เที่ยวไปกับพี่หนุ่ม-สุทน นวัตวิถีบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน อ.บัวลาย จ.นครราชสีมา
ชมรมนักข่าวท่องเที่ยวได้เดินทางไปถ่ายทำวิถีชีวิตชุมชนบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน อ.บัวลาย จ.นครราชสีมา คณะสื่อมวลชนออกเดินทางหกโมงเช้าจากกรุงเทพฯไปตามเส้นทางถนนสายมิตรภาพผ่านตัวเมืองโคราชหรือนครราชสีมาไปเส้นทางจ.ขอนแก่น ถึง อ.บัวลายเป็นอำเภอเชือมติดต่ออ.พล จ.ขอนแก่น
เมือถึงชุมชนบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อนคณะสื่อมวลชนทานอาหารประจำท้องถิ่นส้มตำ แกงเขียวหวานไก่ ต้มยำไก่ น้ำยาป่ากับขนนจีนแต่ที่น่าประทับใจคือข้าวเหนียวธัญพืชเป็นอาหารท้องถิ่นเด็กกินได้ผู้ใหญ่กินดีโดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ต้องกินเพื่อสุขภาพ ข้าวเหนี่ยวธัญพืชเค้าใช้ข้าวเหนี่ยวเก็บเกี่ยวใหม่ๆมาหุงข้าวเหนียวในหม้อดิน(ต้องหุงด้วยผีมือขอบอก)แล้วใส่ฟักทอง ถั่วเขียวและมะพร้าวเป็นต้น ส่วนอาหารยอดฮิตของบุรุษวัยสูงอายุคือตัวหม่อนคั่วแล้วโรยเกลือต้องกิน21ตัวจึงได้ผลสมบูรณ์แร่ธาตุเพราะตัวหม่อนไหมเป็นอาหารเสริมสุขภาพคล้ายๆไวอากา (อยากรู้จักต้องไปทดลองเองนะครับ) ตัวหม่อนไหมเมื่อสาวไหมหมดแล้ว 7 วันจะกลายเป็นดักแด้ไม่มีประโยชน์ ชาวบ้านนำมาคั่วกินกันในท้องถิ่น เสร็จแล้วเดินทางด้วยรถสามล้อเครื่องพ่วงข้าง (ชาวบ้านเรียกลีมูซีนใช้พิเศษเพื่อการท่องเทียว)
ไปเรียนรู้การสาวไหมแบบโบราณต้มน้ำแล้วสาวเส้นไหมขึ้นมาแต่ปัจจุบันมีลูกล้อเพื่อสาวไหมเค้าบอกว่าทำให้เส้นไหมคงทนคุณภาพสูง เมื่อนำมาทอผ้าไหม แล้วเดินทางต่อไปศาลปู่ตาถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านศาลปู่ตาคือผู้นำชุมชนเนื่องจากสมัยโบราณพอมีการอพยพย้ายถิ่นฐานบ้านเกิดแสวงหาที่ทำมาหากินใหม่จะมีผู้นำหรือดูทิศทางเมื่อพบแหล่งเหมาะสมจะตั้งบ้านเรือนขึ้นมาทันทีและผู้นำเป็นผู้มีวิชาความรู้คาถาอาคมชาวบ้านให้ความเคารพนับถือพอล่วงลับไปแล้วชาวบ้านจะช่วยกันสร้างเป็นศาลขึ้นมาเป็นศูนย์รวมจิตใจของหมู่บ้าน แล้วก็เดินทางต่อไปวัดป่าธรรมดาภายในวัดนี้มีพระธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมธาตุและเป็นวัดป่าสงบเงียบได้บูชาพระบรมธาตุและตีฆ้องใหญ่ เสร็จแล้วเดินทางเข้าพักโฮมสเตย์ชุมชนบ้านคึมมะอุ อ.บัวลาย จ.นครราชสีมา ขอแนะนำกิจกรรมท่องเที่ยว1วัน ภายในชุมชนบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน เริ่มต้นด้วยอาหารเที่ยงหรือมื้อค่ำก็ได้ นั่งรถเครื่องพ่วงข้างชมวิถีชีวิตชุมชนซื้อผ้าไหมชุดหญิงหรือชายลวดลายแบบโบราณชาวบ้านทอผ้าไหม ปลูกต้นหม่อนแล้วเลี้ยงตัวไหมกันมาตั้งแต่อยู่บ้านเกิดคือเมืองมหาสารคามแล้วอพยพย้ายถิ่นฐานมาในปี 2452 สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณนี้พื้นที่อุดมสมบูรณ์เรียกชื่อว่าชุมชนบ้านคึมมะอุ (ภาษาท้องถิ่นมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์) ขอขอบคุณ คุณนิชาพิชญ์ รักษาภักดี ปลัดอาวุโส อ.บัวลาย ที่ให้การต้อนรับคณะชมรมนักข่าวท่องเที่ยวเป็นอย่างดีและผู้ใหญ่ดารากร รั้วชัย ผู้ใหญ่บ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน