เฉลยข้อสงสัย เหตุใดรางรถไฟต้องโรยด้วยหิน?
เคยสงสัยกันมั้ยคะว่าบริเวณทางรถไฟ เหตุใดจึงต้องมีการโรยก้อนหินขนาดเล็ก รองรางรถไฟไว้แทบตลอดเส้นทาง และอีกเพียงไม่กี่ปีต่อจากนี้ ประเทศไทยเราก็จะมีรถไฟความเร็วสูงให้บริการแล้ว และรางรถไฟดีเซลแบบเดิม กับรางรถไฟความเร็วสูง จะต้องโรยหินอัดแบบนี้ตลอดเส้นทางเหมือนกันด้วยหรือไม่แล้วหินเหล่านี้มีประโยชน์เพื่ออะไร ลองมาค้นหาคำตอบจากบทความนี้ดูกันค่ะ
หน้าที่ของหินเหล่านี้คือ รักษาสภาพของรางรถไฟไว้ให้คงสภาพนั่นเองโดย ก้อนหินชิ้นเล็กๆ พวกนี้เรียกว่า “ballast” หรือ “track ballast” ซึ่งนอกจากจะคงสภาพของรางรถไฟให้คงเดิมแล้ว ยังช่วยรองรับน้ำหนักอย่างมหาศาลของตัวรถไฟ, ช่วยล็อคไม่ให้รางเหล็กกับไม้หมอนเคลื่อนไปตามพื้นผิวดิน, เวลามีกระแสน้ำไหลผ่าน ก้อนหินจะช่วยป้องกันรางรถไฟไม่ให้เคลื่อนที่ตาม อีกทั้งช่วยถ่วงให้รางรถไฟมั่นคง ซึงหลังจากที่เทก้อนหินพวกนี้ลงบนรางรถไฟ จะต้องให้รถไฟขับผ่านช้าๆ เพื่อทำให้แรงกดที่เกิดจากการวิ่งของรถไฟ ทำให้ก้อนหินอัดแน่นและยึดรางไว้นั่นเอง นอกจากนี้ก้อนหินยังช่วยป้องกันพืช วัชพืช หรือต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ เติบโตข้างใต้รางรถไฟ ได้อีกด้วยค่ะ
ซึ่งในอนาคตอีกไม่นาน ประเทศไทยก็จะมีรถไฟความเร็วสูงให้บริการ เรามาดูว่าในต่างประเทศเวลาเค้ามีการก่อสร้างรางรถไฟความเร็วสูงเค้ามีวิธีการก่อสร้างอย่างไร?
โดยรางรถไฟทั่วโลกนั้น มีอยู่ 2 รูปแบบ จากข้อมูลในบทความของ ThaiPublica เรื่อง รถไฟความเร็วสูง..ใครได้ประโยชน์ มีการกล่าวถึงการสร้างรางของรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศที่ขึ้นชื่อว่าติดอันดับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก อย่างประเทศทางแถบยุโรป อิตาลี/ฝรั่งเศส และฝั่งเอเชียอย่างประเทศจีน
1. รางรถไฟที่อยู่บนพื้นแบบมีหินโรย ยุโรปใช้แบบนี้ ซึ่งรางแบบนี้ใช้เงินลงทุนไม่สูงแต่การดูแลรักษาระยะยาวจะค่อนข้างสูง และความนิ่มนวลในการลงนั่งดูจะสู้ระบบรางแบบที่ 2 ไม่ได้
2. รางรถไฟแบบยกพื้นขึ้นไม่มีหินโรย ค่าการก่อสร้างจะแพงกว่าแบบมีหินโรย แต่ระบบการดูแลรักษาในระยะยาวจะถูกว่า เป็นระบบที่จีนใช้ ซึ่งให้ความนิ่มนวลและเงียบมากขณะที่วิ่ง
การสร้างรางรถไฟแบบยกพื้น
การสร้างรางรถไฟบนพื้นแบบมีหินโรย