษฎีควรมีองค์ประกอบของหัวข้อที่เหมือนกัน เช่น
2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน
2.1.1 ความหมายของคุณภาพชีวิตในการทำงาน
2.1.2 องค์ประกอบของแนวคิดคุณภาพชีวิตในการทำงาน
- การสรุปเนื้อหาด้วยตัวเองอาจในรูปแแบการบรรยายหรือตาราง หรืออาจทำทั้งคู่ก็ได้
2.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ
2.1.1 ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
2.1.2 องค์ประกอบของแนวคิดวัฒนธรรมองค์การ
- การสรุปเนื้อหาด้วยตัวเองอาจในรูปแแบการบรรยายหรือตาราง หรืออาจทำทั้งคู่ก็ได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนเนื้อหาในบทที่ 1 และ 3 ให้ล้อจากรูปแบบจากงานวิจัยอื่น ๆ ได้เลย แต่ต้องเป็นเนื้อหาที่เป็นของเรา
*** วิธีการเลือกสูตรในการคำนวณประชากรกลุ่มตัวอย่าง
- ถ้าประชากรไม่ถึง 1,000 คน เราก็เลือกใช้วิธีการในการเทียบตารางของมอร์แกนได้เลย ค้นคำว่าตารางสำเร็จรูปเครซี่มอร์แกนนะค่ะ
- กรณีที่ประชากรทั้งหมดเกิน 1,000 คน ให้เลือใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ วิธีคำนวน สำหรับเราถอดสมการไม่เป็น เราก็แค่เอาสูตรที่ถูกต้องวางในไฟล์ที่กำลังพิมพ์อยู่ ดังนี้>>>
ส่วนการคำนวนเพื่อให้ได้คำตอบที่แท้จริงเราค้นในกูเกิลว่า ทาโร่.exe จะมีไฟล์ excel ให้เราโหลมาใช้นะค่ะ เราแค่กรอกจำนวน คนทั้งหมดลงในช่องที่เค้ากำหนดแค่ช่องเดียวก็ได้คำตอบเลยค่ะ
*** กรณีที่หน่วยงานเก็บข้อมูลมีหลายแห่ง เราต้องมาคิดวิธีการสุ่มตัวอย่างตามลำดับชั้นอีกครั้งค่ะ ด้วยการใช้วิธีตามสูรแบบง่าย ๆ นะค่ะ ดังนี้>>>>
จากนั้นเราก็นำมาใส่ในตารางแบบนี้นะค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
*** เทคนิคในการหาหน่วยงานตัวอย่าง
1) ควรเป็นหน่วยงานที่อยู่ต่างจังหวัดเพราะจะได้รับความร่วมมือมากกว่าและหน่วยงานย่อยน้อยกว่า
2) ดำเนินการรวบรวมดูว่าองค์การนั้น ๆ มีหน่วยย่อยหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกี่แห่ง เช่น หากเราจะเก็บตัวอย่างจากบุคลากรโรงเรียนอนุบาลในจังหวัดปทุมธานี เราต้องดูว่าในจังหวัดปทุมธานี มีโรงเรียนอนุบาลทั้งหมดกี่โรงเรียน จากนั้นให้โทรประสานงานกับเจ้าของโรงเรียน ธุรการ หรือเลขาผู้บริหารก่อนล่วงหน้า จากนั้นให้มหาวิทยาลัยทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ (ในหนังสือไม่ควรระบุว่าขอเก็บกี่ชุดเพราะหากมีหน่วยงานที่ไม่ให้ความร่วมมือจะเกิดความคลาดเคลื่อนของจำนวนแบบสอบถามที่ต้องการเก็บ) + เราผู้วิจัยเองควรร่างเพิ่มเติมด้วยอาจใช้ในการอธิบายการวิเคาระห์ผลหรือข้อข้อมูลเพิ่มเติม ในกรณีที่หน่วยงานเก็บแบบสอบถามอยู่ไกลมากผู้วิจัยควรถ่ายแบบสอบถามเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนชุดที่ต้องการเก็บข้อมูล โดยควรระบุในหนังสือว่า หากเห็นชอบให้ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยได้ โปรดมอบหมายผู้เกี่ยวข้องกรอกแบบสอบถามที่แนบมาพร้อมนี้ **แต่ต้องไปรับแบบสอบถามกลับด้วยตนเองนะค่ะเพื่อไม่รบกวนหน่วยงานมากเกินไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทที่ 4 การวิเคราะห์ใน SPSS แนะนำให้ศึกษาจากยูธูปจะมีบอกละเอียดค่ะ แต่หากไม่มีเวลาหรือไม่เข้าใจจริง ๆ ในส่วนนี้อาจจ้างได้ค่ะ
บทที่ 5 เราต้องวิเคราะห์เองนะค่ะ โดยดูจากผลตัวเลขที่ได้ในบทที่ 4 นะค่ะ อาจดูรูปแบบแนวการอภิปรายผลการวิจัยของท่านอื่น ๆ ได้ค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การเขียนอ้างอิงท้ายเล่ม เพื่อง่ายต่อการเรียงตามลำดับอักษร ให้เราเอาไฟล์ PDF ทั้งหมดในโฟเตอร์ก๊อปปี้มาวางรวมกันและตั้งชื่อใหม่โดยย้าย พ.ศ. ไว้ด้านกลัง>>>> อรพรรณ 2560 คอมพิวเตอร์จะเรียงลำดับให้อัตโมัติ หากยังไม่เรียงให้กดที่คำว่า NAME ส่วนหัวโฟเดอร์ แค่นี้ก็เรียงได้แล้วค่ะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
****** เห็นมั้ยค่ะว่าไม่ยากเกินกว่าที่เราคิด หากใครสงสัยหรือมีปัญหาอะไรเพิ่มเติม สอบถามเราได้นะค่ะ ยินดีให้คำแนะนำ
****** ทั้งนี้ วิธีการในการทำงานวิจัยของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน ไม่มีวิธีใดถูกหรือผิดค่ะ
*** เขียนมาเยอะจนอ่านแล้วอาจรำคาญสายตาได้ แต่หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังต่อโทและกำลังจับต้นชนปลายไม่ถูกนะค่ะ