โรคหัด (คนละโรคกับหัดเยอรมัน)
คงคุ้นหูกันดีชื่อโรคหัด แต่คงไม่ได้เจอกันด้วยตาบ่อยๆเพราะโรคนี้แทบจะหายไปจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของไทย และประเทศที่เจริญแล้ว
เนื่องด้วยเด็กๆได้รับวัคซีนกันอย่างทั่วถึง แต่ปีที่แล้วในบางพื้นที่ของเราพบผู้ป่วยสูงถึง 4000 กว่าคน และในนี้ก็มีคนตายด้วย 15 คนอันเนื่องจากขาดวัคซีนบ้าง ร่างกายอ่อนแอบ้าง ปีนี้ยังได้ข่าวว่าระบาดที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยแปลกมากเพราะปกติโรคนี้จะพบในประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนา...คนที่จะไปญี่ปุ่นและพาเด็กๆไปด้วยคงต้องหาความรู้เรื่องโรคหัดกันเนอะ
โรคหัด หรือ measles[1] เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส คนสู่คน เป็นคนละโรคกับหัดเยอรมัน สามารถป้องกันได้โดยการให้วัคซีนป้องกัน(MMR) หรือการให้สารแอนติบอดี้ในกรณีที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้และอาจมีความเสี่ยงในการติดโรค
อาการของโรคหัด
ระยะแรกจะมีไข้สูง ไอ น้ำมูกไหล ตาแดง เยื่อตาอักเสบ
ระยะที่สอง(วันที่ 2-3) อาจตรวจพบจุดสีขาวขึ้นในปาก
ระยะที่สาม(วันที่ 3-5) อาจเริ่มมีผื่นแดงโดยเริ่มมีผื่นนูนแดงขึ้น โดยผื่นเริ่มขึ้นจากหลังหูแล้วลามไปยังใบหน้าบริเวณชิดขอบผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา เมื่อผื่นแพร่กระจายทั่วตัว แล้วไข้จะค่อยๆลดลง แล้วผื่นจะค่อยๆจางหายไปอาจพบภาวะแทรกซ้อนได้เช่นท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบแดง
โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัส Measlesติดต่อทางอากาศ การไอ จาม น้ำมูก หรือสัมผัสของเหลวจากน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วยโดยจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการจนถึง 4วันก่อนเริ่มผื่น หากป่วยเป็นหัดแล้วส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิตไม่กลับเป็นซ้ำอีก
วัคซีนโรคหัดมักให้ร่วมกับวัคซีนโรคคางทูม หัดเยอรมัน รวมกันเรียกว่า MMR บางแห่งมีให้ร่วมกับวัคซีนอีสุกอีไสด้วย เรียกว่า MMRV โดยจะให้ทั้งหมด 2ครั้ง ตั้งแต่อายุ 9-12 เดือน และอีกครั้งตอน 3 ขวบ 4เดือน แต่ในประเทศไทยพบว่าในบางพื้นที่การให้วัคซีนยังไม่ครอบคลุมประกอบกับภาวะขาดสารอาหารในเด็กทำให้โรคหัดระบาดหนัก พบผู้ป่วยในปี 2561กว่า 4,000 ราย[2]
การรักษาและการบรรเทาอาการโรคหัด
โรคนี้มีอาการคล้ายโรคหวัด และมีต้นเหตุจากเชื้อไวรัสดังนั้นการรักษาจะเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการประคับประคองให้อาการค่อยๆลดลงไม่มียาเฉพาะโรค
- การลดไข้ใช้การเช็ดตัวร่วมกับยาลดไข้ยา paracetamol , ดื่มน้ำตามบ่อยๆ รวมถึงอาจให้น้ำหวานจิบให้มากๆ
ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1เม็ด 500 มิลลิกรัม
เด็กอายุ <1ปีให้ขนาดยาตามน้ำหนักตัวคือ 10 – 15 mg/kg/ครั้ง
( หรือ ให้ขนาด 0.1 mL/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัมเมื่อให้ยาความเข้มข้น 80mg/0.8ml) - การรักษาอาการข้างเคียงที่ตรวจพบ
- รักษาอาการคัดจมูก ไอ ให้รักษาตามอาการเช่นพักในสถานที่ๆมีอาการอุ่นเพื่อทำให้อาการบรรเทานอกจากนั้นอาจจะให้น้ำผึ้งผสมน้ำมะนาวเพื่อลดอาการไอ และทำให้ชุ่มคอได้ด้วย
- รักษาอาการเจ็บตา ให้เช็ดทำความสะอาดเปลือกตา และขนตาโดยใช้สำลีชุบน้ำสะอาดเบาเบา และการป้องกันไม่ให้มีแสงสว่างเยอะเกินไปเนื่องจากผู้ป่วยโรคหัดอาจมีการไวต่อแสงทำให้ปวดตามากขึ้นได้
- การดื่มสารน้ำมากๆเนื่องจากผู้ป่วยโรคหัดอาจจะมีไข้สูงได้นอกจากจะใช้ยาลดไข้แล้วการให้สารน้ำ และน้ำหวานจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยขาดน้ำได้
การป้องกันโรคหัด
โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสและมีวัคซีนในการป้องกัน โดยมากในประเทศไทยจะให้พร้อมกัน 3โรคคือ โรคหัด(Meales) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) เรียกย่อๆว่า MMR vaccine
วัคซีน MMR เป็นวัคซีนมาตรฐานที่เด็กอายุ 9-12 เดือนทุกคนต้องได้รับโดยจะได้รับทั้งหมด 2ครั้งเมื่ออายุ 9-12 เดือน 1ครั้ง และ อายุประมาณ 3ปี4เดือน อีก 1ครั้ง
วัคซีน MMR สามารถให้ซ้ำได้ในกรณีที่จำไม่ได้ว่าเคยได้รับครบหรือไม่หรือมีโอกาสเสี่ยงติดโรค, นอกจากวัคซีนแล้วปัจจุบันสามารถรับแอนตี้บอดี้สำหรับป้องกันโรคได้โดยตรง ซึ่งเป็นการป้องกันโรคระยะสั้นสำหรับผู้มีความเสี่ยงติดโรคชื่อยาว่า Human normal immunoglobulin (HNIG) [4] ตัวอย่างกลุ่มคนที่ควรได้รับในเด็กอายุต่ำกว่า 12เดือน, หญิงตั้งครรภ์, ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
แหล่งที่มา:
[1].วิกิพีเดีย.2019 โรคหัด [Online].available: https://th.wikipedia.org/wiki/โรคหัด
[2].กรมควบคุมโรค.2019 กรมควบคุมโรค แนะช่วงฤดูหนาวนี้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานใกล้ชิด พาไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัดตามกำหนด[Online].available: https://ddc.moph.go.th/th/site/newsview/view/1313
[3].กลุ่มงานเภสัชโรงพยาบาลบางละมุง.2019.ขนาดการใช้ยาในเด็ก [Online].available: https://sites.google.com/site/rxbanglamung/
[4].HealthProctectionAgency.2019. post exposure prophylaxis for measles[Online].available: https://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20140714084352/http:/hpa.org.uk/webc/hpawebfile/hpaweb_c/1238565307587
Image From Fox New