หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พัฒนาแอปแจ้งเตือนภัยไฟป่า ลดสูญเสียสวนทุเรียนหลงลับแล

เนื้อหาโดย มอญหงอย

    นักวิจัย มรภ.อุตรดิตถ์ สร้างระบบวิเคราะห์ไฟป่าจากภาพถ่ายดาวเทียม พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ ที่ทำให้ผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รู้ว่าขณะนี้ไฟป่าเกิดขึ้นใกล้กับสวนทุเรียนของตนหรือไม่
ดร.ศักดิ์ดา หอมหวล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสำรวจและภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) อุตรดิตถ์ กล่าวถึงปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแลและหลินลับแล ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักร้อยล้านของจังหวัดอุตรดิตถ์ ว่า การปลูกทุเรียนดังกล่าวเป็นการปลูกแบบวนเกษตร หรือปลูกตามธรรมชาติบริเวณเชิงเขา หรือที่ลาดชัน โดยพึ่งพาน้ำจากธรรมชาติ นอกจากจะเป็นข้อจำกัดในแง่ของการเพิ่มพื้นที่ปลูกแล้ว ทุเรียนเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายจากไฟป่าในหน้าแล้งอีกด้วย
    ดร.ศักดิ์ดากล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการลงพื้นที่เพื่อคุยแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการผลิตทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลในระบบวนเกษตร ร่วมกับนักวิจัยอีกหลายสาขา เมื่อปลายปี 2560 และด้วยประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านไฟป่ากับความก้าวหน้าด้านอุปกรณ์ตรวจจับระยะไกล (remote sensing เช่น ดาวเทียม, โดรน) และเทคโนโลยีสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้ต้องการยกระดับการเตือนไฟป่า จากเดิมที่ระบุได้เพียงว่า ณ เวลานั้น มีจุดความร้อน (Hot Spot) เกิดขึ้นที่ใดเท่านั้น มาเป็นระบบที่สามารถวิเคราะห์ว่าจุดความร้อนนั้นน่าจะเป็นไฟป่าหรือไม่ได้ด้วยตัวของมันเอง


    เป็นจุดเริ่มต้นของงานวิจัยเรื่อง “การฯลฯ มาเข้าโปรแกรมเพื่อหาจุดที่เสี่ยงไฟป่า และแจ้งข้อมูลนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบ (เช่น สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์) เข้าไปตรวจสอบและประกาศเตือนภัยต่อไป
    นายสมพร ขันปิงปุ๊ด หัวหน้าฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ (ปภ.อุตรดิตถ์) ซึ่งได้ร่วมในโครงการวิจัยนี้ กล่าวว่า ระบบที่อาจารย์พัฒนาขึ้นได้ช่วยเสริมการทำงานของ สปภ.ได้เป็นอย่างดี
“แม้ที่ผ่านมาตัวเลขของการเกิดไฟป่าจะลดลง แต่ก็ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อไฟในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่จะไฟป่าจะลุกลามอย่างรุนแรงก็มีสูงขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นยิ่งเราสามารถระบุตำแหน่งของการเกิดไฟป่าได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งจัดการไฟป่าได้ดีขึ้น โดยร่วมพัฒนาระบบติดตามและเตือนภัยไฟป่ากับ ดร.ศักดิ์ดา ทำให้เรามีความมั่นใจในการเฝ้าระวังและจัดการไฟป่าในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์มากยิ่งขึ้น”
    นอกจากจุดเด่นที่ระบบวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงไฟป่าของเราสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ ทันที่ที่มีข้อมูลใหม่เข้ามาแล้ว ทีมวิจัยได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเจ้าหน้าที่ และแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับเกษตรกร เพื่อใช้ในการติดตามและแจ้งสถานการณ์ไฟป่าที่


    พัฒนาระบบติดตามและเตือนภัยไฟป่าในพื้นที่วนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์” โดยมี ดร.ศักดิ์ดาเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้สร้างระบบอัตโนมัติที่สามารถนำข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล ทั้งภาพถ่ายดาวเทียม และภาพถ่ายทางอากาศ ณ เวลาล่าสุด มาหาจุดความร้อนที่อยู่ในบริเวณป่าหรือพื้นที่วนเกษตร พร้อมทั้งนำข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่นั้น เช่น มวลชีวภาพ (การสะสมของเศษซากไม้) ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย ความลาดชัน
    ช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสรู้ได้เร็วขึ้น เพราะเพียงแต่เปิดแอปพลิเคชันก็จะรู้ได้ทันทีว่าเวลานี้มีจุดที่เสี่ยงจะเกิดเป็นไฟป่าอยู่ใกล้กับสวนทุเรียนของตนหรือไม่
    นายดำเนิน เชียงพันธ์ เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนที่ได้เข้าร่วมในงานวิจัยและทดลองใช้แอปพลิเคชันนี้ บอกว่า เมื่อก่อนตอนเกิดไฟป่าเราแทบจะไม่รู้เลย รู้อีกทีก็ตอนมันลุกลามใหญ่โต หรือเข้ามาใกล้แล้ว แต่ตอนนี้เรารู้ได้จากมือถือตั้งแต่ตอนที่มันเกิดเลย ว่ามีไฟป่าเกิดที่จุดไหน มีแนวโน้มจะขยายหรือลุกลามไปทางใด เป็นการสร้างความอุ่นใจให้กับชาวสวนทุเรียนได้ในระดับหนึ่ง
    ดร.ศักดิ์ดา หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวสรุปว่า จุดเด่นของงานวิจัยนี้ รวมถึงงานวิจัยอื่นๆ ภายใต้ชุดโครงการนี้ก็คือ การมีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ก่อนพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ที่สามารถช่วยเขาได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันระบบที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นก็มีการเชื่อมต่อกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว ขณะที่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนก็มีก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ www.cgi.uru.ac.th/udsafe/ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “เพื่อนเตือนภัย” (ระบบ Android) ได้เช่นกัน นอกจากระบบเตือนภัยไฟป่าแล้ว ทีมวิจัยยังมีการพัฒนาระบบเตือนภัยเรื่องดินถล่มและภัยแล้ง ที่จะช่วยสนับสนุนการด้านพิบัติ

เนื้อหาโดย: มอญหงอย
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มอญหงอย's profile


โพสท์โดย: มอญหงอย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ขำสุดซอย..ฮาก๊าก..คลายเครียด!เพราะอากาศร้อนจัด "พนง.ไปรษณีย์" ถึงกับเป็นลม..โชคดีมีคนช่วยไว้ทันช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆตำรวจดักจับคารู หลังนักโทษร่วมกัน ขุดรูแหกคุก!!สื่อดัง "วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการ 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนักงานกว่า 100 ชีวิต ด้าน "แขก คำผกา"เคลื่อนไหวแล้ว อดีตหัวหน้าพรรคคนดัง ย้ายซบ ปชป. ตอบแทนบุญคุณช่วยเป็น สส. สมัยแรกนักร้องดังวง SNSD,Apink,IOI ถูกตำรวจจับแพนด้า อาละวาดทำร้ายผู้ดูแล ต่อหน้านักท่องเที่ยวเมื่อคุณยายขอแจม "ASOKA MAKEUP"..แบบนี้สิของแทร่!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รีวิวหนัง DUNE PART TWO (ดูน ภาคสอง)โรงเรียนอนุบาลเชอร์โนบิลในยูเครน ของเล่นกระจัดกระจายไปทั่ว รังสีนิวเคลียร์น่ากลัวเฮทั่วประเทศ ! ฟุตซอลไทย ชนะจุดโทษ ทาจิกิสถาน เข้าชิงแชมป์เอเชีย 2024"ปารีณา-อมรัตน์" สายสัมพันธ์ในวันที่การเมืองเปลี่ยน จากศัตรูสู่มิตร"ป๋าเสรี" ร่วมงานศพ"ทวี ไกรคุปต์" ด้าน"ปารีณา" โผล่สวมกอด ลั่นขอโทษที่เคยทำไม่ดีกับท่านเสรี!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ประชาชนแตกตื่น! ชายปริศนาตีตรวนที่เท้า..เดินไปทั่วเมืองใน จ.สุราษฎร์ธานีป่าไม้ตะลึง พระกับเณร เข้าป่าล่าสัตว์เมื่อคนตาดี แต่ " ใจบอด "กระบี่ : ปฏิบัติการฝนหลวงตลอด 3 วันสถานการณ์ขาดน้ำประปาเริ่มคลี่คลาย | มีคลิป
ตั้งกระทู้ใหม่