หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

แม่ครัวหัวป่าก์ ที่มาที่ไปของคำนี้ มาจากไหน?

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

คำว่า แม่ครัวหัวป่าก์ ที่หมายถึง ผู้หญิงหรือบุคคลที่ทำหน้าที่ในการประกอบอาหารจนมีรสชาติอร่อยถูกปากคนทั้งหลาย จึงใช้คำนี้ในการเรียกบุคคลเหล่านั้นว่า " แม่ครัวหัวป่าก์" แล้วแม่ครัวหัวป่าก์ มีประวัติที่มาอย่างไรทำไมคำนี้จึงนำมาใช้ในการชมเชย บุคคลที่ทำอาหารเอร็ดอร่อย

เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของชาวบ้านตำบลหัวป่า อ.พรหมบุรี บ้านหัวป่านั้นปรากฎชื่อขึ้นในทำเนียบการทำอาหารอร่อยเยี่ยมยอดในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้มีโอกาสทำอาหารถวาย ร.5 ได้ทรงเสวย ตามประวัติเสด็จประภาสต้นเมืองสิงห์ ในสมัยนั้นเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองที่เจ้านายในกรุงเทพฯ ไปเยี่ยมเยือนกันเป็นประจำ และพระยาอภัยราชาก็เป็นขุนนางผู้หนึ่งที่ไปเมืองนี้บ่อยอาจเพราะไปหลงเสน่ห์สาวบ้านแป้ง ที่ขึ้นชื่อลือชาในความงามเข้าก็ได้(ตามคำขวัญเมืองสิงห์ในอดีตที่ว่าสาวบ้านแป้ง แตงบ้านไร่) พระยาอภัยราชาได้สร้างวัดไว้ที่เมืองสิงห์บุรีแห่งหนึ่งและได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จไปทอดกฐินที่นั่น ทางเมืองพรหมบุรีจึงได้เตรียมรับเสด็จรัชกาลที่ 5 ในครั้งนั้นเป็นอย่างดีที่สุดโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเครื่องเสวยนั้นได้จัดหาแม่ครัวฝีมือเยี่ยมจากทั้งจังหวัดมาทำอาหารรับเสด็จฯ ในทำเนียบประวัติเมืองพรหมบุรีกล่าวไว้ชัดเจนว่าแม่ครัวเครื่องคาว ได้แก่ อำแดงเกลี้ยง อำแดงยิ่ง อำแดงแพ อำแดงสรวง แม่ครัวเครื่องหวาน ได้แก่ อำแดงหงส์ อำแดงสิน อำแดงพลับ อำแดงพา และเครื่องเสวยที่จัดถวายครั้งนั้นก็ ได้แก่ แกงมัสมั่น แกงบอน แกงบวน ต้มปลาร้าหัวตาล ขนมจีนน้ำยา ส่วนเครื่องหวาน คือ ขนมปิ้ง สังขยา ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน และข้าวตอกน้ำกะทิ

ปรากฏว่าการรับเสด็จฯ โดยคณะแม่ครัวบ้านหัวป่าคราวนั้นรัชการที่ 5 ทรงโปรดเป็นอย่างยิ่ง และมักจะเอ่ยอ้างถึงคณะแม่ครัวคณะนี้จนติดพระโอษฐ์เสมอว่า "อาหารอร่อยอย่างกับฝีมือแม่ครัวหัวป่า" และภายหลังจึงมีการติดตามให้แม่ครัวจากหัวป่าเข้าไปรับใช้ในวังที่กรุงเทพฯ ชื่อของแม่ครัวหัวป่าจึงติดอยู่ในวลีเกี่ยวกับการทำอาหารสืบมา

............วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2552 เป็นตอน ร.ศ. 125 เสด็จประพาสต้นสิงห์บุรี-ชัยนาท-อ่างทอง ตอนแรกโดยวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2449 หรือ ร.ศ. 125 เสด็จโดยทางเรือจากอ่างทอง ทางแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นมายังสิงห์บุรีในอดีตสิงห์บุรี, พรหมบุรี และอินทร์บุรี เป็นเมืองเล็กๆ เป็นอิสระซึ่งกันและกัน แต่ได้มีการยุบเมืองพรหมบุรีและอินทร์บุรีให้เป็นอำเภอของสิงห์บุรีที่ปกครองโดยเจ้าเมือง และอยู่ในเขตมณฑลกรุงเก่าที่ปกครองโดยเทศาภิบาลซึ่งปัจจุบันเมืองสิงห์บุรีตั้งอยู่ในตำบลบางพุทรา โดยสิงห์บุรีมีแม่น้ำผ่านถึง 3 สายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรีเสด็จขึ้นจากเรือที่วัดชลอน หรือวัดพรหมเทพาวาส

ซึ่งทรงพระราชทานต้นพระศรีมหาโพธิ สายพันธุ์พุทธคยาประเทศอินเดีย ซึ่งทรงปลูกต้นหลักไว้ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ที่นี่มีตำบลหัวป่า อ.พรหมบุรี ซึ่งชาวบ้านเก่งในการทำอาหารได้รสชาติ ซึ่ง ร.5 ทรงชมเชยไว้ และไปตรงกับท่านผู้หญิงเลี่ยน ภาสกรวงศ์ ซึ่งแต่งตำรา “แม่ครัวหัวป่าก์”ไว้ถึง 5 เล่ม ออกจากวัดพรหมเทพาวาส เสด็จโดยทางเรือไปยังตลาดหมื่นหาญ จากนั้นเสด็จที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพรหมบุรี เพื่อเสวยกระยาหารมื้อเที่ยง เสด็จต่อ ตำบลบางพุทรา ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสิงห์บุรีนั่นเอง และหลังจากการเสด็จประพาสต้นในครั้งนี้ โปรดเกล้าฯให้สร้างศาลากลางขึ้น เป็นเรือนชั้นเดียว เสร็จปี ร.ศ. 130 (หลังเสด็จสวรรคตแล้วเพียง 1 ปี) กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมือ พ.ศ. 2533 หลังสร้างศาลากลางหลังใหม่แล้วเสร็จ จากนั้นเสด็จทางเรือไปวัดพรหมสาคร หรือวัดบางพุทรา(เดิม)เพื่อถ่ายภาพ ในการเสด็จวันนี้ของพระองค์ฝนไม่ตกเลยและได้เสวยพระยาหารรสดีที่ตำบลหัวป่า จึงได้ชื่อว่าแม่ครัวหัวป่า

.........วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2449 หรือ ร.ศ. 125 เสด็จโดยทางเรือไปวัดสนามชัย หรือวัดข่า อำเภออินทร์บุรี ทางแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อถ่ายภาพ วัดนี้มีโบสถ์ที่สร้างคล้ายศาลาการเปรียญ และมีของเก่าสะสมไว้มากมาย รวมทั้งหนังใหญ่ ชาวบ้านที่มีโอกาสทำอาหารถวายก็ได้แก่ชาวบ้านประโมง ชาวบ้านหัววน และทรงเสวยกระยาหารก็ได้รับคำชมเชยว่า เอร็ดอร่อยไม่แพ้"แม่ครัวหัวป่าก์" และได้รับทราบว่าเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ร.5 ได้อวยพรให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข จึงใช้เปลี่ยนชื่อวัดสนามชัยเป็นวัดประศุกแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ของเก่ามากมาย พระพุทธรูปโบราณรวมทั้งหนังใหญ่ เพิ่งมาสูญเสียใน พ.ศ.2550 นี้เองถูกโจรกรรมไปหลายครั้ง แต่ก็ยังเหลือเสลี่ยงที่พระองค์เคยทรงใช้อยู่

ข้อมูลจาก : http://board.postjung.com/624949.html

ภาพ: พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ (ซ้าย) ผู้เป็น "แม่ครัวหัวป่าก์แห่งวังหลวง และ เจ้าจอมเอื่ยม (กลาง) ถือหม้อขณะทรงกำลังเตรียมพระกระยาหารในห้องพระเครื่องต้น ในพระบรมมหาราชวัง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: Thorsten, สล่าเมืองเหนือ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรง6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์แอฟ ทักษอร และ นนกุล คู่รักสุดอบอุ่น รับบทช่างภาพคู่ เฝ้ากองเชียร์ น้องปีใหม่ โชว์ความสามารถบนเวทีดวงประจำสัปดาห์ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 67 by ภูริดา พยากรณ์ดวงรายสัปดาห์ วันที่ 25 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2567 by อ.กิ่ง นาคราช"ตารางลดน้ำหนัก" ฉบับกินยังไงก็ผอมดวงรายสัปดาห์ 24 - 30 พ.ย. by ครูเป็นหนึ่ง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าหมอเหรียญทองกำลังมองหาสถานที่เช่าสำหรับตั้งซูเปอร์คลินิก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีบัตรทองจากโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เกาหลีใต้ส่ายหน้า การท่องเที่ยวขาดดุลหนัก แม้ K-Culture จะปังไปทั่วโลกไทยแลนด์ปังสุด คว้าอันดับ 1 ประเทศน่าเที่ยวแห่งปี 2024 พร้อมเหตุผลที่ฝรั่งหลงรักวิชาลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์
ตั้งกระทู้ใหม่