หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วันอัฏฐมีบูชา วันสำคัญ ที่ชาวพุทธเริ่มลืมเลือน

โพสท์โดย ผมมีแฟนเป็นผู้ชาย

วันอัฏฐมีบูชา คือวันอะไร ตรงกับวันที่เท่าไหร่ ปัจจุบันแทบไม่เห็นปรากฎบนปฏิทิน ทำให้วันอัฏฐมีบูชานับวันยิ่งถูกลืม ทั้งที่วันอัฏฐมีบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่นับจากวันวิสาขบูชาไปเพียง 8 วัน

หรือกล่าวคือวันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ทั้งนี้ หากปีใดมีอธิกมาส หรือมี 366 วัน วันอัฏฐมีบูชา ก็จะถูกเลื่อนไปตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7 แทนนั่นเอง โดยในปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2559 แรม 8 ค่ำ เดือนหก 6 ปีวอก

 

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ (เผาศพพระพุทธเจ้า) วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา” ซึ่งประวัติความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชา คือ เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ในพรรษาที่ ๔๕ พระพุทธเจ้าได้ทรงประชวรหนัก ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงปลงมายุสังขาร โดยพระพุทธเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่น ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ”(ทีฆนิกาย มหาวรรค.๑๐/๑๐๐/๑๐๘)

ธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา

เมื่อวันนี้เวียนมาบรรจบ พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานต่าง ๆ ซึ่งเป็นอีกวันหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล การประกอบพิธี อัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกับประกอบพิธีวิสาขบูชา

ความเป็นมา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว 8 วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินาราพร้อมด้วยประชาชนและพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์แห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้นๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้นเป็นการเฉพาะภายในวัด เช่น ที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ และวัดพระบรมธาตุ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใดไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่

ความสำคัญ

วันอัฐมีคือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยคและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวช และระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา

เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลงพระพุทธสรีระ ในวันนี้พุทธศาสนิกชนควรได้ตระหนักว่าชีวิตมนุษย์คืออะไร และเข้าใจว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นของไม่เที่ยง การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครหนีพ้น จะได้ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น ความจริงเหล่านี้เป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงเน้น เป็นของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ควรศึกษามีมากมาย ดังตัวอย่าง เช่น ขันธ์ 5 หลักไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่องความไม่ประมาท

ไตรลักษณ์ คือ อนิจจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณ์ คือ ภาวะที่ตั้งอยู่เป็นธรรมดา ลักษณะที่เรียกว่า ธรรมฐิติ เป็นกฎธรรมชาติ แสดงลักษณะของสังขารทั้งปวงในภาวะความเป็นไปดังต่อไปนี้

1. อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป เกิดดับ มีแล้ว ไม่มี เป็นของแปรปรวนเปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อย อยู่ได้ชั่วขณะเป็นครั้งคราว เป็นอนิจจัง ดังนั้นเราจึงควรมองเห็นความเสื่อมตามความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทัน เมื่อสูญเสียตามสภาพ ความเศร้าโศกทุกข์ร้อนย่อมไม่เพิ่มพูน เป็นเครื่องเตือนสติตนเมื่อประสบภัยพิบัติในชีวิต ที่ช่วยบรรเทาหรือกำจัดทุกข์โศกได้

การมองถึงเรื่องของความไม่เที่ยง ตามหลักอนิจจตา ไม่ใช่เป็นการมองโลกในแง่ร้าย เพื่อให้เกิดความท้อแท้หรือไม่อาจพัฒนาตนเอง แต่หากเป็นหลักของการใช้ปัญญาเพื่อให้พิจารณาถึงหลักของความเป็นจริงทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง ให้มีสติไตร่ตรองตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

2. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบังคับด้วยการเกิดขึ้นแล้วสลายไปเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงไป บังคับให้คึคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นเพราะมีตัณหาอุปาทาน เมื่อไม่สามารถทำให้สนองตามได้ เกิดความไม่พึงพอใจ เดือดร้อน นำไปสู่การกระทำที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ เป็นที่ตั้งแห่งความทนทุกข์ได้ยาก

3. อนันตตา คือ สภาวะความเป็นอนัตตา ความไม่มีตัวตน จากความเป็นนั่นเป็นนี่ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นของใครจริง ไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับได้ตามปรารถนา เป็นไปตามเหตุปัจจัยโดยธรรมชาติ ขันธ์ 5 ทั้งหลายล้วนเป็นอนัตตา

หลักของไตรลักษณ์เป็นหลักเพื่อประสานประโยชน์ของความจริงในชีวิตที่เราพึงจะมองเห็นได้ตามความเป็นจริง โดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองและตามดูสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างมีสติ ส่วนหลักธรรมเรื่องความไม่ประมาทเป็นอีกเรื่องที่ควรศึกษาและนำมาปฏิบัติ เพราะความไม่ประมาท คือ ความเป็นผู้มีสติอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณของความไม่ประมาทและโทษของความประมาทอยู่เสมอว่า "ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางนำไปสู่ความตาย บุคคลที่ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย ส่วนผู้ที่ประมาทย่อมเป็นเสมือนผู้ที่ตายแล้ว"

ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทโดยเฉพาะในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานทุกอย่าง โดยเฉพาะนักเรียนหากไม่ประมาท ดูตำราอย่างสม่ำเสมอ ก็จะประสบความสำเร็จในด้านการเรียน และจะเจริญรุ่งเรืองในชีวิตการงานในอนาคตข้างหน้าสืบไป

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊, llHackll, เยี่ยหัว, zerotype, คำผาด, ผมมีแฟนเป็นผู้ชาย
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แนวทางเลขเด็ดใบแรก จาก อ.ไอติม 1 10 67ต่างชาติถึงกับหัวเราะไม่หยุด เมื่อพบชื่อร้านอาหารไทยสุดครีเอทีฟ แฟนๆ แห่กันอยากไปลองประวัติของ “ครูพิมพ์ทอง” ผู้เสียสละที่ปกป้องลูกศิษย์จนวินาทีสุดท้าย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ปธน.อิหร่านพบ'อุ๊งอิ๊ง'ต้องการความร่วมมือต่อต้านอิสราเอล
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ตำนานถ้ำแกลบ จังหวัดเพชรบุรีหลับๆ ตื่นๆ อันตรายแค่ไหน?สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้เรื่องราว "กองทัพทหารดินเผา" กับ สาเหตุว่าทำไมการขุดสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้จนถึงปัจจุบันก็ยังขุดไม่เสร็จสิ้นสักทีหลุยส์ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ร้องไห้ก่อนออกจากไทย พร้อมประกาศกลับมาอีกแน่ ฟีดแบคเพียบจากชาวต่างชาติ
ตั้งกระทู้ใหม่