หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โขน และ ลโคนโขล วิเคราะห์จากรากศัพท์และที่มาทางประวัติศาสตร์ยุครื้อฟื้น

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง

ปัญหาของ Troll คลั่งชาติจากประเทศเพื่อนบ้านคือ ไม่ค่อยจะหาความรู้ใส่ตัว ทั้งๆ ที่ปัจจุบันจะศึกษาที่มาของโขนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าไม่เชื่อหลักฐานฝ่ายไทย ก็ศึกษาจากงานวิจัยของสถาบันระดับโลกได้ ล้วนแต่บอกว่า "ลโคนโขล" ของเขมรรับไปจากโขนของไทย

แต่ผมไม่อยากทวงหรอกครับ  โขนไทยเหมือนรากแก้ว ลโคนโขลเหมือนรากฝอย ความยิ่งใหญ่โอฬารทันเทียบกันไม่ติด มองด้วยตาก็เห็นชัดว่าความละเอียดสู้กันไม่ได้ โชคร้ายที่เขมรหลายคนถูกอาการคลั่งชาติบังตา จึงมองไม่เห็นข้อเท็จจริง มีแต่ปัญญาชนเขมรเท่านั้นที่เห็น แม้จะน้อยแต่ก็ใช่ว่าไม่มีเลย

ดังนั้นเราไม่ควรเสวนากับคนที่มืดบอดทางปัญญา พึงสนทนาอย่างคนมีความรู้จะดีกว่า

ไทยเรียก โขนเขมรเรียก ลโคนโขลโปรดสังเกตว่าแค่คำเรียกก็ต่างกันแล้ว มิพักจะเอ่ยว่าคำ ลโคนโขล (ល្ខោនខោល) ของเขมรมันก็คำมาจากไทยเสียครึ่งหนึ่ง

ในพจนานุกรมฉบับสมเด็จพระสังฆราช (จวน นาถ) แห่งกัมพูชา ท่านอธิบายว่า

ลโคน (ល្ខោន) เป็นคำนามศัพท์ มาจากภาษาสยาม (ភាសាសៀម) มาจากคำว่า ละคร (លះគរ) อ่านว่า ละคร (ល៉ៈខន) - หมายเหตุ คำหลังสะกดด้วย ข เพราะตัว ค ในภาษาเขมรออกเสียงก้องแบบ ก

โขล (ខោល) เป็นคำนามศัพท์ หมายถึง พวกละครบุรุษ (รำเรื่องรามเกียรติ์) เรียกว่า ลโคนโขล - หมายเหตุ ผมแปลคำอธิบายตรงๆ จากพจนานุกรม

พจนานุกรมนี้เป็นที่ยอมรับอย่างสูงทั้งในกัมพูชาและต่างประเทศ ใครจะกล้าเถียงสมเด็จพระสังฆราช (จวน นาถ) พหูสูตแห่งกรุงกัมพูชาธิบดีเล่า?

พิเคราะห์จากศัพท์ ผมคิดว่า โขล (ออกเสียงว่า เขาล) ที่เขมรบอกว่าใช้ผู้ชายเล่น ตรงกับที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า เดิมโขนนั้นผู้ชายเล่น แต่ครูผู้ชายเสียไปหมดสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะรัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงโปรดละคร ในรัชกาลที่ ๕ มีการฟื้นฟูจึงต้องใช้ครูผู้หญิง (ละครใน) มาสอนท่ารำโขนจึงไม่ขึงขังดังเดิม

ต่อมานักองค์ด้วง เจ้าเขมรในบางกอกกลับไปครองแผ่นดินในรัชกาลที่ ๓ ก็ทูลขอครูโขนในราชสำนักไทยไปสอนที่กัมพูชาด้วย (เรียกว่า ละครพระราชทรัพย์ หรือ ละครหลวง ល្ខោនហ្លួង คำหลังเป็นภาษาไทย ตามที่พจนานุกรมฉบับสมเด็จพระสังฆราชระบุไว้) ชะรอยว่าจะเป็นทีมงานผู้ชาย นิยามของ "โขล" ของเขมรจึงบอกว่าเป็นพวกละครบุรุษ

ดังนั้น นาฏศิลป์นี้เขมรรับมาจากกรุงเทพฯ แน่นอนล้านเปอร์เซนต์ด้วยหลักฐานลายลักษณ์อักษรฝ่ายไทย และการยืนยันจากปากของคนละครในวังชาวเขมรเอง

หลักฐานที่ทนโท่ที่สุดคือเทปสัมภาษณ์ครูละครโขนชาวเขมรโดย Khmer Dance Project ล้วนแต่บอกว่าโขนมาจากไทย สอนด้วยภาษาไทย และร้องเพลงไทย

ท่าน Son Soubert นักการเมืองคนสำคัญและนักชาตินิยมเขมร ยังบอกว่า เคยได้ยินคนละครร้องเพลงไทย และบอกว่า "เราควรจะตระหนักว่าองค์ด้วงเคยอยู่ที่บางกอก พระเจ้าแผ่นดินไทยช่วยให้องค์ด้วงได้บัลลังก์กัมพูชา ขับไล่พวกเวียดนามออกไป เมื่อองค์ด้วงกลับมาก็ทรงพาคนไทยมาด้วย (และพูดถึงการนำเข้านิกายธรรมยุติ) จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ในเวลานั้นกัมพูชาอยู่ใต้อิทธิพลไทย" ท่านยังบอกว่า ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่ 20 เพลงละครร้องเป็นภาษาไทย เพิ่งจะเปลี่ยนเป็นภาษาเขมรในสมัยพระเจ้าสีสุวัตถิ์ ในอดีตยังไม่ใช่พิณพาทย์เขมร แต่ใช้ปี่พาทย์ ไทย ท่าน Son ยังตั้งข้อสังเกตส่วนตัวว่า เดิมไทยรับไปจากกัมพูชา แล้วรักษาไว้ จากนั้นส่งคืนกลับกัมพูชา

Em Theay นางละครเก่าในวังหลวง บอกว่าไม่รู้ว่าครูสอนละครมาจากไหน แต่ในวังหลวงพูดภาษาไทยกันทั้งนั้น เจ้าแผ่นดินก็พูดไทย (ตัวท่านเองก็รู้เพลงไทย)

Yit Sarin ครูโขนวัดสวายอัณแดตบอกว่า ท่านก็อยากรู้ว่าโขนสำนักท่านมาจากไหน จึงถามครู ปรากฎว่าครูของท่านไปเรียนท่ารำมาจากเมืองไทย (ตอนไปพนมเปญปีที่แล้ว ผมซื้อหนังสือเรื่องโขนวัดสวายอัณแดตมาด้วย ถามว่ามีเขมรคนไหนได้อ่านบ้าง?) หลังถูกเขมรแดงกำจัดไป ปัจจุบันโขนวัดสวายอัณแดตเป็นลโคนโขลท้องถิ่นแห่งเดียวที่เหลืออยู่ และเชื่อว่าสืบทอดมาแต่ครั้งหลังองค์ด้วงสุรคต เมื่อสุรคตแล้วคนละครชายล้วนในราชสำนักไปตั้งกลุ่มในชนบท

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของปากคำเท่านั้น

ไทยรับวัฒนธรรมเขมรมาก็ไม่เคยโกหกว่าไม่ได้รับมา เพราะปัจจุบันไทยเราเริ่มตระหนักในความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ และความหลากหลายมันเป็นดีเอ็นเอหนึ่งของวัฒนธรรมไทยไปแล้ว

เขมรรับละครจากไทยไปก็ไม่ควรจะโกหกเช่นกัน ความจริงไม่มีวันตาย คนที่ไม่รับความจริงต่างหากที่จะละอายในภายหลัง ทั้งยังเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ตัวเอง ดูถูกบรรพชน และครูของบรรพชน อย่าลืมว่า คนละครเขานับถือครูกันมาก ไปตู่ครูท่านไม่ได้

อาจกล่าวได้ว่า โขนจึงไม่ใช่ของเขมร และลครโขลก็ไม่ใช่ของไทย แม้ว่ามันจะมาจากไทย ครูอาจารย์เขมรได้คิดเติมขึ้นมา แปลงคำพากษ์และเพลงร้องจากไทยเป็นเขมร หากท่านยังจำได้ไม่ลืมว่าครูคือไทย

เหมือนละครมโหรี งะงักกุ (雅楽) ของญี่ปุ่น รับมาจากมโหรีหงาง็อก (雅樂) สมัยราชวงศ์สุยของจีน แต่ปรับให้เป็นของตัวเอง

งะงักกุ กับหงาง็อก มันเป็นคำเดียวกัน แต่ออกเสียงต่างกัน เหมืองโขนกับโขลนั่นเอง และจีนถ่ายวิธีเล่นให้ ญี่ปุ่นรักษาของเดิมเป็นแกน แต่ต่อยอดจนมีเอกลักษณ์เฉพาะ พอจะจดทะเบียนกับ UNESCO เป็น Oral and Intangible Heritage of Humanity ก็ไม่เห็นจีนจะโวยวาย เอ็งขโมยของข้ามา

เขาไม่ทำ เพราะแสดงถึงความโง่เขลาทางวัฒนธรรมไงครับ

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
อ้ายเติ่ง's profile


โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แอฟ ทักษอร และ นนกุล คู่รักสุดอบอุ่น รับบทช่างภาพคู่ เฝ้ากองเชียร์ น้องปีใหม่ โชว์ความสามารถบนเวทีนางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจดวงรายสัปดาห์ 24 - 30 พ.ย. by ครูเป็นหนึ่ง6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เกาหลีใต้ส่ายหน้า การท่องเที่ยวขาดดุลหนัก แม้ K-Culture จะปังไปทั่วโลกไทยแลนด์ปังสุด คว้าอันดับ 1 ประเทศน่าเที่ยวแห่งปี 2024 พร้อมเหตุผลที่ฝรั่งหลงรักวิชาลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์
ตั้งกระทู้ใหม่