การประยุกต์ใช้ วิชาเกษตรศาสตร์ในวงการโมเดล ตอนแรก
เกษตรศาสตร์ เป็นวิชาการสาย วิทย์ คณิต อีกสายหนึ่งที่มีความหลากหลาย สามารถให้ประยุกต์ใช้ได้หลายแนว
คราวนี้จะใช้วิชาเกษตรศาสตร์กับโมเดลสองวิชา
นั่นคือวิชา
1. การจัดการการเกษตร
2. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
การจัดการการเกษตร ดูตัวอย่างโมเดลในรูปนี้ ถ้าเป็นคนทำโมเดลทั่วไปที่มาจากสายศิลป์ พวกเขาจะเข้าใจแต่สิลปะ การจัดสีแสงเงา การปั้นวาด พ่นทา แต่เขาจะไม่เข้าใจการแจกแจงและการคิดคำนวณ แยกชิ้นส่วน
ลำนี้เป็นของฟูจิมิ ซื้อมาจากคนไทยในไทย ราคา 300 บาท รวมค่าส่ง
นั่นคือ ราคาจริงๆ 270 บาท
ถ้าเป็นภาษีนำเข้าเพราะของแบบนี้ผลิตในไทยไม่ได้ ก็ประมาณ 100 บาท
เท่ากับว่ามีราคาจริง 150 บาทเท่านั้น ใน 150 บาทนี้ จะแยกได้เป็น
1.ค่ากล่อง 10 บาท
2. ค่ายี่ห้อ (ซึ่งแต่ละยี่ห้อราคาไม่เท่ากัน) 20 บาท
3. ดีคอล (แล้วแต่ความหายากง่าย ค่านิยมและลิขสิทธิ์) 30 บาท
4. อีก 10 บาท คือใบต่อหรือชีท
อันนี้ครึ่งทางแล้วนะ
ครึ่งทางต่อไปคือส่วนที่เป็นชิ้นส่วนโมเดล ซึ่งเป็นพลาสติก แล้วแต่ความละเอียดอ่อนของผู้สร้าง
นั่นคืออีก 80 บาท แจกแจงได้อย่างนี้
ชิ้นส่วนเครื่องบิน ทั้งหมด 55 ชิ้น และชิ้นส่วนใส 2 ชิ้น รวมราคา 80 บาท เฉลี่ยแล้วชิ้นละ 1 บาท 40 สตางค์ นี่คือราคาจริง ส่วนชิ้นใสนี่ราคาตกชิ้นละ 1.50 บาท
รวมแผงรันเนอร์เข้าไปด้วย
นี่คือการแจกแจงราคาชิ้นส่วนแต่ละชิ้นให้เหมือนกับการผลิต พืช สัตว์ ซึ่งต้องมีการตัดแต่ง การชั่งตวงวัด ตีราคา หาค่าเฉลี่ย
สำหรับวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวนั้น ใช้เมื่อต่อเสร็จแล้ว ใช้สำหรับการแยกชิ้นส่วนขาย วึ่งการแยกชิ้นขาย ตัดชิ้นอกจากแผง ต้องมีค่าฝีมือและค่าการเก็บรักษาด้วย ซึ่งจะต้องแพงกว่าซื้อทั้งกล่องอย่างแน่นอน
ทุกชิ้นมีราคา ขายได้ รีไซเคิลได้ และมีคุณสมบัติทางเคมี สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
เครื่องบินลำนี้
1.แผงแรกและแผงที่สอง ราคาแผงละ 108.75 บาท รวม 217.50 บาท ไทยปัด 218-220
2.แผงชิ้นส่วนใส ราคาแผงละ 62.06 บาท ไทยปัด 63-65
3.ดีคอล แผ่นละ 59.16 บาท ไทยปัด 60-65
4. ใบต่อ แผ่นละ 55.97 บาท ไทยปัด 56-60 เค้าปัดเอากำไรนิดเดียว
รวมราคาทั้งหมด 394.69 บาท ไทยปัดเป็น 395-400
อันนี้คือการทำกำไร ตามหลักวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
แต่ถ้าตัดออกจากแผงทีละชิ้นๆ แล้วขาย เป็นชิ้นๆ ราคาจะสูงกว่านี้อีก
แน่นอนอาจจะตกราคาชิ้นละ 5-7 บาท ไม่ว่าจะเล็กจะใหญ่นี่คือค่าเฉลี่ย แต่ถ้าคิดจะตีราคาแผงรันเนอร์ด้วยก็มีสูตรคิดไม่ยาก
สูตรคิดราคาแผงรันเนอร์ ต่อ ชิ้นส่วนโมเดล
ไม่ยากเลย
1.เราต้องรู้ราคาชิ้นส่วนโมเดลรวมทุกแผงก่อน จากนั้นเอาโมเดลทั้งแผง ไปชั่งน้ำหนัก บันทึกน้ำหนักไว้
2. จากนั้นเราก็ตัดเอาชิ้นส่วนโมเดลออกมาชั่งน้ำหนัก บันทึกน้ำหนักไว้
3. แล้วเอาเเผงรันเนอร์เปล่าๆ ชั่งน้ำหนัก แล้วบันทึกไว้เช่นกัน
4. ให้เอาราคาของชิ้นส่วนโมเดลทั้งแผง มาหารกับน้ำหนักที่เราชั่งได้แต่ละขั้นตอน เป็นการคิดอัตราส่วนราคาต่อน้ำหนัก เป็น บาท ต่อ กรัม
5. อัตราส่วนราคาต่อน้ำหนักเฉพาะแผงรันเนอร์ ไปคูณกับราคาต่อน้ำหนัก คำตอบที่ได้ออกมา คือราคาสูงสุดที่เราจะขายแผงรันเนอร์ได้
เหมือนการชำแหละไก่ขายแล้วคิดราคาชิ้นส่วนหลังตกแต่งซาก ไม่มีชิ้นส่วนไหนไม่มีประโยชน์ แต่มีส่วนที่กินไม่ได้กับกินได้
จะเห็นได้ว่าระบบความคิดและขั้นตอนการทำของสายเกษตรในวงการโมเดล ได้เปรียบสายศิลป์แทบจะทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ การคิดค้นคำนวณ และที่สำคัญคือการทดลอง อย่าไปยึดกับข้อสอบและตำราเรียนที่มีร้อยๆพันๆข้อ เรารู้แค่หลักการแล้วเอามาใช้จริงๆให้ได้ ไม่ใช่คิดอะไรผิดๆว่า จบเกษตรแล้วไปทำไร่ไถนาปลูกต้นไม้ เพราะความหลากหลายในวิชาการเกษตรนี้แหละ ที่จะช่วยเพิ่มความรู้ให้คนได้
ความได้เปรียบเสียเปรียบมันอยู่ที่ระบบหลักสูตร ไม่ได้อยู่ที่คน ไม่งั้นเกษตรเค้าคงไม่ยุบสายวิทย์กับสายศิลป์หรอก
จงสู้ต่อไป อย่าท้อถอย เพื่อชาวโลก ฮายาตะ