ปัญญาประดิษฐ์ เทรนด์ในการพัฒนาธุรกิจทั่วโลก
กระแส AI หรือปัญญาประดิษฐ์
เป็นหนึ่งเทรนด์ในการพัฒนาสำหรับธุรกิจที่กำลังได้รับความสนใจไปทั่วโลก
บางคนกล่าวว่า โลกจะถูก AI เข้ามาควบคุมในไม่ช้านี้ แต่ในขณะที่บางคนคิดว่าไม่มีทางเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้
หลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นในจอภาพยนต์ไซไฟ หลายอย่างก็เป็นจริงขึ้นในยุคปัจจบัน เช่น จรวด สมาร์ทโฟน หรือ การสนทนาแบบเห็นหน้าตา
ใครจะไปรู้ว่า วันหนึ่งในอนาคต AI จะมีสติปัญญาทั่วไปเหมือนมนุษย์ และคิดจะยึดครองโลกเหมือนในหนังหลายๆ เรื่องก็ได้
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ก็คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดและวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล จนสามารถตอบโต้การสนทนาได้อย่างดีเยี่ยม ที่สำคัญสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง
สำหรับนวัตกรรม AI ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นเพียงบางส่วนของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น แต่ในอนาคต ความก้าวหน้าและผลสำเร็จของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต จะถูกนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ทุกเรื่อง จากการต้องประมวลผลฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้ ซึ่งมนุษย์ไม่มีวันทำสำเร็จได้โดยไม่อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
แต่ก็เกิดความกังวลเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ได้อย่างอิสระของ AI ว่าอาจจะเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ เพราะกรอบจริยธรรม ความคิด หรือแม้กระทั่งการตอบสนองจะต้องถูกควบคุมอย่างดี เพื่อให้ปลอดภัยกับมนุษย์มากที่สุด
สำหรับในด้านของการดำเนินธุรกิจ AI มีประโยชน์ และมีคุณค่ามากในการพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น การจดจำรูปภาพ การค้นหาข้อมูล เกมส์ (AI Chess) การพยากรณ์ แม้ว่าการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) จะถือว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบ AI แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ก็ถือเป็นความท้าทายหนึ่งที่มนุษย์ จะยังต้องเรียนรู้กับภาษาของเครื่องจักรต่อไป
ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้สามารถมีความรู้สึกนึกคิดเหมือนมนุษย์ อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษ ในตอนนี้มนุษย์ และ AI จึงต้องทำงานร่วมกันไปก่อน เพื่อให้เข้าใจซึ่งกันและกัน และจะช่วยทดแทนแรงงานคน ที่ในหลายๆ ประเทศ ประชากรในประเทศกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ขาดแคลนแรงงานคนในภาคบริการ และอัตราการเกิดต่ำ จนทำให้ประชากรของประเทศขาดแคลน ก็นำระบบอัตโนมัติ และ AI เข้ามาช่วยลดช่องว่างในส่วนนี้
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะสามารถช่วยเพิ่ม เติมเต็ม และทดแทนแรงงานของคนได้ในบางส่วน แต่ก็ยังมีงานในหลายๆ ส่วนที่ AI ยังไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับแรงงานคน เพราะแรงงานคนยังมีทักษะที่สูงกว่าในบางเรื่อง เช่นกัน
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีความเชื่อที่ว่า AI คือทุกอย่าง AI จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ ดังนั้น การมองหาสมดุลย์ หรือทางสายกลางให้กับเรื่องของ AI จะเป็นโอกาสที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการสร้างงาน และเพิ่มศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจให้ตอบโจทย์กับไทยแลนด์ 4.0 ที่ทุกประเทศทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายขึ้น
สำหรับ Thailand 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมๆ ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
Thailand 1.0 ก็คือยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ
Thailand 2.0 ซึ่งก็คือยุคอุตสาหกรรมเบา มีเครื่องมือเข้ามาช่วยในการผลิต ทำให้ประเทศไทยเริ่มมีศักยภาพในการผลิตมากขึ้น
Thailand 3.0 เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก ผลิตและขายส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมน โดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเน้นการส่งออก
ในปัจจุบันประเทศไทยยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” จึงต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” โดยจะต้องเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าแบบเดิมๆ ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” และเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
อย่างการเกษตรก็ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบ
การเปลี่ยนจาก SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
เปลี่ยนจากรูปแบบบริการแบบเดิมซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่บริการที่มีมูลค่าสูง
เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง ตามโมเดลของการพัฒนา Thailand 4.0 นั่นคือ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
เจ้าของธุรกิจต่างก็ไม่ต้องการให้ธุรกิจของตนเองถูกดิสรัปชั่นไป แต่ทุกธุรกิจต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วยกันทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าใครจะกล้าคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นนั้นได้เร็วกว่ากัน อยู่ที่ว่า คุณกล้าที่จะก้าวข้ามความกลัวนั้นได้หรือไม่
แหล่งที่มา: https://www.uih.co.th/th/knowledge/thailand-4.0
https://th.wikipedia.org/wiki/ปัญญาประดิษฐ์