Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

น่าสงสัยโดนอะไร!! พ่อแม่ลูกสลบคาเก๋ง บนทางด่วน ชักเกร็ง-น้ำลายฟูมปาก คาดควันจากท่อไอเสียเข้ารถ

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

 

จากข่าวหน่วยกู้ภัยฉะเชิงเทรา ก็ชีพโรงพยาบาลบางปะกง ตรวจสอบเหตุคนหมดสติภายในรถ บนทางด่วนบูรพาวิถี ขาเข้าชลบุรี อ.บางปะกง ที่เกิดเหตุพบรถเก๋งนิสสัน อาเมร่า สีขาว จอดอยู่ข้างทาง พบคนที่อยู่ภายในรถหมดสติทั้งหมด

 

คนขับทราบชื่อนายธนัยนันท์ เชื้อถิระพงษ์ อายุ 31 ปี ตื่นลืมตามาแต่อยู่ในอาการสั่นเทา เกร็ง พยายามจะกดปุ่มเพื่อลดกระจกลง ใช้เวลาประมาณ 5 นาทีก็สามารถเอากระจกลงได้ จากนั้นกู้ภัยรีบเปิดประตูรถทุกบานเพื่อถ่ายเทอากาศภายในรถ

 

และพบ น.ส.จิตรารัตน์ นามจำปี อายุ 26 ปี ภรรยาหมดสติอยู่ในอาการตาค้าง น้ำลายฟูมปาก ส่วนเบาะหลังพบ ด.ญ.อายุ 7 ปี ลูกสาว นอนหมดสติอยู่ เมื่อกู้ภัยเข้าช่วยเหลือพบว่าอยู่ในอาการชักเกร็ง ลิ้นแข็ง และร้องไห้ตลอดเวลา จากนั้นก็นอนแน่นิ่งไป เจ้าหน้าที่ต้องรีบนำตัวสองแม่ลูกออกจากรถแล้วรีบใช้เครื่องช่วยหายใจทันที นำส่งโรงพยาบาลบางปะกง

 

ส่วนสาเหตุทางตำรวจได้สอบปากคำนายธนัยนันท์ และน.ส.จิตรารัตน์ ให้การตรงกันว่า กำลังจะไปเที่ยวบางแสนระหว่างที่นั่งรถได้กลิ่นเหม็นไหม้แปลกๆ คล้ายกลิ่นควันท่อไอเสียลอยเข้ามาในรถแล้วเริ่มมีอาการเวียนศีรษะ อีกทั้งเริ่มเกร็งจากนั้นก็หมดสติไป ทางตำรวจจะต้องให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานมาตรวจสภาพรถ และวิเคราะห์ถึงเครื่องดื่มที่พบในรถ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

 

ด้าน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวว่า อาจเกิดจากท่อไอเสียรั่วบริเวณห้องเครื่อง หรือด้านหน้าตัวรถ จึงทำให้ไอเสียรถยนต์เข้ามาในห้องโดยสารในระหว่างที่รถวิ่ง

 

เนื่องจากถ้าเครื่องยนต์เผาไหม้ตามปกติ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) แต่ถ้าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เข้ามาในห้องโดยสาร จะทำให้ผู้โดยสารในรถเกิดอาการอ่อนเพลีย อากาศหายใจน้อย

 

แต่ถ้าเครื่องยนต์เผาไหม้โดยไม่สมบูรณ์ จะมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO) เข้ามาในห้องโดยสาร จะทำให้ผู้โดยสารถึงกับหมดสติ เพราะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะจับออกซิเจนในร่างกายของเรา แทนที่เลือดของเรา ซึ่งปกติร่างกายจะมีฮีโมโกบิน(ฮีโมโกบินช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย)คอยจับออกซิเจน

 

เพื่อนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกาย แต่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จะมาแย่งจับ และความสามารถของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในการจับออกซิเจน ทำได้ดีกว่าฮีโมโกบิน ถึง 300 เท่าเสียด้วย

 

เมื่อผู้โดยสารที่สูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป ร่างกายจะไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง หมดสติ เวียนศีรษะรุนแรง อาจถึงขั้นเป็นลม หัวใจเต้นเร็วขึ้นผิดปกติ หรืออย่างร้ายแรงที่สุด คือเสียชีวิต

 

หากเผชิญเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าว หรือได้กลิ่นเหม็นไหม้ ควรลดกระจกรถยนต์ลงมา เพื่อระบายอากาศและรับลมจากภายนอก อีกทั้งห้ามปิดกระจกโดยเด็ดขาด

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
8 VOTES (4/5 จาก 2 คน)
VOTED: PLENEWs, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รองผู้ว่า กรุงเทพมหานคร ยืนยัน สแกนพบรูปร่างมนุษย์ 6 จุด เกาะกลุ่มกันอยู่ เร่งระดมกำลังช่วยเหลือสุนัข 6 สายพันธุ์ที่เข้าร่วมภารกิจแผ่นดินไหวในไทยล่าสุด!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
รองผู้ว่า กรุงเทพมหานคร ยืนยัน สแกนพบรูปร่างมนุษย์ 6 จุด เกาะกลุ่มกันอยู่ เร่งระดมกำลังช่วยเหลือเที่ยวกระบี่ แวะไหว้พระ พร้อมชมธรรมชาติสวยๆนักร้องดัง "คีย์" SHINee โดนชาวเน็ตด่าว่า "ยาจก" หลังเปิดบ้านให้ดู
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
เมืองคอนพร้อมจัดงานแสงสีเสียง อลังการแห่นางดาน เมืองนคร THE ONLY IN THAILAND 2025ระทึก! ระเบิดท่อส่งก๊าซปิโตรนาส เมืองปูซอง รัฐสลังงอร์ ไฟลุกสูงเทียบตึก 20 ชั้นเฮ! ค่าไฟลดแล้ว! ครม. ไฟเขียว 4 เดือน จ่ายแค่ 3.99 บาท/หน่วยจากเหตุการณ์ของคิมซูฮยอนล่าสุด หลังแถลงข่าว ทำให้ชาวเกาหลีใต้ที่เดือดดาล ตั้งแคมเปญล่ารายชื่อเพื่อแก้ไขกฎหมายนี้และปรับเกณฑ์อายุอีกครั้งจาก 16 ปีเป็น 19 ปี
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง